สศอ.ระบุดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือน ม.ค. 2553 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน แตะ 29.1% ชี้ภาคอุตฯ ฟื้นตัวชัดเจน ส่งออกพุ่ง 30.8%
สศอ.ระบุดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือน ม.ค. 2553 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน แตะ 29.1% ชี้ภาคอุตฯ ฟื้นตัวชัดเจน ส่งออกพุ่ง 30.8% |
. |
. |
จากรายงานสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ ของหลายสำนักที่ออกมาในช่วงนี้สะท้อนให้เห็นถึงการฟื้นตัวที่ค่อนข้างชัดเจน โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนล่าสุด (ม.ค.2553) ของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม หรือ สศอ.ระบุว่าขยายตัวได้สูงถึง 29.1% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน และเป็นอัตราการขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน |
. |
นางสุทธินีย์ พู่ผกา ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.)และรองโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม ออกมาชี้แจงในประเด็นนี้ว่า ขณะนี้ถือเป็นช่วงของการฟื้นตัวที่ค่อนข้างชัดเจนสำหรับภาคการผลิตอุตสาหกรรม |
. |
โดยสศอ.ได้ติดตามสถานการณ์การฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง จึงได้เจาะลึกลงไปในรายละเอียดโครงสร้างของสินค้าอุตสาหกรรมแต่ละสาขาว่ามีการผลิตและส่งออกอย่างไร พบว่าการส่งออกในเดือนมกราคม 2553 มีมูลค่าการส่งออกรวม 13,723.42 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 30.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 โดยการส่งออกขยายตัวในทุกหมวดสินค้า |
. |
สำหรับสินค้าอุตสาหกรรมมีมูลค่าการส่งออกรวม 10,520.48 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 29.4% และแม้ว่าการขยายตัวของการส่งออกเป็นตัวเลขสองหลักนี้ สาเหตุหนึ่งจะมาจากฐานตัวเลขเปรียบเทียบที่ต่ำในเดือนมกราคม 2552 ซึ่งเป็นเดือนที่มูลค่าการส่งออกรวมของไทยหดตัวลงมากที่สุด |
. |
หลังจากไทยได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจโลกในช่วงปลาย ปี 2551 แต่ถ้าดูที่ตัวเลขมูลค่าการส่งออกรวมของเดือนมกราคม 2553 จะเห็นว่าเริ่มกลับเข้าสู่ระดับใกล้เคียงกับช่วงก่อนที่ไทยจะเผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจโลก จึงถือเป็นสัญญาณที่ดีของการส่งออกว่าเริ่มมีการฟื้นตัว |
. |
ตลาดส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่สำคัญ ตลาดหลักมีการปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับในช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเฉพาะตลาดอาเซียน(9) ที่มีการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัว 61.5% ส่วนตลาดญี่ปุ่น ตลาดสหรัฐ และตลาดสหภาพยุโรป (27) มีการขยายตัว 16.5%, 15.9% และ 15.6% ตามลำดับ สำหรับตลาดใหม่อย่างจีน ฮ่องกง และออสเตรเลียนั้น การส่งออกมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยมูลค่าการส่งออกขยายตัว 105.3%, 34.3% และ 17.0% ตามลำดับ |
. |
สำหรับตัวเลขการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมในสาขาที่สำคัญมี ดังนี้ |
เครื่องอิเลคทรอนิกส์ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีมูลค่าการส่งออก 2,593.73 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 64.9% ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 โดยสินค้าหลักในกลุ่ม เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ฯ มีมูลค่าการส่งออก 1,618.35 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 66.7% การส่งออกเครื่องคอมพิวเตอร์ฯ ไปยังตลาดสำคัญ |
. |
อย่างจีน และสหรัฐฯ มีการส่งออกขยายตัว 134.9% และ 30.6% ตามลำดับ ในส่วนของแผงวงจรไฟฟ้ามีมูลค่าการส่งออก 560.40 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวสูง 80.2% จากการขยายตัวของการส่งออกไปยังตลาดอาเซียน ฮ่องกง และญี่ปุ่นที่ขยายตัว 97.8%, 184.8% และ 61.5% ตามลำดับ |
. |
รถยนต์ฯ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 1,186.52 ล้านเหรียญสหรัฐขยายตัว 45.3% โดยรถยนต์กลับมามีมูลค่าการส่งออกเกิน 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน หลังจากที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจโลกทำให้มูลค่าการส่งออกต่ำกว่า 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยการส่งออกรถยนต์ไปยังตลาดสำคัญอย่างอาเซียน และออสเตรเลีย ขยายตัวถึง 82.0% และ 120.3% ตามลำดับ |
. |
เม็ดพลาสติก เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนมีมูลค่าการส่งออก 426.9 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 57.3% ซึ่งการส่งออกเม็ดพลาสติกไปยังตลาดสำคัญอย่างจีน และ อาเซียน ขยายตัว 91.2% และ 67.1% ตามลำดับ |
. |
สิ่งทอและเครื่องนุ่งหุ่ม เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนมีมูลค่าการส่งออก 563.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 8.7% ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน เนื่องจากการขยายตัวของสินค้าในกลุ่มผ้าผืนและด้ายที่มีมูลค่าการส่งออก 180 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 40.1% ส่วนเครื่องนุ่งห่มยังคงมีมูลค่าการส่งออกหดตัวในอัตราที่สูงขึ้นคือ -14.5% โดยมีมูลค่าการส่งออก 244.13 ล้านเหรียญสหรัฐ |
. |
|
. |
เหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก เมื่อเทียบกับเดือนเดียวของปีก่อน มีมูลค่าการส่งออก 458.61 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 44.2% ซึ่งเป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน เนื่องจากเป็นไปตามทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก |
. |
ผลิตภัณฑ์ยาง เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีมูลค่าการส่งออก 464.51 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 61.88% ถือเป็นสินค้าอุตสาหกรรมที่มีการฟื้นตัวเป็นอย่างดี โดยมีอัตราการขยายตัวต่อเนื่อง 5 เดือนติดต่อกัน |
. |
จากตัวเลขการขยายตัวดังกล่าว เป็นสัญญาณที่ชัดเจนแล้วว่าภาคอุตสาหกรรมซึ่งเป็นหัวจักรขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ เริ่มที่จะติดเทอร์โบทะยานไปข้างหน้าได้แล้ว หลังจากก้าวย่างอย่างเซื่องซึมมานานในระยะที่ผ่านมา เนื่องด้วยผลพวงของภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว |