1. เอกชนเร่งรัฐบาลใช้มาตรการภาษีที่ดินและมรดก |
- ดร. โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย กล่าวว่า ก่อนที่รัฐบาลจะเปิดกว้างมาตรการขยายสัดส่วนคอนโดฯที่ต่างชาติสามารถซื้อได้ เพิ่มทั่วประเทศไม่จัดโซนนิ่งนั้น รัฐบาลควรดำเนินการด้านมาตรการภาษี รวมทั้งระบบฐานข้อมูลต่างชาติ เพื่อให้มีการดำเนินการที่เป็นสากลก่อนที่จะให้ต่างชาติมาครอบครองอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยได้ |
. |
- สศค. วิเคราะห์ว่า ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และภาษีมรดกถือเป็นภาษีทรัพย์สิน (Property taxes) ที่จะช่วยสร้างความเป็นธรรมมากขึ้น ทั้งนี้ ประเทศที่พัฒนาแล้วได้นำภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และภาษีมรดกมาใช้ |
. |
เช่น ในสหรัฐอเมริกา อัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างอยู่ที่ร้อยละ 1-2 ของมูลค่าทรัพย์สินและอัตราภาษีการโอนบ้านและที่ดินให้ทายาทอยู่ที่ร้อยละ 20-45 ของมูลค่าบ้านและที่ดิน อย่างไรก็ตาม ในบางรัฐไม่มีภาษีมรดก แต่มีภาษีที่คล้ายคลึงกันคือ ภาษีของการเพิ่มขึ้นของราคา (Capital Gain Tax) ที่จัดเก็บบนส่วนต่างระหว่างราคาขณะที่ซื้อมากับราคาที่เพิ่มขึ้นขณะที่โดน |
. |
ทั้งนี้ ในกรณีของประเทศไทย ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะนำมาใช้แทนภาษีโรงเรือนและที่ดิน และภาษีบำรุงท้องที่ในปัจจุบัน โดยจะเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และภาษีมรดกอยู่ระหว่างการพิจารณาความเหมาะสมเพื่อนำภาษีนี้มาใช้ในประเทศไทย |
. |
2. BOI ปลื้มยอดส่งเสริมการลงทุนเดือน ม.ค. 53 ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 126.6 ต่อปี |
- สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) กล่าวว่า ยอดอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุนในเดือน ม.ค. 53 มีจำนวนทั้งสิ้น 111 ราย เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 126.6 ต่อปี คิดเป็นมูลค่าเงินลงทุน 36.3 หมื่นล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีเพียง 49 โครงการ ในขณะที่ยอดขอรับการส่งเสริมการลงทุนมีจำนวน 94 โครงการ ขยายตัวร้อยละ 46.9 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มี 64 โครงการ คิดเป็นมูลค่าเงินลงทุน 5.64 หมื่นล้านบาท |
. |
- สศค. วิเคราะห์ว่า โดยยอดอนุมัติการส่งเสริมการลงทุน(BOI) ในเดือน ม.ค. 53 ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ที่มีมูลค่าการลงทุนมากกว่า 1,000 ล้านบาท (ร้อยละ 22.5) ก่อให้เกิดการจ้างงานมากว่า 1.78 หมื่นคน และอยู่ในสาขาบริการและโครงสร้างพื้นฐาน (ร้อยละ 19.0) เป็นหลัก |
. |
โดยพื้นที่ส่วนใหญ่ที่ขอรับการส่งเสริมอยู่ในพื้นที่ Zone 2 เช่น พื้นที่ในจังหวัดระยอง ชลบุรี ฉะเฉิงเทรา อยุธยา และสระบุรี เป็นต้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงภาวะเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ถือได้ว่าปรับตัวดีขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าในเดือน ม.ค. 52 ที่มียอดอนุมัติการลงทุนเพียง 49 โครงการและมีเม็ดเงินลงทุนเพียง 2.8 พันล้านบาท |
. |
3. ยอดขายรถยนต์เดือนม.ค.ขยายตัวสูงสุดรอบ 7 ปี |
- บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยถึงยอดจำหน่ายรถยนต์ประจำเดือนม.ค. 53 ว่า มีปริมาณการขายทั้งสิ้น 49,560 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 54.5 ต่อปี นับเป็นการเติบโตสูงสุดในรอบกว่า 7 ปี จากภาวะเศรษฐกิจเริ่มมีสัญญาณดีขึ้น โดยเป็นการเติบโตของรถยนต์นั่งร้อยละ 53.2 ต่อปี และรถเพื่อการพาณิชย์เติบโต 55.4 ต่อปี โดยเฉพาะจากรถกระบะขนาด 1 ตัน ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่มีสัญญาณฟื้นตัวจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ |
. |
นโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับต่ำ สินค้าทางการเกษตรที่มีราคาดีขึ้น การฟื้นตัวของการส่งออก รวมถึงการแนะนำสินค้าใหม่และกิจกรรมส่งเสริมการขาย ส่งผลให้งานมอเตอร์เอ็กซ์โปในช่วงปลายปีที่ผ่านมามียอดจองสูงที่สุดและเริ่มทยอยส่งมอบรถให้แก่ลูกค้าล้วนเป็นปัจจัยบวกต่อระบบเศรษฐกิจ ตลอดจนตลาดรถยนต์ |
. |
- สศค. วิเคราะห์ว่า ยอดขายรถยนต์เดือนม.ค.53 ที่ขยายตัวสูง สอดคล้องกับปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือน ม.ค. 53 ขยายตัวเร่งขึ้นต่อเนื่องที่ร้อยละ 37.2 ต่อปี และดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมยานยนต์ในเดือน ธ.ค. 52 ที่ขยายตัวร้อยละ 27.2 ต่อปี สูงสุดครั้งแรกในรอบ 14 เดือน เช่นกัน สะท้อนถึงความเชื่อมั่นและภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ดีขึ้นอย่างชัดเจน ทั้งนี้ สศค.คาดว่าในปี 53 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวร้อยละ 3.0-4.0 ต่อปี |