1. นักเศรษฐศาสตร์คาดยังคงไม่มีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในวันที่ 10 มี.ค. นี้ |
- นักเศรษฐศาสตร์หลายสำนักเชื่อว่า จะยังคงไม่มีการปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยนโยบายในตลาดซื้อคืนพันธบัตร (อาร์พี) ที่ปัจจุบันอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.25 แต่อย่างใด เนื่องจากยังไม่พบแรงกดดันใดๆ โดยเศรษฐกิจยังโตเปราะบาง และมีปัจจัยการเมืองรุมเร้า ว่าการเพิ่มขึ้นจะก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจมากกว่า |
. |
- สศค. วิเคราะห์ว่า การปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจในประเทศยังเปราะบางนั้นอาจส่งผลกระทบในหลายมิติต่อเศรษฐกิจโดยรวม โดยต้นทุนของการกู้ยืมที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลกระทบต่อภาคการลงทุนภาคเอกชนที่ปัจจุบันยังคงหดตัวที่ร้อยละ -4.6ต่อปี |
. |
ในขณะเดียวกันการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยก่อนประเทศคู่ค้าของไทยอาจส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันในตลาดส่งออกผ่านค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ส่วนทางด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ สศค. คาดว่ายังไม่มีสัญญาณใดๆที่จะต้องวิตก โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปล่าสุดในเดือนก.พ. 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 3.7 ต่อปี ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 4.1 ต่อปี และมีปัจจัยหลักมาจากฐานที่ต่ำจากปีก่อนและจากราคาน้ำมันโลกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 45 ต่อปี |
. |
โดยเมื่อพิจารณาอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวเพียงเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.3 ต่อปี ส่วนทางด้านความเสี่ยงฟองสบู่ในตลาดหลักทรัพย์และตลาดอสังหาริมทรัพย์ยังคงไม่มีสัญญาณใดๆที่ชัดเจน |
. |
2. กรมชลประทานเตือน 60 วันมีน้ำใช้ 5.9 ล้านลูกบาศก์เมตร |
- อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ปริมาณน้ำที่เก็บทั่วประเทศปี 53 มีประมาณ 5 หมื่นล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งน้อยกว่าปีที่แล้วประมาณ 900 ล้านลูกบาศก์เมตร ทำให้ปริมาณน้ำที่สามารถใช้ในการเกษตรได้ตั้งแต่ พ.ย. 52 - เม.ย. 53 มีจำนวน 20,720 ล้านลูกบาศก์เมตร |
. |
โดยใช้ไปแล้ว14,805 ล้านลูกบาศก์เมตรหรือประมาณร้อยละ 71 ดังนั้นในช่วง 2 เดือนที่เหลือ จะมีน้ำใช้ในการเกษตรประมาณ 5,915 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการเพาะปลูกข้าวนาปรังปี 53 ที่คาดว่าจะขยายพื้นที่เพาะปลูกจาก 9.5 ล้านไร่ เป็น 12.57 ล้านไร่ |
. |
- สศค. วิเคราะห์ว่า สภาวะทางภูมิอากาศที่แปรปรวนได้ส่งผลกระทบต่อการผลิตและเพาะปลูกสินค้าเกษตรของโลก โดยเฉพาะประเทศในโซนเอเชีย เช่น อินเดีย เวียดนามและไทย ซึ่งเป็นประเทศผลิตพืชอาหารเป็นหลัก ส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรโดยเฉพาะข้าวได้รับความเสียหายมาก ทั้งนี้ คาดว่าผลผลิตข้าวนาปรังของไทยปี 53 จะอยู่ที่ประมาณ 8.2 ล้านตัน หรือลดลงประมาณร้อยละ -2.6 ต่อปี |
. |
3. อัตราการว่างงานของสหรัฐฯ เดือน ก.พ. 53 เท่ากับเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 9.7 |
- กระทรวงแรงงานของสหรัฐฯ แถลงอัตราการว่างงานของสหรัฐฯ ในเดือน ก.พ. 53 อยู่ที่ร้อยละ9.7 ของกำลังแรงงานทั้งหมด ขณะที่ตำแหน่งงานนอกภาคเกษตรลดลง 36,000 ตำแหน่งจากเดือนก่อนหน้า น้อยกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ 68,000 ตำแหน่ง ส่งสัญญาณการฟื้นตัวในภาคการจ้างงานของสหรัฐฯ |
. |
แม้ว่าจะมีเหตุการณ์พายุหิมะในฝั่งตะวันออกที่ทำให้ตัวเลขการจ้างงานลดลงในช่วงต้นเดือน ก.พ. ที่ผ่านมา ทั้งนี้ พบว่าการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่สอง ขณะที่ภาคก่อสร้างยังลดการจ้างงานอย่างต่อเนื่อง |
. |
- สศค.วิเคราะห์ว่า การที่อัตราการว่างงานของสหรัฐฯ ในเดือน ก.พ. 53 อยู่ในระดับที่เท่ากับเดือนก่อนหน้า แม้ว่าจะมีเหตุการณ์ภายุหิมะในช่วงที่ผ่านมาที่ทำให้บางบริษัทต้องหยุดทำการ เป็นอีกหนึ่งสัญญาณว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องและภาคการจ้างงานเริ่มมีการฟื้นตัวตาม ภายหลังจากที่อัตราการว่างงานได้ถึงจุดสูงสุดที่ร้อยละ 10.1 ในเดือน ต.ค. 52 จากวิกฤตเศรษฐกิจ |
. |
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะมีสัญญาณการฟื้นตัว โดยเฉพาะในภาคการจ้างงาน แต่คาดว่ารัฐบาลสหรัฐฯ จะยังจำเป็นต้องกระตุ้นเศรษฐกิจและการจ้างงานภายในประเทศต่อไปเพื่อให้การจ้างงานกลับมาอยู่ที่ระดับก่อนวิกฤตที่ประมาณร้อยละ 6.6 |
. |
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง |