ก.พลังงานเตรียมแผนรับมือก๊าซธรรมชาติพม่าหยุดจ่าย 16 วัน ทั้งเพิ่มกำลังผลิตก๊าซฯจากอ่าวไทย-ใช้น้ำมันเตาและดีเซลผลิตไฟแทน ทำต้นทุนค่าเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น 1.8 พันล้านบาท
ก.พลังงานเตรียมแผนรับมือก๊าซธรรมชาติพม่าหยุดจ่าย 16 วัน ทั้งเพิ่มกำลังผลิตก๊าซฯจากอ่าวไทย-ใช้น้ำมันเตาและดีเซลผลิตไฟแทน ทำต้นทุนค่าเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น 1.8 พันล้านบาท |
. |
นายแพทย์วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน |
. |
นายแพทย์วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวภายหลังประชุมคณะทำงานติดตามการบริหารเชื้อเพลิงเมื่อวานนี้ (18 กุมภาพันธ์ 2553) ว่า เพื่อเตรียมความพร้อมหามาตรการรับมือกรณีก๊าซธรรมชาติจากพม่าในแหล่งยานาดาจะหยุดซ่อมบำรุงชั่วคราวเป็นเวลา 16 วัน นับตั้งแต่วันที่ 19 มีนาคม.-3 เมษายน 2553นี้ ทำให้ปริมาณก๊าซฯหายจากระบบไปประมาณ 1.1 พันล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน จึงจำเป็นต้องเตรียมรับมือเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาไฟฟ้าดับ |
. |
โดยได้ให้เพิ่มกำลังผลิตจากแหล่งก๊าซฯในอ่าวไทยทั้ง 8 แห่งเป็น 3,3-3.4 พันล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน จากปัจจุบันที่มีกำลังการผลิตรวม 2.7 พันล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน หรือเพิ่มขึ้น 22% และจะต้องใช้น้ำมันเตา 236 ล้านลิตร และน้ำมันดีเซล 21 ล้านลิตร ในการป้อนโรงไฟฟ้าบางประกง พระนครใต้ ราชบุรีและกระบี่ เพื่อผลิตไฟฟ้าแทน ซึ่งส่งผลให้มีต้นทุนค่าเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 1.8 พันล้านบาท |
. |
ทั้งนี้ต้นทุนผลิตเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้นต้องผลักภาระผ่านค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ(เอฟที) อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่อาจจะยังไม่เห็นผลทันทีเพราะยังมีนโยบายตรึงค่าไฟฟ้าถึงสิงหาคม 2553 ซึ่งคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (เรกูเลเตอร์) จะพิจารณาความเหมาะสมว่าควรปรับเพิ่มค่าเอฟทีเมื่อไหร่และอย่างไร |
. |
สำหรับภาระค่าเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 400 ล้านบาท คิดเป็นค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ(เอฟที) 1 สตางค์ต่อหน่วย ดังนั้นภาระต้นทุนค่าเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้นในครั้งนี้ 1.8 พันล้านบาท ก็จะทำให้ค่าเอฟทีปรับขึ้นประมาณ 4-5 สตางค์ต่อหน่วย |
. |
นายณอคุณ สิทธิพงศ์ รองปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า กระทรวงพลังงานได้ตั้งคณะทำงานจัดทำแผนรองรับสภาวะวิกฤตด้านพลังงานไฟฟ้า ซึ่งมีนายวีระพล จิระประดิษฐกุล ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน(สนพ.)เป็นประธาน เพื่อซักซ้อมแผนฉุกเฉินจากกรณีก๊าซฯพม่าหยุดจ่าย เนื่องจากที่ผ่านมายอมรับว่าการที่ก๊าซฯพม่าหยุดจ่ายทำให้เกิดปัญหาก๊าซฯขาดถือเป็นวิกฤต |
. |
ขณะเดียวกันก็จะบริการจัดการในส่วนของโรงแยกก๊าซฯเพื่อรองรับจากกรณีก๊าซฯพม่าหยุดจ่าย ซึ่งโรงแยกก๊าซฯหน่วยที่1 กำลังการผลิต 150 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน มีแผนที่จะหยุดซ่อมบำรุงประจำปีอยู่แล้วในช่วงกลางปี กระทรวงพลังงานก็เลยขอให้เลื่อนแผนหยุดซ่อมมาให้ตรงกับช่วงที่ก๊าซฯพม่าหยุดจ่าย ซึ่งจะทำให้ก๊าซฯที่จะต้องเข้าระบบเปลี่ยนมาใช้เพื่อผลิตไฟฟ้าแทน |
. |
สำหรับแหล่งก๊าซธรรมชาติทั้ง 8 แหล่งจากอ่าวไทยที่จะเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อรองรับในช่วงที่พม่าหยุดจ่ายก๊าซฯได้แก่ แหล่งเชฟรอน บงกช อาทิตย์ เบญจมาศ ทานตะวัน ไพลิน แหล่งเจดีเอ เอ18 และแหล่งเจดีเอ บี18 ที่เริ่มเข้าระบบเมื่อช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา |
. |
นายคุรุจิต นาครทรรพ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กล่าวว่า แหล่งก๊าซธรรมชาติมูด้าและเจงก้าในพื้นที่คาบเกี่ยวไทย-มาเลเซีย (เจดีเอ) แปลงที่ บี17 ได้เริ่มจ่ายก๊าซธรรมชาติตามสัญญาเป็นครั้งแรกให้กับประเทศไทย เมื่อช่วงต้นเดือนก.พ.นี้ ปริมาณ 135 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน |
. |
และภายใน 90 วันข้างหน้าจะต้องเพิ่มอัตราการผลิตเป็น 270 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันตามสัญญา ซึ่งปัจจุบันแหล่งเจดีเอมีการจ่ายก๊าซฯเข้าระบบแล้วในบล็อก เอ18 และเมื่อรวมกับแหล่ง บี17 ทำให้มีก๊าซฯเข้าระบบรวมประมาณ 600 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และจะเพิ่มเป็นประมาณ 750 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เมื่อแหล่ง บี17 ผลิตได้เต็มกำลังการผลิต |
. |
ที่มา : สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน |