1. กนง. มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.25 % ต่อปี |
- ธปท.กล่าวว่า คณะกรรมการ กนง.มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.25 % ต่อไป เนื่องจาก เห็นว่า อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ และความไม่แน่นอนในเศรษฐกิจโลกยังคงมีอยู่ เช่น อัตราการว่างงานที่สูง และปัญหาหนี้ภาครัฐในบางประเทศ ซึ่งอาจเป็นข้อจำกัดต่อการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจโลก ประกอบกับปัจจัยเสี่ยงภายในประเทศที่อาจมีผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุน |
. |
- สศค.วิเคราะห์ว่า ในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมามีเพียงไม่กี่ประเทศที่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ นอร์เวย์ และเวียดนาม สำหรับประเทศไทยอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเดือนม.ค. 53 ยังคงอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 0.6 ตามกรอบเป้าหมายที่ กนง. กำหนดไว้ที่ร้อยละ 0.5-3 |
. |
ขณะเดียวกันการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกยังคงเปราะบางทำให้การขึ้นอัตราดอกเบี้ยอาจส่งผลกระทบต่อภาพรวมทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงปีหลัง จากการปรับขึ้นของราคาพลังงาน และสินค้าโภคภัณฑ์ ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก รวมทั้งผลกระทบจากภัยแล้งที่อาจผลักดันให้สินค้าเกษตรปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งทำให้อาจต้องมีการทบทวนอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้ง |
. |
2. ปัญหาการเมืองกดดันยอดขายโครงการที่อยู่อาศัยในเมืองท่องเที่ยวชายทะเล 4 แห่ง |
- ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ เผยผลสำรวจโครงการที่อยู่อาศัยในเมืองท่องเที่ยวชายทะเล 4 แห่ง ได้แก่ ภูเก็ต ชลบุรี เกาะสมุย และชะอำ-หัวหิน-ปราณบุรี ว่าในขณะนี้ธุรกิจกำลังประสบปัญหายอดขายที่ชะลอตัวลง โดยเฉพาะบ้านตากอากาศสำหรับต่างชาติที่ผู้ซื้อยังคงกังวลต่อปัญหาการเมือง ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ |
. |
- สศค. วิเคราะห์ว่า ในช่วงที่ผ่านมา การลงทุนของภาคเอกชนที่แท้จริงในหมวดก่อสร้างปรับตัวดีขึ้นโดยในไตรมาส 4 ของปี 52 ขยายตัวร้อยละ 2.0 จากที่หดตัวร้อยละ -6.3 ต่อปี ในไตรมาสก่อนหน้า |
. |
นอกจากนี้ เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนในหมวดก่อสร้าง ณ เดือน ม.ค.53 สะท้อนการลงทุนที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง เช่น ปริมาณจำหน่ายปูนซิเมนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลรวมทั้งประเทศขยายตัวร้อยละ 36.3 ซึ่งอาจสะท้อนได้ว่า การลงทุนภาคการก่อสร้างโดยรวมดีขึ้น แม้ว่าความต้องการซื้ออสังหาริมทรัพย์ของชาวต่างชาติอาจลดลง |
. |
3. อเบอร์ดีนคาดตลาดหุ้นเกิดใหม่ส่อเค้าร่วงร้อยละ15 ในปีนี้ |
- อเบอร์ดีนประเมินว่าตลาดหุ้นในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่มีแนวโน้มหดตัวลงร้อยละ 15 ในปีนี้ เนื่องจากผลประกอบการของภาคเอกชนออกมาต่ำกว่าคาดการณ์ และอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง พร้อมปรับลดน้ำหนักการลงทุนของตลาดหุ้นจีนลง เพราะกังวลว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่รัฐบาลนำมาใช้อาจนำไปสู่วิกฤตการณ์ในภาคการธนาคาร แต่ได้ปรับเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในตลาดหุ้นเม็กซิโก อินเดีย และตุรกี |
. |
- สศค.วิเคราะห์ว่า ดัชนี MSCI Emerging Market ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของ 22 ตลาดหุ้นในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ สามารถผ่านพ้นช่วงวิกฤติในปี 52 มาได้เป็นอย่างดี โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 80 จากจุดต่ำสุดในเดือนมี.ค.52 โดยมีสาเหตุหลักหลักมาจาก กลุ่มตลาดเกิดใหม่เอเชีย และลาตินอเมริกาปรับตัวขึ้นมากเทียบกับดัชนี MSCI AC World สำหรับทุกประเทศที่ปรับขึ้นแค่ร้อยละ 35 ในช่วงเดียวกัน |
. |
ทั้งนี้คาดว่าเศรษฐกิจของประเทศเกิดใหม่ในปี 53 จะขยายตัวได้ต่อเนื่อง โดยเฉพาะจีน ที่ตัวเลขทางเศรษฐกิจออกมาดี เห็นได้จากมูลค่าการส่งออกเดือน ก.พ. ที่ขยายตัวสูงที่ร้อยละ 45.7 ต่อปี นับเป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 และเพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบ 3 ปี ทำให้คาดว่าดัชนีตลาดหุ้นตลาดเกิดใหม่อาจสามารถปรับตัวดีขึ้น |