1. ธปท. เตรียมพร้อมรับมือหากความต้องการเงินปรับเพิ่มสูงขึ้นจากภาวะการเมือง |
- รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพการเงินธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ธปท.ได้สั่งการให้ธนาคารพาณิชย์เตรียมความพร้อมเพื่อรับมือสถานการณ์การชุมนุมใหญ่ทางการเมืองในช่วงสุดสัปดาห์นี้ใน 3 ด้าน คือ (1) การเปิด-ปิดสาขา,(2) การให้บริการตู้เอทีเอ็ม และ (3) การสำรองสภาพคล่องหากความต้องการใช้เงินสดปรับตัวเพิ่มขึ้น |
. |
โดย ธปท.ก็เตรียมประเมินสถานการณ์และดูแลสภาพคล่องด้วย พร้อมกับดูแลความผันผวนของตลาดเงินหากเกิดความผันผวนมาก โดยมีจุดประสงค์เพื่อรักษาระบบเศรษฐกิจและตลาดเงินให้ดำเนินไปตามปกติ |
. |
- สศค.วิเคราะห์ว่า ระบบธนาคารพาณิชย์ยังคงมีปริมาณสภาพคล่องเพียงพอที่จะรองรับความต้องการเงินสดหากมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นในระยะถัดไป โดยตัวเลขสภาพคล่องส่วนเกินในระบบของธนาคารพาณิชย์ล่าสุด ณ วันที่ 26 ม.ค. 53 อยู่ที่ระดับที่สูงที่ 1,828 พันล้านบาท |
. |
โดยเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงก่อนหน้ามาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ความต้องการเงินสดที่เพิ่มสูงขึ้นน่าจะเป็นเพียงระยะสั้นจึงไม่น่าจะส่งผลกระทบให้เกิดภาวะสภาพคล่องปรับตัวลดลงจนเข้าสู่ภาวะตึงตัว |
. |
อย่างไรก็ตาม หากมีการเพิ่มระดับสภาพคล่องในระบบเกินความเหมาะสมอาจนำไปสู่แรงดันต่อภาวะเงินเฟ้อได้ ดังนั้น มาตรการในปัจจุบันจึงน่าจะอยู่ในระดับที่เหมาะสมแล้ว ในขณะเดียวกัน ธปท.ควรมีการจับตาดูระดับสภาพคล่องในระยะถัดไปให้เหมาะสมและมิให้เกิดความเสี่ยงจากภาวะตึงตัวและเงินเฟ้อด้วยเช่นกัน |
.. |
2. พาณิชย์ชี้ราคาสินค้าช่วงนี้ยังชะลอตัว |
- น.ส.ชุติมา บุณยประภัศร อธิบดีกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผย ภาพรวมราคาสินค้าอุปโภคบริโภคในช่วงสัปดาห์แรกของเดือนม.ค. 53 ระหว่างวันที่ 1-5 มีนาคม ว่าราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มทั่วไปอยู่ในภาวะชะลอตัว |
. |
โดยสินค้าที่มีราคาลดลง ได้แก่ ข้าวสารบรรจุถุง นมถั่วเหลือง ครีมเทียม น้ำมันพืช และไข่ไก่ เนื่องจากอยู่ในช่วงปิดภาคเรียนทำให้ความต้องการในการบริโภคลดลง นอกจากนี้ สินค้าในหมวดวัสดุก่อสร้างมีราคาทรงตัว ของใช้ประจำวันมีการปรับราคาลดลงตามการแข่งขันที่สูงขึ้น เช่น แชมพู น้ำยาปรับผ้านุ่ม ยาสีฟัน และผ้าอ้อมสำเร็จรูป |
. |
- สศค.วิเคราะห์ว่าแนวโน้มราคาสินค้าในช่วง 1-2 เดือนข้างหน้าอาจจะไม่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามากนักแม้ว่าราคาน้ำมันโลกจะเริ่มปรับตัวสูงขึ้น โดยสาเหตุหลักมาจากปัญหาการเมืองที่ส่งผลกระทบในทางลบต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภคและอุปสงค์ภายในประเทศ โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคล่าสุดในเดือน ก.พ. 53 ปรับตัวลดลงครั้งแรกในรอบ 4 เดือน มาอยู่ที่ระดับ 70.9 จากระดับ 71.9 ในเดือนก่อนหน้า |
. |
3. อัตรเงินเฟ้อจีนขยายตัวสูงสุดในรอบ 15 เดือน |
- อัตราเงินเฟ้อจีนเดือนก.พ. 53 ขยายตัวสูงสุดในรอบ 15 เดือนที่ร้อยละ 2.7 ต่อปี ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อย 1.5 ต่อปี สาเหตุสำคัญจากราคาอาหารและอสังหริมทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ |
. |
ในขณะที่ยอดการปล่อยสินเชื่อใหม่ (New Loans) เดือนก.พ. 53 สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 700 พันล้านหยวน (102.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ระดับ1.39 พันล้านหยวน เป็นแรงกดดันในอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นในระยะต่อไป |
. |
- สศค. วิเคราะห์ว่า เศรษฐกิจจีนมีอัตราการเจริญเติบโตอยู่ในระดับที่สูงในช่วงที่ผ่านมา โดย GDP ของจีนในไตรมาสที่ 4 ปี 52 ขยายตัวสูงที่สุดในรอบ 2 ปีที่ร้อยละ 10.7 ต่อปี ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากมาตรกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะมาตรการเร่งปล่อยการปล่อยสินเชื่อ ซึ่งในปี 52 ธนาคารจีนได้ปล่อยสินเชื่อทั้งสิ้นกว่า 9.59 ล้านล้านหยวน (1.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) |
. |
อย่างไรก็ตามมาตรการดังกล่าวได้ส่งผลให้ราคาอสังหาริมทรัพย์โดยรวมปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพิ่มความเสี่ยงด้านฟองสบู่ในอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งส่งผลให้มีการคาดการณ์ถึงมาตรการจากทางการจีนในการชะลอความร้อนแรงในภาคเศรษฐกิจดังกล่าว |
. |
ทั้งนี้ในช่วงที่ผ่านมาธนาคารกลางจีนได้ปรับขึ้นอัตราเงินสดสำรองของธนาคารพาณิชย์ (Reserve requirement) เป็นครั้งที่ 2 ในรอบ2 เดือนที่ร้อยละ 0.5 โดยให้อัตราเงินสดสำรองสำหรับธนาคารขนาดใหญ่และธนาคารขนาดเล็กเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 16.5 และร้อยละ 14.5 ตามลำดับ |
. |
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง |