สนพ. จับมือ สนช. ทำข้อตกลงการพัฒนาและส่งเสริมนวัตกรรมด้านพลังงานทดแทน โครงการนำร่องการนำเทคโนโลยีแก๊สซิไฟเออร์จากพลังงานชีวมวล หวังขยายเทคโนโลยีใหม่สู่ภาคเอกชน เบื้องต้นคาดจัดทำ 5 โครงการนำร่อง
สนพ. จับมือ สนช. ทำข้อตกลงการพัฒนาและส่งเสริมนวัตกรรมด้านพลังงานทดแทน “โครงการนำร่องการนำเทคโนโลยีแก๊สซิไฟเออร์จากพลังงานชีวมวล” หวังขยายเทคโนโลยีใหม่สู่ภาคเอกชน เบื้องต้นคาดจัดทำ 5 โครงการนำร่อง |
. |
. |
นายแพทย์วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า การลงนามบันทึกข้อตกลงระหว่างสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน และสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นการเริ่มต้นการพัฒนาและส่งเสริมนวัตกรรมด้านพลังงานทดแทน ซึ่งสอดคล้องกับแผนพลังงานทดแทน 15 ปี ที่มุ่งให้ประเทศไทยใช้พลังงานทดแทนเป็นพลังงานหลักของประเทศแทนการนำเข้าเชื้อเพลิง |
. |
เนื่องจากเป็นพลังงานที่สามารถผลิตได้เองในประเทศ โดยวางเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนให้เป็นร้อยละ 20 ของการใช้พลังงาน ในปี 2565 โดยพลังงานทดแทนที่ส่งเสริมให้มีการนำมาใช้ในการผลิตไฟฟ้าสูงสุดคือ พลังงานชีวมวล ตั้งเป้าไว้ที่ 3,700 เมกะวัตต์ |
. |
รองลงมาคือพลังงานลม ตั้งเป้าไว้ที่ 800 เมกะวัตต์ พลังงานแสงอาทิตย์ 500 เมกะวัตต์ พลังงานน้ำขนาดเล็ก 324 เมกะวัตต์ และพลังงานขยะ 160 เมกะวัตต์ ส่วนเป้าหมายส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพทดแทนการนำเข้าน้ำมัน ทางกระทรวงพลังงานได้กำหนดเป้าหมายเชื้อเพลิงจากเอทานอลไว้ที่ 9 ล้านลิตร/วัน และไบโอดีเซล ตั้งเป้าไว้ที่ 4.5 ล้านลิตร/วัน |
. |
และจากเป้าหมายดังกล่าว กระทรวงพลังงานต้องเร่งผลักดันให้เกิดการพัฒนาด้านเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตพลังงานทดแทนที่ยั่งยืน ซึ่งการร่วมมือครั้งนี้จะนำไปสู่การพัฒนานวัตกรรมในด้านการอนุรักษ์พลังงาน ด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงการพัฒนาพลังงานทางเลือกรูปแบบอื่นๆ ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และสามารถนำมาขยายผลต่อการพัฒนาพลังงานทดแทนของประเทศให้บรรลุเป้าหมายต่อไป |
. |
นายวีระพล จิรประดิษฐกุล ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.)กระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ตั้งแต่ปี 2538 สนพ.ได้ดำเนินการส่งเสริมการวิจัยพัฒนาด้านการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนจากชีวมวลคือหนึ่งในยุทธศาสตร์สำคัญที่กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานได้ให้ทุนสนับสนุนศึกษาวิจัย โดยเปิดให้สถาบันการศึกษา หน่วยงานราชการ |
. |
. |
ตลอดจนองค์กรต่างๆ ร่วมดำเนินการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทนที่มีความเหมาะสมและสอดรับกับนโยบายพลังงานของประเทศ เช่น การพัฒนาเทคโนโลยีแก๊สซิไฟเออร์ระดับชุมชน |
. |
การสาธิตการใช้แก๊สซิไฟเออร์ผลิตความร้อนสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก เป็นต้น ทั้งนี้ จากแผนพัฒนาพลังงานทดแทน 15 ปี จะเห็นได้ว่าพลังงานชีวมวลคือพลังงานทดแทนที่มีการส่งเสริมให้นำมาใช้สูงสุด คิดเป็นร้อยละ 44 |
. |
อย่างไรก็ดี การดำเนินงานที่ผ่านมามีข้อจำกัดในการขยายผลไปสู่ภาคเอกชน เนื่องจากการพัฒนาเทคโนโลยีส่วนใหญ่เป็นการพัฒนาขั้นพื้นฐาน ไม่สามารถพัฒนาไปสู่รูปแบบของผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ได้เท่าที่ควร |
. |
อีกทั้งการพัฒนาพลังงานทดแทนตามแผนในระยะยาวจำเป็นต้องมีการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อให้สอดรับกับความต้องการของผู้ใช้เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป และเพื่อเพิ่มศักยภาพการพัฒนาเทคโนโลยีด้านชีวมวลให้เหมาะกับภาคเอกชน |
. |
ดังนั้นทางสนพ.จึงได้ร่วมกับสนช. ทำข้อตกลงการพัฒนาและส่งเสริมนวัตกรรมด้านพลังงานทดแทน ภายใต้ “โครงการนำร่องการนำเทคโนโลยีแก๊สซิไฟเออร์จากพลังงาน ชีวมวล” ที่สนช.ได้ร่วมกับภาคเอกชนพัฒนาขึ้น |
. |
เพื่อนำมาปรับใช้ให้เหมาะกับอุตสาหกรรมของภาคเอกชน โดยเบื้องต้นคาดว่าจะจัดทำ 5 โครงการนำร่อง แบ่งเป็น 2 ระบบ ได้แก่ ระบบผลิตความร้อน แบ่งเป็น ระบบขนาด 50 กก.ชีวมวล/ชม. ทดแทนก๊าซ LPG 111 กก./วัน ระบบขนาด 100 กก.ชีวมวล/ชม. ทดแทนก๊าซ LPG 223 กก./วัน |
. |
และระบบขนาด 200 กก.ชีวมวล/ชม. ทดแทนก๊าซ LPG 445 กก./วัน หรือรวมเป็นปริมาณการผลิตก๊าซ LPG 284,000 กก./ปี คิดเป็นมูลค่า 5.68 ล้านบาท/ปี ส่วนระบบที่ 2 คือระบบผลิตไฟฟ้า แบ่งเป็น ระบบขนาด 150 กิโลวัตต์ ผลิตไฟฟ้าได้ 1,560 หน่วย/วัน และระบบขนาด 250 กิโลวัตต์ ผลิตไฟฟ้าได้ 2,724 หน่วย/วัน หรือรวมเป็นปริมาณการผลิตไฟฟ้าได้ 1.5 ล้านหน่วย/ปี คิดเป็นมูลค่า 4.5 ล้านบาท/ปี |