เนื้อหาวันที่ : 2010-03-11 08:49:07 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1339 views

บีโอไอ เท 1.4 หมื่นล้าน หนุนธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติและแสงอาทิตย์

บอร์ดใหญ่บีโอไออนุมัติ 3 โครงการใหญ่ เงินลงทุน 14,482 ล้านบาท เน้นกิจการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติและพลังงานแสงอาทิตย์

บอร์ดใหญ่บีโอไออนุมัติ 3 โครงการใหญ่ เงินลงทุน 14,482 ล้านบาท บริษัทอมตะ บี.กริม เพาเวอร์ 3 และบริษัท พัฒนาพลังงานธรรมชาติ จำกัด ได้รับส่งเสริมฯ ผลิตไฟฟ้าป้อนการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ด้านเอ็นพีเอส โอเชี่ยนสตาร์ จำกัด ได้รับส่งเสริมลงทุนกิจการขนส่งทางเรือ เส้นทางไทย-อินโดนีเซีย และ ไทย-เวียดนาม

.

นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

.

นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บอร์ดบีโอไอ) ที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีเป็นประธานว่า  ที่ประชุมมีมติให้การส่งเสริมการลงทุน 3 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวม  14,482 ล้านบาท โดยมีรายละเอียดดังนี้  

.

1. บริษัท พัฒนาพลังงานธรรมชาติ จำกัด ได้รับการส่งเสริมลงทุน ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์กำลังการผลิต 55 เมกะวัตต์ โดยมีมูลค่าเงินลงทุนทั้งสิ้น 7,960 ล้านบาท โครงการนี้จะติดตั้งแผง Solar Cell แบบ Thin Film เพื่อผลิตไฟฟ้า 55 เมกะวัตต์ จำหน่ายให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ตั้งสถานประกอบการที่อำเภอโคกสำโรง  จังหวัดลพบุรี

.

2. บริษัท เอ็นพีเอส โอเชี่ยนสตาร์ จำกัด ได้รับการส่งเสริมลงทุนในกิจการขนส่งทางเรือ  ให้บริการขนส่งถ่านหิน ให้กับบริษัท เนชั่นแนล เพาเวอร์   ซัพพลาย จำกัด ผู้ผลิตไฟฟ้า มีมูลค่าเงินลงทุนทั้งสิ้น 922 ล้านบาท  และมีเส้นทางขนส่ง 2 เส้นทาง คือ ไทย-อินโดนีเซีย และ ไทย-เวียดนาม โดยใช้เรือบรรทุกสินค้าเทกอง จำนวน 1 ลำ จากประเทศญี่ปุ่นดำเนินกิจการ

.

3. บริษัท อมตะ บี.กริม เพาเวอร์ 3 จำกัด ได้รับการส่งเสริมลงทุน ผลิตไฟฟ้าจากก๊าซ  ธรรมชาติ กำลังการผลิต 142 เมกะวัตต์ ไอน้ำ 30 ตันต่อชั่วโมง โดยมีมูลค่าเงินลงทุนทั้งสิ้น 5,600 ล้านบาท โครงการนี้จะใช้ก๊าซธรรมชาติจากบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ประมาณ 20 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน

.

ใช้น้ำดิบจากบริษัท อมตะ   วอเตอร์ จำกัด ประมาณ 1,095,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน โดยกระแสไฟฟ้าที่ได้จะจำหน่ายให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)  90  &n bsp;เมกะวัตต์ และบริษัทต่างๆ ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร 52 เมกะวัตต์