1. กระทรวงการคลังสรุปยอดลงทะเบียนหนี้นอกระบบเฉลี่ยรายละ 1 แสนบาท |
- กระทรวงการคลังเปิดเผยว่าได้ติดตามผลการช่วยเหลือลูกหนี้นอกระบบล่าสุดหลังจากปิดรับลงทะเบียนสิ้นเดือน ม.ค. 2553 ซึ่งจากการคัดแยกลูกหนี้ของกรมบัญชีกลาง พบว่ามีลูกหนี้ 1,195,481 ราย มูลหนี้รวม 122,859 ล้านบาท โดยเฉลี่ยรายละ 103,000 บาท |
. |
- สศค. วิเคราะห์ว่า นโยบายแก้ปัญหาหนี้นอกระบบผ่านธนาคารรัฐ 6 แห่ง มีเป้าหมายเปิดโอกาสเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินกู้ในระบบสถาบันการเงินของรัฐที่มีเงื่อนไขยุติธรรมมากกว่า เพื่อให้มีเงินเหลือเพียงพอสำหรับใช้จ่ายจำเป็นหรือมีเงินเหลือออม |
. |
โดยจะเป็นการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบผ่านธนาคารของรัฐ 6 แห่ง ซึ่งจะเปิดโอกาสให้ลูกหนี้นอกระบบสามารถเปลี่ยนมาใช้เงินกู้ของธนาคารของรัฐ ทั้งนี้ ภาระจากดอกเบี้ยจากหนี้นอกระบบมีอัตราสูงถึงร้อยละ 5-10 ต่อเดือน เทียบกับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารออมสินที่กำหนดไว้ต่ำกว่าอยู่ร้อยละ 0.5 ต่อเดือน สำหรับวงเงินต่ำกว่า 3 หมื่นบาท และอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.75 ต่อเดือน สำหรับวงเงิน 3 หมื่น -1 แสนบาท |
. |
2. แผนพัฒนาพลังงาน PDP 2010 เสนอโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 5 แห่ง |
- กระทรวงพลังงาน เปิดเผยภายหลังงานสัมมนา ร่างแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ.2553-2573 (PDP2010) ว่า ได้มีการกำหนด แผนกำลังผลิตไฟฟ้าเพื่อรองรับใน 20 ปีข้างหน้า โดยกำหนดให้มีโรงไฟฟ้าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 5 แห่ง หรือคิดเป็นกำลังการผลิตไฟฟ้ารวม 5 พันเมกกะวัต |
. |
โดยยืนยันที่จะให้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เป็นโรงไฟฟ้าฐาน เพื่อทำให้ระบบไฟฟ้ามั่นคง อย่างไรก็ตาม จะมีการเปิดรับฟังความเห็นในกลุ่มย่อย1-2 ครั้ง ก่อนที่จะสรุปรายละเอียด และนำเสนอรายละเอียดทั้งหมดเข้าคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) และครม.อนุมัติต่อไป |
. |
- สศค. วิเคราะห์ว่า ปัจจุบันประเทศไทยพึ่งพาการใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นแหล่งพลังงานในการผลิตไฟฟ้ามากถึงร้อยละ 71 ซึ่งจะเป็นความเสี่ยงต่อการพัฒนาประเทศหากเกิดการขาดแคลนขึ้นในอนาคต แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าจึงมีการกำหนดให้มีการใช้พลังงานในรูปแบบอื่นๆทดแทนทั้งถ่านหินและนิวเคลียร์ เพื่อให้สามารถรองรับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจได้อย่างพอเพียง |
. |
ทั้งนี้ ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนและปลดปล่อยมลพิษสูง ประกอบกับมีต้นทุนการผลิตไฟฟ้าสูงที่ 2.5 บาท/หน่วย ขณะที่นิวเคลียร์ไม่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และมีต้นทุนต่ำกว่าที่ 2.08 บาท/หน่วย |
. |
3. ประเทศจีนลดการถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ |
- สำนักข่าว Financial Times รายงานว่า ในเดือน ธ.ค. 52 การถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐโดยต่างชาติลดลงเป็นประวัติการณ์ โดยประเทศจีนได้มีการขายพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐสุทธิ 34.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งสะท้อนความไม่เชื่อมั่นต่อการถือครองทรัพย์สินสกุลเงินสหรัฐของนักลงทุนต่างประเทศ |
. |
ทำให้ญี่ปุ่นถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐสูงสุดจำนวน 768.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้ ความต้องการถือครองพันธบัตรสหรัฐของนักลงทุนต่างชาติที่ลดลงจะทำให้ต้นทุนทางการเงินของรัฐบาลสหรัฐสูงขึ้นในอนาคต และทำให้รัฐบาลอื่นๆ เช่น ญี่ปุ่นและอังกฤษต้องเพิ่มการถือครองพันธบัตรสหรัฐแทน |
. |
- สศค. วิเคราะห์ว่า สถานการณ์ดังกล่าวสะท้อนความอิ่มตัวของการถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐของประเทศจีน ซึ่งในปัจจุบันจีนถือครองพันธบัตรสหรัฐกว่า 755.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ เป็นอันดับ 2 ของนักลงทุนต่างชาติที่ถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ รองจากญี่ปุ่น ทั้งนี้ สะท้อนความไม่เชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่รัฐบาลสหรัฐฯมีภาระหนี้ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเท่ากับร้อยละ 65.2 ของ GDP ในปัจจุบัน |
. |
อีกทั้งรัฐบาลสหรัฐฯ จะขาดดุลงบประมาณอีกร้อยละ 7.0 ในปี 53 ทั้งนี้ ผลกระทบที่เกิดขึ้นอาจทำให้ค่าเงินเหรียญสหรัฐปรับตัวลดลงต่อเนื่อง เกิดความผันผวนในตลาดพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ และทำให้แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งจะกระทบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ ได้ |
. |
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง |