นายวิจักร วิเศษน้อย อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2553 ที่ผ่านมา หน่วยงานอาหารและยาของสหรัฐฯ (FDA) ได้ประกาศเรียกคืนสินค้าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่นำเข้าจากจีน ปริมาณประมาณ 50,000 ปอนด์ |
. |
เนื่องจาก FDA ตรวจพบว่าสินค้าดังกล่าวมีส่วนผสมจากเนื้อ หมู และไก่ (Beef, Pork and Chicken) ซึ่งไม่ตรงตามที่ระบุไว้ที่ฉลากว่าเป็นกลิ่น Artificial โดยที่จีนไม่ได้รับอนุญาตให้ส่งสินค้าที่มีส่วนผสมจากปศุสัตว์ไปยังสหรัฐฯ |
. |
สำหรับในส่วนของไทยเอง สหรัฐฯก็ไม่อนุญาตให้มีการนำเข้าสินค้าที่มีส่วนผสมจากปศุสัตว์ (Meat and Poultry) ทั้งสด แช่เย็น/แช่แข็ง และแปรรูป ทุกชนิดจากไทยเช่นเดียวกันกับจีน เนื่องจากสหรัฐฯให้เหตุผลด้านสุขอนามัย โดยมีความกังวลเกี่ยวกับเชื้อโรค Salmonella ในฟาร์มของไทย |
. |
อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมาไทยมีการส่งออกบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปไปยังสหรัฐฯ โดยใช้กลิ่น Artificial แทนการใช้เนื้อสัตว์ (Beef, Pork and Chicken) ในการผลิตเพื่อส่งออก โดยปฏิบัติตามระเบียบ FDA สหรัฐฯ ดังนี้ |
. |
1. ใบรับรองจากกรมปศุสัตว์ไทยแนบไปพร้อมกับสินค้าทุก shipment ว่าเป็นกลิ่น Artificial |
. |
3. ฉลากสินค้าต้องระบุไว้อย่างชัดเจนว่าเป็น “Artificial Flavor” |
. |
อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศกล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากผู้ส่งออกบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแล้ว ผู้ส่งออกอาหารแปรรูปทุกชนิดของไทยต้องระมัดระวังการผลิตเพื่อส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯโดยสินค้าอาหารจากไทยต้องไม่มีส่วนประกอบจากปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์ ยกเว้นสินค้าอาหารแปรรูปที่มีส่วนผสมจากไข่ (Processed Egg Product) |
. |
เช่น ขนมไหว้พระจันทร์ ขนมหม้อแกง ผงทำสังขยา เกี้ยวกุ้ง บะหมี่ ขนมจีบ และผัดไท ซึ่งสหรัฐฯอนุญาตให้ไทยสามารถส่งออกได้ โดยมีขั้นตอนการขออนุญาต FDA ดังนี้ |
. |
1. ต้องทำการขอ Import Permit ทุก Shipment โดยต้องส่งขั้นตอนกระบวนการผลิตให้ หน่วยงานAnimal Plant Health Inspection Service (APHIS) ของกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) ตรวจสอบก่อนการส่งออก |