นายณอคุณ สิทธิพงศ์ รองปลัดกระทรวงพลังงาน ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการพิจารณาปรับปรุงแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย เปิดเผยว่า เพื่อเป็นการดำเนินงานตามนโยบายการจัดทำแผน PDP 2010 ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานซึ่งให้ความสำคัญในการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนได้เข้ามามีส่วนร่วมในขั้นตอนการปรับปรุงแผน PDP จึงจัดให้มีการสัมมนารับฟังความคิดเห็นกลุ่มย่อย |
. |
เรื่อง สมมติฐานร่างแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2553-2573 (PDP 2010) ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2553 ที่ผ่านมา เพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อสมมติฐานที่จะนำไปประกอบการจัดทำร่างแผน PDP 2010 โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ นักวิชาการ กลุ่ม NGO และสื่อมวลชนเข้าร่วมการสัมมนาดังกล่าว |
. |
ทั้งนี้ ความเห็นและข้อเสนอแนะต่อสมมติฐานดังกล่าวได้มีการนำเสนอต่อคณะอนุกรรมการพิจารณาปรับปรุงแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย เพื่อประกอบการพิจารณาปรับปรุงร่างแผน PDP 2010 แล้วเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2553 ซึ่งคณะอนุกรรมการฯ ได้พิจารณาปรับปรุงสมมติฐานบางประเด็นให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้นแล้ว |
. |
แต่เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนมากยิ่งขึ้น คณะอนุกรรมการฯ จึงได้จัดให้มีการสัมมนารับฟังความคิดเห็นขึ้นอีกครั้ง เรื่อง “ร่างแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2553-2573 (PDP 2010)” เมื่อวานนี้ (วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2553) เพื่อนำความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อสมมติฐานและภาพรวมร่างแผน PDP 2010 ไปพิจารณาร่างแผน PDP 2010 ซึ่งเป็นแผนจัดหาไฟฟ้าในระยะยาว 20 ปี ของคณะอนุกรรมการฯ ก่อนนำเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติต่อไป |
. |
สำหรับร่างแผน PDP 2010 ให้ความสำคัญใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ |
1.ความมั่นคงของระบบไฟฟ้าของประเทศไทย คือ ต้องมีกำลังผลิตไฟฟ้าสำรองที่เหมาะสม และการกำหนดสัดส่วนการรับซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านเพื่อกระจายความเสี่ยง ลดการพึ่งพาก๊าซธรรมชาติ |
. |
2.การพัฒนาพลังงานสะอาดและการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน โดยจะมีการพิจารณาทั้งเรื่องโครงการจัดการด้านการใช้พลังงาน (Demand Side Management : DSM) การพัฒนาพลังงานหมุนเวียนให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาพลังงานทดแทน 15 ปี ของกระทรวงพลังงาน การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานโดยการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพด้วยระบบผลิตไฟฟ้าและความร้อนร่วม (Cogeneration) ตามนโยบายของรัฐ การลดปริมาณ CO2 emission จากภาคการผลิตไฟฟ้าในอนาคต |
. |
3.ค่าพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าต้องสอดคล้องกับสภาวเศรษฐกิจของประเทศ |