เกาะติด FTA นำร่อง 9 สาขา 5 กรอบข้อตกลง หวังยกระดับเป็นหน่วยรู้รอบด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมระหว่างประเทศ มั่นใจชี้ช่องผู้ประกอบการตรงจุด เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันอย่างยั่งยืน
เกาะติด FTA นำร่อง 9 สาขา 5 กรอบข้อตกลง หวังยกระดับเป็นหน่วยรู้รอบด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมระหว่างประเทศ มั่นใจชี้ช่องผู้ประกอบการตรงจุด เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันอย่างยั่งยืน |
. |
นางสุทธินีย์ พู่ผกา |
. |
นางสุทธินีย์ พู่ผกา ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) และรองโฆษก กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สศอ.ร่วมกับมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ได้ทำการศึกษาฐานข้อมูลเชิงลึกเพื่อเกาะติดความตกลงเขตการค้าเสรีของไทย หรือ FTA |
. |
โดยเฉพาะในส่วนสินค้าอุตสาหกรรมภายใต้ “โครงการเพิ่มขีดความสามารถภาคอุตสาหกรรมภายใต้นโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศของไทย” แล้วเสร็จในเดือนกันยายน 2553 ซึ่งจะทำให้มีฐานข้อมูลเชิงลึกและสามารถออกบทวิเคราะห์ ชี้ช่องทางให้ผู้ประกอบการสามารถใช้ประโยชน์จาก FTA ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ซึ่งจะเป็นการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันได้อีกทางหนึ่ง |
. |
“โดยระยะแรกจะเร่งศึกษาข้อตกลงการค้าเสรีที่มีผลบังคับใช้แล้วรวม 5 ฉบับ ได้แก่ 1) ความ ตกลงการค้าเสรีอาเซียน (ซึ่งมีผลบังคับใช้ไปแล้วเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2553 ที่ผ่านมา) 2) ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน |
. |
3) ความตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย 4) ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) และ 5) ความตกลงเร่งรัดลดภาษีไทย-อินเดีย ทั้งนี้ กำหนดให้ศึกษาทั้งผลกระทบและผลประโยชน์ในภาพรวม โดยลงลึกในรายละเอียด 9 สาขาอุตสาหกรรมสำคัญ |
. |
ซึ่งไทยเป็นฐานการผลิตเพื่อการส่งออกที่แข็งแกร่งกับคู่ค้า ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์ เหล็ก เคมี เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักร สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม รองเท้า อาหาร และอัญมณีและเครื่องประดับ รวมถึงผลของ FTA ต่อการปรับโครงสร้างการผลิตและการลงทุนของภาคอุตสาหกรรมในไทย และการเปลี่ยนแปลงของเครือข่ายการผลิต (Production Network) ภาคอุตสาหกรรมไทยด้วย” |
. |
นางสุทธินีย์ กล่าวว่า หลังจากดำเนินการโครงการสิ้นสุดในปีงบประมาณนี้ สศอ.จะเร่งดำเนินการต่อยอดทันที โดยขยายฐานข้อมูลไปให้ครอบคลุม FTA ทั้งหมดเพื่อให้มีฐานข้อมูลที่ครบถ้วนและสศอ. จะเป็น “หน่วยติดตามการใช้ประโยชน์จาก FTAและสศอ. จะเป็นด้านอุตสาหกรรม” ที่สมบูรณ์ที่สุดเพื่อสนับสนุนให้รัฐบาลได้รับทราบข้อมูลในเชิงลึก |
. |
สามารถนำไปกำหนดท่าทีในการเจรจาทางการค้ากับคู่ค้าสำคัญต่างๆ ที่จะมีขึ้นในอนาคต และแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น นอกจากนี้ ยังช่วยคณะเจรจาการค้าฝ่ายไทยมีข้อมูลที่พร้อมสำหรับเจราจาการค้าไม่ให้เสียเปรียบคู่ค้า |
. |
อย่างไรก็ตามผลจากการทำ FTA ของไทยกับประเทศคู่ค้า ยังมีข้อถกเถียงกันอยู่มากเรื่องการได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์ แต่หากวิเคราะห์ลงไปในเชิงลึกแล้วผู้ประกอบการไทยยังใช้ประโยชน์ได้ไม่เต็มที่นัก เนื่องจากยังติดอยู่กับแนวทางเดิมๆ ที่เคยดำเนินการอยู่ |
. |
ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงจำเป็นต้องศึกษาข้อมูลเรื่องกฎระเบียบ รวมถึงมาตรการต่างๆ ของประเทศคู่ค้าให้มากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันเป็นโลกแห่งข้อมูลข่าวสารที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว |
. |
หากพลาดโอกาสในการศึกษาข้อมูลย่อมเพลี่ยงพล้ำในสนามแข่งขันอย่างน่าเสียดาย ทั้งนี้ สศอ. จะเป็นหน่วยงานด้านข้อมูลเชิงลึกและจะเร่งเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งชี้ช่องแห่งโอกาสทางการค้าภาคอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถนำไปประกอบการตัดสินใจเชิงธุรกิจอย่างถูกต้องแม่นยำต่อไป |