สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ และหน่วยงานเครือข่าย สานต่อโครงการ Productivity Facilitator มุ่งเพิ่มผลิตภาพอุตสาหกรรมไทยอย่างต่อเนื่อง |
. |
สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ในการกำกับดูแลของกระทรวงอุตสาหกรรม จัดพิธีเปิดและลงนามความร่วมมือ (MOU) โครงการ “สร้างบุคลากรด้านการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพภายในองค์กร (Productivity Facilitator) ปี 2553 ระหว่างสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ |
. |
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบันกองทุนเพื่อพัฒนาตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และระหว่างสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ กับ 20 องค์กรที่เข้าร่วมโครงการ โดยได้รับเกียรติจากนายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดโครงการ ณ โรงแรมสยามซิตี้ กรุงเทพฯ |
. |
สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ได้รับมอบหมายจากสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ให้ดำเนินโครงการ “สร้างบุคลากรด้านการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพภายในองค์กร (Productivity Facilitator)” ภายใต้ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมตามนโยบายการเพิ่มประสิทธิภาพ และผลิตภาพ (Productivity) ตั้งแต่ปี 2551 สำหรับปีงบประมาณ 2553 |
. |
โดยสถาบันได้คัดเลือกองค์กรจาก 4 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน และ อุตสาหกรรมยางแปรรูปและอื่นๆ รวม 20 องค์กร จาก 90 องค์กรที่สมัครเข้าร่วมโครงการทั่วประเทศ |
. |
นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า “โครงการนี้เป็นโครงการที่ตอบสนองยุทธศาสตร์ของกระทรวงอุตสาหกรรมในด้านการปรับปรุงโครงสร้างการผลิต และยกระดับเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลิตภาพในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งมีเป้าหมายที่จะให้ภาคอุตสาหกรรมมีผลิตภาพสูงขึ้น |
. |
และมีการใช้ความรู้และเทคโนโลยีในระดับที่สูงขึ้นด้วยการพัฒนาความรู้และทักษะของบุคลากรในภาคอุตสาหกรรมให้มีความพร้อมปฏิบัติงานในยุคโลกาภิวัตน์อยู่ในระดับที่แข่งขันได้ และสนับสนุนการเพิ่มความรู้ ความสามารถด้านการบริหารจัดการให้แก่ผู้บริหารในสถานประกอบการ และสนับสนุนกิจกรรมสร้างเครือข่ายในภาคเอกชน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสถานประกอบการ” |
. |
นายจำลักษณ์ ขุนพลแก้ว ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมการเพิ่มผลผลิต สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ กล่าวว่า “นับเป็นปีที่ 3 แล้ว ที่สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ได้รับมอบหมายจากสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ให้ดำเนินโครงการ “สร้างบุคลากรด้านการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพภายในองค์กร (Productivity Facilitator)” |
. |
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างบุคลากรที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ ฝึกฝนทักษะ และสื่อสารกระตุ้นให้เกิดการปรับปรุงองค์กรภายในเอง แทนการพึ่งพาที่ปรึกษาจากภายนอกเท่านั้น เพราะหัวใจสำคัญของความเข้มแข็งที่ยั่งยืนขององค์กร คือ การมีบุคลากรที่มีความรู้ในการปรับปรุงพัฒนา และสามารถสร้างคุณค่าให้กับองค์กร” |
. |
“โดยโครงการนี้จะประกอบด้วยกิจกรรมหลักของโครงการ 3 ส่วน คือ 1. การฝึกอบรม และให้คำปรึกษาแนะนำ โดยทีมวิทยากรที่ปรึกษาจากสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ และหน่วยงานร่วม ได้แก่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ตลาดทุน สถาบันกองทุนเพื่อพัฒนาตลาดทุนตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย |
. |
2. การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์รณรงค์ส่งเสริมการเพิ่มผลิตภาพในรูปแบบต่างๆ และ 3. การจัดงานสัมมนาและนิทรรศการวิชาการ เพื่อเผยแพร่ผลงานและถ่ายทอดประสบการณ์ขององค์กรที่เข้าร่วมโครงการ นอกจากนี้ยังมีการประกวดผลงานการสร้างสรรค์สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาสื่อเพื่อการเรียนรู้ภายในองค์กร และการประกวดรางวัลผู้บริหารองค์กร นักส่งเสริม และทีมงานส่งเสริมดีเด่นอีกด้วย” นายจำลักษณ์ กล่าว |
. |
ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมการเพิ่มผลผลิต สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ เผยถึงผลการดำเนินโครงการในปี 2552 ว่า “ผลการดำเนินโครงการในปีที่ผ่านมา ได้รับความสำเร็จเป็นอย่างสูง มีผลการปรับปรุงและส่งเสริมการเพิ่มผลิตภาพ ของทั้ง 20 องค์กร ดังนี้ |
. |
สามารถลดต้นทุน และมีโอกาสสร้างรายได้ถึง 119,500,000 บาท / ปี |
. |
มีอัตราการเพิ่มขึ้นของประสิทธิภาพการสื่อสารภายในองค์กร เฉลี่ยสูงถึง 89% |
. |
อีกทั้ง พนักงานยังเห็นคุณค่าของตนเอง เกิดความภูมิใจในความสำเร็จจากผลงานการมีส่วนร่วมในการปรับปรุง มีความรู้สึกผูกพันและรักองค์กรมากขึ้น เพราะได้รับการยอมรับยกย่องชมเชยจากการมีส่วนร่วมคิดร่วมปรับปรุง ซึ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ” |
. |
นอกจากพิธีเปิดโครงการ และพิธีลงนามความร่วมมือ (MOU) ยังมีการสัมมนาในหัวข้อ “บทบาทผู้นำองค์กรกับการเพิ่มผลิตภาพ” เพื่อให้ผู้บริหารขององค์กรที่เข้าร่วมโครงการทราบถึงบทบาท กรอบระยะเวลาและกิจกรรมภายใต้โครงการ |
. |
พร้อมการบรรยายในหัวข้อ “Happy Workplace เพื่อคุณภาพชีวิตคนทำงาน” โดย นายแพทย์ชาญวิทย์ วสันต์ธนารัตน์ ผู้อำนวยการแผนงานสุขภาวะองค์กรภาคเอกชน (สสส.), หัวข้อ “โครงการส่งเสริมการออมและการบริหารเงินส่วนบุคคล” |
. |
โดย ดร.กฤษฎา เสกตระกูล ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาความรู้ผู้ประกอบวิชาชีพหลักทรัพย์ และฝ่ายพัฒนาความรู้ผู้ลงทุน ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศ พร้อมด้วยคุณจิราพร คูสุวรรณ ที่ปรึกษา และหัวข้อ “ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความต่อเนื่องในการดำเนินกิจกรรมการเพิ่มผลิตภาพขององค์กร” โดย คุณนันทพร อังอติชาติ ผู้จัดการส่วนวิจัย สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ |