1. ก.พาณิชย์ฯ เผยอัตราเงินเฟ้อเดือน ก.พ. 53 อยู่ที่ร้อยละ 3.7 ต่อปี |
- กระทรวงพาณิชย์ เผย ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) หรืออัตราเงินเฟ้อในเดือน ก.พ. 53 อยู่ที่ 106.88 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 ต่อปี โดยมีสามาเหตุมาจากราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) ไม่รวมหมวดสินค้าอาหารสดและพลังงานเดือน ก.พ. 53 อยู่ที่ระดับ 103.05 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ต่อปี |
. |
- สศค. วิเคราะห์ว่า อัตราเงินเฟ้อในเดือนก.พ. 53 ที่เพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 3.7 ต่อปี นั้น ถือเป็นการปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ตั้งแต่เดือน ต.ค.52 โดยในเดือนนี้ดัชนีราคาในหมวดที่สำคัญมาจาก (1) ดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มขยายตัวร้อยละ 5.1มาจากข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้งขยายตัวร้อยละ 8.8 เนื่องจากราคาข้าวในตลาดโลกมีราคาปรับเพิ่มขึ้น และผลของมาตรการประกันรายได้เกษตรกร และ(2) ดัชนีหมวดอื่นๆที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มขยายตัวร้อยละ 2.9 |
. |
โดยรายการที่สำคัญมาจากยานพาหนะและเชื้อเพลิงขยายตัวร้อยละ 15.3 ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า (%mom) ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปขยายตัวร้อยละ 0.56 ซึ่งใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 0.60 ทั้งนี้ สศค. คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไป และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในปี 53 จะขยายตัวในช่วงร้อยละ 3.4 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ร้อนละ 3.0 - 4.0) และ 1.5 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ร้อนละ 1.0 - 2.0) ตามลำดับ |
. |
2. ส.อ.ท.ชี้เหตุวางระเบิดกระทบธุรกิจท่องเที่ยว |
- ประธานอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เผยถึง การวางระเบิดหน้าธนาคารกรุงเทพในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลต่อภาคการท่องเที่ยวอย่างมาก โดยต้องการให้รัฐบาลออกแถลงถึงมาตรการดูแลความปลอดภัยในสถานที่สำคัญๆ รวมถึงแหล่งท่องเที่ยว เพื่อสร้างความเชื่อมั่น ขณะที่ด้านตลาดหุ้นคาดว่าจะไม่กระทบมากนัก เนื่องจากตลาดหุ้นเอเชียยังเป็นสถานที่น่าลงทุนมากกว่าตลาดหุ้นยุโรป |
. |
- สศค. วิเคราะห์ว่า ในเดือนม.ค.53 มีจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าประเทศไทย มีจำนวน 1.65 ล้านคน ต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่มีจำนวน 1.68 ล้านคน ขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 30.2 ต่อปี โดยเป็นการขยายตัวในทุกกลุ่มประเทศ โดยเฉพาะภูมิภาคเอเชีย ได้แก่ จีนและกลุ่มอาเซียน |
. |
สะท้อนถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและความเชื่อมั่นที่มีต่อประเทศ ทั้งนี้ ปัจจัยความไม่สงบภายในประเทศมีผลกระทบต่อจิตวิทยาการท่องเที่ยวอยู่บ้าง อย่างไรก็ตาม ในปี 52 ที่ผ่านมาประเทศไทยต้องเผชิญกับทั้งปัจจัยภายในประเทศเรื่องความไม่สงบทางการเมืองและปัจจัยภายนอกจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก |
. |
แต่นักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าประเทศไทยมีจำนวน 14.1 ล้านคน หดตัวเพียงร้อยละ -0.3 ต่อปี คิดเป็นรายได้เข้าสู่ประเทศ 543 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -9.8 ต่อปี จากการลดราคาเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวผ่าน Promotion และจัด Discounted Tour Package เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว |
. |
3. ธนาคารกลางออสเตรเลียประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นร้อยละ 4.0 ต่อปี |
- ธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 4.0 ต่อปี โดยมีแนวโน้มที่จะปรับเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต เพื่อตอบรับกลับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4 ของปี 2552 ที่มีการคาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (q-o-q) ที่ร้อยละ 0.2 และอัตราเงินเฟ้อเข้าสู้ในระดับเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ |
. |
โดยการที่เศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้นมีผลมาจากการใช้จ่ายของภาครัฐที่เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 3.8 ในไตรมาสที่ผ่านมา โดยได้เน้นไปที่ภาคการก่อสร้างที่อาศัยแรงงานคนเป็นหลัก ซึ่งช่วยทำให้อัตราการว่างงานลดลงด้วย |
. |
- สศค. วิเคราะห์ว่า ธนาคารกลางออสเตรเลียได้ปรับขึ้นระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายมาแล้วทั้งหมด 4 ครั้งๆ ละร้อยละ 0.25 ตั้งแต่เดือน ต.ค. 2552 จนอยู่ที่ระดับร้อยละ 4.0 ซึ่งอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปัจจุบันนี้อยู่ในระดับที่สูงเมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้วส่วนใหญ่ซึ่งอยู่ประมาณร้อยละ 1.0 หรือต่ำกว่า |
. |
โดยที่ประเทศส่วนใหญ่ยังไม่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายนับจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกในช่วงปลายปี 2551 ทั้งนี้ หลายฝ่ายคาดว่าธนาคารกลางของประเทศต่างๆ มีแนวโน้มที่จะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้สูงขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2553 ไปแล้ว หลังจากที่เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวอย่างชัดเจนมากขึ้นและเริ่มมีแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่อาจสูงขึ้น) |
. |
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง |