กรีนพีซ ชี้พีดีพีฉบับล่าสุดที่เสนอสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 5 โรง แพงและเสี่ยงต่อชีวิต จี้รัฐปิดสำนักพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์โดยด่วน ยันไทยมีทางเลือกที่ดีกว่านิวเคลียร์
กรีนพีซต้านพีดีพีฉบับล่าสุดที่เสนอสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 5 โรง ระบุแพงและเสี่ยงต่อชีวิต พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลปิดสำนักพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์โดยด่วน ยันไทยมีทางเลือกที่ดีกว่านิวเคลียร์ |
. |
. |
กรีนพีซท้วงแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า (พีดีพี) ฉบับล่าสุดที่เสนอให้มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 5 โรงว่า มีราคาแพงและเสี่ยงต่อชีวิต พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลปิดสำนักพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์โดยด่วน |
. |
กรีนพีซร่วมกับชุมชนจากจังหวัดนครสวรรค์และสุราษฎ์ธานีแสดงข้อเรียกร้องดังกล่าวในงานแถลงข่าวเปิดตัวปฎิทิน "365 เหตุผลที่ไม่ควรจำนนต่อพลังงานนิวเคลียร์" โดยกรีนพีซได้รวบรวมอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในแต่ละวันจากความผิดพลาดของอุตสาหกรรมนิวเคลียร์ทั่วโลกมาบรรจุไว้ ให้เป็นข้อมูลอีกด้านเพื่อเตือนสติแก่ผู้ที่คิดว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ปลอดภัย |
. |
"ปฏิทินนี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงอันตรายของพลังงานนิวเคลียร์ แม้จะเป็นข้อผิดพลาด หรืออุบัติเหตุเพียงเล็กน้อยอย่างประกายไฟจากสายเคเบิล ความผิดปกติของวงจรไฟฟ้า หรือแม้แต่ท่อน้ำระเบิด สามารถเปลี่ยนอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อยนั้นให้กลายเป็นหายนะภัยนิวเคลียร์ครั้งใหญ่ได้" ธารา บัวคำศรี ผู้จัดการฝ่ายรณรงค์ประจำประเทศไทย กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กล่าว |
. |
เขาบอกว่า รัฐบาลไทยควรเรียนรู้จากเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในอดีต และทบทวนแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าปีล่าสุดเสียใหม่ โดยนำพลังงานนิวเคลียร์ออกจากแผน แล้วปิดสำนักพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เสีย เนื่องจากไร้ประโยชน์และยังสิ้นเปลืองภาษีประชาชน 1.8 พันล้านบาท ไปกับการสนับสนุนแผนการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่มีราคาแพง ไม่ปลอดภัย และไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง |
. |
ธารา ระบุว่า นับแต่ก่อตั้งสำนักฯ นี้ขึ้นในสมัยรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เมื่อปี 2551 ปัจจุบันก็ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน อีกทั้งในอนาคต จะต้องเสียงบประมาณผูกพันต่อไปอีก 3 ปีซึ่งยังไม่รู้ว่าจะเป็นเงินเท่าใด ดังนั้น จึงถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องทบทวนการใช้งบประมาณของประเทศอย่างเหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ |
. |
ธารา เสนอด้วยว่า รัฐบาลไม่ควรปิดกั้นทางเลือกที่ไม่มีพลังงานนิวเคลียร์ โดยท้าว่าหากรัฐบาลให้งบศึกษาพลังงานนิวเคลียร์ก็ควรศึกษาการใช้พลังงานแบบอื่นด้วยในงบประมาณและระยะเวลาที่เท่ากัน จากนั้นจึงค่อยมาตัดสินใจว่าจะเลือกทางไหน ไม่ใช่แบบที่ทำอยู่ในปัจจุบันที่นำงบไปใช้สร้างสำนักฯ นี้ขึ้นมาและผลักดันอย่างเต็มที่ในการศึกษา ทั้งยังให้ข้อมูลด้านเดียวที่สร้างความสับสนต่อประชาชนว่า พลังงานนิวเคลียร์นั้นสะอาดและปลอดภัย |
. |
ขณะนี้กระทรวงพลังงานกำลังดำเนินการสรุปแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าปี 2553 หรือ พีดีพี 2010 ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปีนี้ แผนนี้จะมีระยะเวลา 20 ปี และถูกเรียกว่าเป็น "พีดีพีสีเขียว" ซึ่งมีเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคพลังงานให้ได้ 0.38-0.42 กิโลกรัมต่อกิโลวัตต์ชั่วโมงภายในปี 2563 เปรียบเทียบกับปี 2552 ที่ตั้งเป้าหมายไว้ 0.546 กิโลกรัมต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง |
. |
คาดว่ากำลังผลิตติดตั้งในปี 2572 จะเพิ่มเป็น 700,000 เมกะวัตต์ เปรียบเทียบกับกำลังผลิตติดตั้งปัจจุบัน 29,213 เมกะวัตต์ ภายใต้แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าฉบับล่าสุดนี้ กำลังผลิตติดตั้งใหม่ส่วนใหญ่จะมาจากพลังงานนิวเคลียร์ ถ่านหิน และพลังงานนำเข้าจากโครงการเขื่อนขนาดใหญ่ในประเทศลาวและพม่า |
. |
"พีดีพีฉบับสีเขียวที่กระทรวงพลังงานกำลังวิ่งเต้นผลักดันอยู่นี้นับเป็นเรื่องแหกตา และมิได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงใดๆ ในการผลิตหรือจัดส่งพลังงาน อีกทั้งยังไม่นำไปสู่การกระจายผลประโยชน์และต้นทุนอย่างเป็นธรรมในสังคม |
. |
ประเทศไทยมีทางเลือกดีกว่า เช่น พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานความร้อนใต้พิภพ และการใช้พลังงานอย่างชาญฉลาด รัฐบาลควรพิจารณาสิ่งเหล่านี้เป็นทางออกด้านความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ เนื่องจากปลอดภัยกว่า สะอาดกว่า และเป็นพลังงานที่ยั่งยืนมากกว่าพลังงานนิวเคลียร์" ธาราระบุ |
. |
สำนักพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์กำลังดำเนินการเลือกที่ตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศไทยและวางแผนที่จะประกาศสถานที่ตั้งโรงไฟฟ้าในกลางปีนี้ จังหวัดที่ถูกคัดเลือกได้แก่ นครสวรรค์ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตราด และขอนแก่น ในบางพื้นที่ อย่างเช่น นครสวรรค์และสุราษฎ์ธานีนั้น ได้มีชุมชนที่เคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านการก่อสร้างและเรียกร้องให้รัฐบาลยุติโครงการไฟฟ้านิวเคลียร์ |
. |
ที่มา : กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ |