เนื้อหาวันที่ : 2010-02-22 10:07:12 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1595 views

ออราเคิลเปิดกลยุทธ์ Cloud Computing บุกตลาดไทย

ออราเคิลเปิดกลยุทธ์ Cloud Computing บุกตลาดไทย ชูจุเด่นลดค่าใช้จ่าย มีความยืดหยุ่นในการใช้งานสูง และเรียกใช้บริการได้ตามความต้องการ

ออราเคิลเปิดกลยุทธ์ Cloud Computing บุกตลาดไทย ชูจุเด่นลดค่าใช้จ่าย มีความยืดหยุ่นในการใช้งานสูง และเรียกใช้บริการได้ตามความต้องการ 

.

.

ออราเคิลเน้นความเป็นผู้นำเทคโนโลยีปัจจุบัน แนะองค์กรควรมีความยืดหยุ่น ลดค่าใช้จ่ายแต่ให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูลได้ตามต้องการอย่างปลอดภัย เทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้งเป็นสิ่งที่ผู้บริหารควรพิจารณาและให้ความสำคัญในภาวะที่องค์กรต้องมีความคล่องตัวสูงสุดและมีค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด

.

ออราเคิลจัดหาเทคโนโลยีเพื่อช่วยให้ลูกค้าสร้างระบบคลาวด์ส่วนตัว รวมทั้งรันแอพพลิเคชั่นของออราเคิลในระบบคลาวด์สาธารณะ นอกจากนี้ยังนำเสนอแอพพลิเคชั่นต่างๆ ในรูปแบบของบริการ SaaS และจัดหาเทคโนโลยีของออราเคิลเพื่อรองรับผู้ให้บริการคลาวด์รายอื่นๆ

.
ระบบคลาวด์คอมพิวติ้งในทางปฏิบัติ

· นายณัฐศักดิ์ โรจนพิเชฐ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ออราเคิล คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด อธิบายให้ฟังถึงคุณประโยชน์ต่างๆ ที่จะได้รับจากระบบคลาวด์คอมพิวติ้งว่า “ด้วยค่าใช้จ่ายต่ำกว่า ความยืดหยุ่นสูงกว่า และการเข้าถึงทรัพยากรได้ตามความต้องการ ทั้งหมดนี้คือข้อดีที่ทำให้ระบบคลาวด์คอมพิวติ้งได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง พร้อมทั้งลดความเสี่ยงด้านความปลอดภัย การปฏิบัติตามกฎระเบียบ และคุณภาพของบริการ”

.

· “ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา คลาวด์คอมพิวติ้งได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางจากองค์กรต่างๆ ความสามารถในการเข้าใช้แหล่งทรัพยากรด้านการประมวลผลแบบออนดีมานด์ที่ใช้งานร่วมกัน ถือเป็นคุณสมบัติที่น่าสนใจอย่างยิ่งสำหรับฝ่ายไอทีที่ได้รับงบประมาณอย่างจำกัดและได้รับแรงกดดันให้ปรับปรุงบริการและลดค่าใช้จ่ายควบคู่กันไป” นายณัฐศักดิ์กล่าวเพิ่มเติม

.

· แง่มุมที่น่าสนใจของคลาวด์คอมพิวติ้งก็คือ เทคโนโลยีนี้ช่วยเพิ่มความคล่องตัวและลดค่าใช้จ่ายอย่างเป็นรูปธรรม โดยจะช่วยให้องค์กรสามารถเข้าใช้ทรัพยากรการประมวลผลได้อย่างรวดเร็วทันทีที่ต้องการในรูปแบบของการบริการตนเองและการคิดค่าบริการตามปริมาณการใช้งานจริง ทรัพยากรการประมวลผลเหล่านี้สามารถขยายและเชื่อมโยงเข้ากับเครือข่ายวงจรธุรกิจ ลูกค้าจึงไม่ต้องลงทุนมากเกินความจำเป็น

.

· ส่วนประกอบของระบบคลาวด์คอมพิวติ้งเกี่ยวข้องกับสถาปัตยกรรมฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่รองรับการใช้ทรัพยากรร่วมกัน เช่น ระบบคลัสเตอร์ ระบบเวอร์ช่วลไลเซชั่น และการจัดสรรทรัพยากรแบบไดนามิก ระบบคลาวด์นับเป็นพัฒนาการของเทคโนโลยีต่างๆ ที่ได้รับความไว้วางใจอย่างกว้างขวาง

.

ไม่ว่าจะเป็นกริดคอมพิวติ้ง, เวอร์ช่วลไลเซชั่น, บริการร่วม และระบบการจัดการ ดาต้าเซ็นเตอร์หลายแห่งปรับใช้ความสามารถเหล่านี้ พร้อมทั้งขยายไปสู่รูปแบบคลาวด์ ด้วยการเพิ่มเติมการบริการตนเอง การปรับขนาดแบบอัตโนมัติ และการคิดค่าใช้จ่าย

.

· ออราเคิลนำเสนอเทคโนโลยีกริดคอมพิวติ้งที่ครบถ้วนสมบูรณ์มากที่สุด ตั้งแต่แอพพลิเคชั่นไปจนถึงดิสก์ ซึ่งจะช่วยให้ดาต้าเซ็นเตอร์ระดับองค์กรสามารถพัฒนาจนกลายเป็นผู้ให้บริการคลาวด์ส่วนตัวที่ให้บริการไอทีที่ปลอดภัยและมีคุณภาพสูง สามารถปรับขนาดได้อย่างง่ายดาย และสอดคล้องตามนโยบายขององค์กรและกฎระเบียบต่างๆ

.
ระบบคลาวด์สาธารณะ ส่วนตัว และผสมผสาน

· โดยทั่วไปแล้ว คลาวด์คอมพิวติ้งแบ่งระดับบริการเป็นสามระดับได้แก่ ซอฟต์แวร์ในรูปแบบของบริการ (Software as a Service) ซึ่งมีการจัดหาแอพพลิเคชั่นแบบครบวงจรในรูปแบบของบริการให้แก่ผู้ใช้, แพลตฟอร์มในรูปแบบของบริการ (Platform as a Service)

.

ซึ่งมีการจัดหาแพลตฟอร์มสำหรับการพัฒนาและปรับใช้แอพพลิเคชั่นในรูปแบบของบริการ และโครงสร้างพื้นฐานในรูปแบบของบริการ (Infrastructure as a Service) ซึ่งมีการจัดหาฮาร์ดแวร์สำหรับเซิร์ฟเวอร์ สตอเรจ และเครือข่าย รวมถึงระบบปฏิบัติการที่เกี่ยวข้อง และซอฟต์แวร์เวอร์ช่วลไลเซชั่น ในรูปแบบของบริการ

.

· บริการเหล่านี้อาจอยู่ในรูปแบบของระบบคลาวด์สาธารณะ (Public Cloud), ระบบคลาวด์ส่วนตัว (Private Cloud) หรือระบบคลาวด์แบบผสมผสาน (Hybrid Cloud) ทั้งนี้ ในระบบคลาวด์สาธารณะ ลูกค้าหลายรายใช้ทรัพยากรด้านการประมวลผลร่วมกันโดยผ่านทางผู้ให้บริการ    

.

ลูกค้าจะสามารถเข้าถึงทรัพยากรดังกล่าวได้อย่างรวดเร็วและเสียค่าใช้จ่ายสำหรับทรัพยากรที่ใช้งานจริงเท่านั้น โดยลงรายการบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน รูปแบบนี้รองรับการปรับขนาดได้อย่างยืดหยุ่น

.

ดังนั้นจึงสามารถเพิ่มเติมทรัพยากรได้ทันทีเมื่อต้องการใช้ และจากนั้นก็ปรับลดลงเมื่อไม่จำเป็นต้องใช้อีกต่อไป แม้ว่าระบบคลาวด์สาธารณะจะมีข้อดีหลายประการ แต่ก็มีประเด็นปัญหาเรื่องความปลอดภัย ความสอดคล้องตามกฎระเบียบ และคุณภาพของบริการ เนื่องจากข้อมูลถูกโฮสต์โดยองค์กรอื่น   

.

ดังนั้นจึงเท่ากับว่าลูกค้าไว้วางใจให้ผู้ให้บริการทำหน้าที่เก็บรักษาข้อมูลให้ปลอดภัย ปราศจากการสูญหายหรือการเข้าถึงอย่างไม่เหมาะสม ทั้งยังต้องเป็นไปตามกฎระเบียบเรื่องการจัดเก็บและการค้นหาข้อมูล และรองรับบริการที่ต่อเนื่องและรวดเร็วผ่านทางเครือข่าย

.

· ในระบบคลาวด์ส่วนตัว ทรัพยากรการประมวลผลถูกใช้งานโดยองค์กรเดียวเท่านั้น และอยู่ภายใต้การควบคุมขององค์กรนั้นโดยตรง โดยทั่วไปแล้ว ระบบคลาวด์ส่วนตัวถูกติดตั้งไว้ภายในดาต้าเซ็นเตอร์ขององค์กร และได้รับการบริหารจัดการโดยบุคลากรภายในองค์กร แต่ในบางกรณีอาจได้รับการจัดการโดยผู้ให้บริการ  

.

ซึ่งกรณีดังกล่าวจะเรียกว่าระบบคลาวส่วนตัวแบบเวอร์ช่วล (Virtual Private Cloud) ประโยชน์ที่สำคัญของรูปแบบนี้ก็คือ องค์กรยังคงสามารถควบคุมความปลอดภัย การปฏิบัติตามกฎระเบียบ และคุณภาพของบริการ

.

· ระบบคลาวด์แบบผสมผสานประกอบด้วยระบบคลาวด์สาธารณะและระบบคลาวด์ส่วนตัวสำหรับแอพพลิเคชั่นเดียว โดยจำเป็นที่จะต้องมีการทำงานร่วมกันระหว่างระบบคลาวด์ต่างๆ รวมถึงความสามารถในการจัดการระบบคลาวด์ทั้งสองแบบอย่างกลมกลืน

.

ซึ่งจะช่วยให้องค์กรสามารถรองรับเวิร์กโหลดได้อย่างมีเสถียรภาพในระบบคลาวด์ส่วนตัว และในกรณีที่เวิร์กโหลดเพิ่มขึ้นสูงสุด ก็สามารถขยายไปสู่ระบบคลาวด์สาธารณะ แล้วจากนั้นก็ส่งคืนทรัพยากรสาธารณะเมื่อไม่ต้องการใช้งานอีกต่อไป

.
การพัฒนาไปสู่คลาวด์

· มีหลายสิ่งหลายอย่างที่คุณควรจะระลึกไว้เมื่อเปลี่ยนย้ายไปใช้รูปแบบคลาวด์ รวมถึงคุณลักษณะของระบบคลาวด์นั้นๆ และประเด็นเรื่องโครงสร้างองค์กรและวัฒนธรรม ซึ่งอาจกลายเป็นอุปสรรคขัดขวางการปรับใช้สถาปัตยกรรมใหม่ๆ ในอนาคต

.

· กรอบโครงสร้างสถาปัตยกรรมขององค์กร (Enterprise Architecture Framework) มีประโยชน์อย่างมากสำหรับการประเมินและออกแบบโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ที่จะรองรับเป้าหมายทางธุรกิจทั้งในปัจจุบันและอนาคต

.

กรอบโครงสร้างดังกล่าวจะช่วยให้ผู้ออกแบบระบบสามารถกำหนดวิสัยทัศน์ในเรื่องสถาปัตยกรรม วิเคราะห์ระบบและการออกแบบสถาปัตยกรรมด้านเทคนิค และกำหนดแผนงานโดยรวมซึ่งครอบคลุมเรื่องการวางแผน การบริหารองค์กร และการจัดการความเปลี่ยนแปลง