1. คลังชงคุมเข้มเบิกค่ารักษาพยาบาลข้าราชการ |
- อธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าวว่า คลังเตรียมเสนอมาตรการควบคุมการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลของข้าราชการ ให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติเห็นชอบ ประกอบด้วยมาตรการควบคุมการใช้ยาในกลุ่มยา 9 กลุ่ม และมาตรการให้มีการศึกษาระบบการออมเพื่อสุขภาพ ซึ่งในประเทศสิงคโปร์ใช้อยู่ โดยรัฐบาลจ่ายเงินสมทบเพื่อตั้งเป็นกองทุนเพื่อสุขภาพของประชาชน |
. |
ทั้งนี้การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลปีงบประมาณ 2552 ที่ผ่านมา มีการเบิกจ่ายวงเงิน 7 หมื่นล้านบาท หากไม่มีมาตรการควบคุมค่ารักษาพยาบาลปีงบประมาณ 2553 จะเพิ่มเป็น 1.05 แสนล้านบาท และในอีก 10 ปีข้างหน้า หรือปี 2563 จะสูง 1.56 แสนล้านบาท ซึ่งจะเป็นภาระกับงบประมาณจำนวนมาก |
. |
- สศค. วิเคราะห์ว่าค่ารักษาพยาบาลของราชการมีการเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดจาก 4.8 หมื่นล้านบาทในปี 51 เป็น 7.0 หมื่นล้านบาทในปี 52 โดยในส่วนนี้พบว่าเป็นค่ายาสูงถึงร้อยละ 80 ของทั้งหมด ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดมาจากปัญหาการเบิกจ่ายยานำเข้าที่มีราคาแพง และการใช้บริการทางการแพทย์อย่างฟุ่มเฟือย |
. |
ดังนั้น รัฐบาลจึงต้องมีโครงการปรับปรุงค่ารักษาพยาบาลทั้งระบบที่จะเน้นแก้ปัญหาควบคุมการเบิกจ่ายยาผู้ป่วยนอก เพื่อไม่ให้เกิดการทุจริต ควบคุมการเบิกจ่ายยาบำรุงและวิตามิน รวมทั้งเข้มงวดการสั่งยาไม่ให้มีการจ่ายยาล่วงหน้าหลายเดือน ซึ่งทำให้เหลือยาจำนวนมาก โดยกรมบัญชีกลางตั้งเป้าไว้ว่าจะสามารถลดค่าใช้จ่ายลงได้ราว 4-5 พันล้านบาท |
. |
2. สภาพัฒน์เผยไตรมาส 4 ปี 52 ว่างงานลดลงเหลือ 1% หลังภาวะเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว |
- สภาพัฒน์ เปิดเผยว่า อัตราการว่างงานในช่วง Q4/52 ลดลงเหลือเพียง 1% หลังภาวะเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น ขณะที่อัตราการว่างงานทั้งปี 52 อยู่ที่ 1.5 % โดยมีการจ้างงานเฉลี่ย 37.7 ล้านคน เพิ่มขึ้น 1.8 % จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัจจัยที่เผ้าระวัง ได้แก่ ภาวะการตึงตัวของตลาดแรงงานจากปัจจัยต่างๆ เช่น การขาดแคลนแรงงานมีฝีมือ และภาวะที่ไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุทำให้จำนวนแรงงานลดลง |
. |
- สศค. วิเคราะห์ว่า จำนวนผู้ว่างงานใน ธ.ค. 52 เหลือเพียง 3.5 แสนคนคิดเป็นร้อยละ 0.9 ของกำลังแรงงาน จำแนกตาม 5 สาขาเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ภาคเกษตรกรรม 29,300 คน ภาคการผลิต 62,100 คน ภาคการก่อสร้าง 27,700 คน ภาคค้าส่งค้าปลีก 27,000 คน และ ภาคโรงแรม/ภัตตาคาร 22,400 คน |
. |
โดยอัตราการว่างงานดังกล่าวได้ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า ซึ่ง สศค. คาดว่า ภาวะการว่างงานในปี 53 (คาดการณ์ ณ ธ.ค. 52) จะมีผู้ว่างงานลดลงต่ำกว่า 3.5 แสนคน อยู่ที่ 1.3 ของกำลังแรงงาน ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจที่ดีขึ้นในช่วงปลายไตรมาส 3 จนถึงปี 53 ทำให้ผู้ประกอบการเริ่มขยับตัวมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น |
. |
3. จีดีพีออสเตรเลียในไตรมาสสุดท้ายปี 52 แสดงถึงเศรษฐกิจที่สดใสสำหรับปี 53 |
- เศรษฐกิจของออสเตรเลียในไตรมาสที่ 4 ของปี 52 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.7 (y-o-y) หรือร้อยละ 0.9 (q-o-q) ซึ่งเป็นอัตราการเจริญเติบโตที่สูงสุดในรอบกว่า 2 ปี ซึ่งมาจากการอัดฉีดของรัฐบาล (การศึกษา การป้องกันประเทศและโครงสร้างพื้นฐาน) การลงทุนของภาคธุรกิจ (โรงงานและเครื่องจักร) และการใช้จ่ายของภาคครัวเรือน |
. |
ซึ่งคาดว่าจะมีการเจริญเติบโตในอัตราที่เร็วขึ้นอีกต่อไปในปีนี้ การเจริญเติบโตนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางออสเตรเลียเป็นร้อยละ 4.0 เมื่อต้นอาทิตย์นี้เช่นกัน ทั้งนี้ ตลอดปี 52 จีดีพีออสเตรเลียมีมูลค่าทั้งหมดอยู่ที่ 1.2 ล้านล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย |
. |
- สศค. วิเคราะห์ว่า ในไตรมาสที่ 4 ของปี 52 ปัจจัยขับเคลื่อนอุปสงค์ภายในประเทศได้แก่การใช้จ่ายของภาครัฐและครัวเรือน และการลงทุนของภาคธุรกิจ สำหรับปัจจัยที่ชะลอการขยายตัวนั้นมาจากภาคการส่งออกสุทธิ อย่างไรก็ตาม ในปี 53 หลายฝ่ายคาดว่าภาคส่งออกสุทธิจะเพิ่มขึ้นอีกจากความต้องการแร่เหล็กและถ่านหินของจีนและอินเดียซึ่งเป็นสินค้าส่งออกหลักของออสเตรเลีย |
. |
โดยธนาคารกลางได้ประมาณการเจริญเติบโตของปี 53 อยู่ที่ร้อยละ 3.25 แต่หลายฝ่ายคาดว่าเศรษฐกิจจะมีการเจริญเติบโตสูงกว่าที่ได้ประมาณไว้ และอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่อาจปรับสูงถึงร้อยละ 5.0 ภายในปี 53 ซึ่งจะเป็นผลดีต่อประเทศไทย จากที่ออสเตรเลียเป็นประเทศคู่ค้าอันดับที่ 6 และล่าสุดในเดือน ม.ค. 53 มูลค่าการส่งออกของไทยไปออสเตรเลียสูงขึ้นร้อยละ 17.4 เมื่อเทียบกับการขยายตัวเฉลี่ยที่ร้อยละ 4.0 ของปี 52 |
. |
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง |