อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก เผย ลิเบียเสนอจัดทำ MOU ขยายความร่วมมือทางการค้าและการลงทุนในไทย ส่วนอียิปต์เล็งใช้ไทยเป็นประตูสู่อาเซียน
อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก เผย ลิเบียเสนอจัดทำ MOU ขยายความร่วมมือทางการค้าและการลงทุนในไทย แนะอียิปต์ใช้ไทยเป็นประตูสู่อาเซียน |
. |
. |
ผลการเยือนและหารือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนลิเบียและอียิปต์ ระหว่างวันที่ 29 มกราคม – 6 กุมภาพันธ์ 2553 นำทีมโดยนางศรีรัตน์ รัษฐปานะ อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก ร่วมกับภาคเอกชน อาทิเช่น หอการค้าไทย สมาคมวิศวกรที่ปรึกษาแห่งประเทศไทย สมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย สมาคมผู้ส่งออกข้าว สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป บริษัท ปตท. (มหาชน) จำกัด เป็นต้น ทั้งสองประเทศแสดงความสนใจและยินดีให้ความร่วมมือเพื่อขยายการค้าและการลงทุนกับประเทศไทย |
. |
นางศรีรัตน์ รัษฐปานะ อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก เผยว่า การเจรจาในครั้งนี้ ได้มีการหารือร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนของลิเบียและอียิปต์ที่สำคัญ อาทิเช่น กระทรวงการค้าและการลงทุน กระทรวงการต่างประเทศ คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนและจัดงานแสดงสินค้า สภาหอการค้า ธนาคารชาติ หน่วยงานด้านพลังงาน เป็นต้น |
. |
ผลการเจรจาหารือร่วมกับฝ่ายลิเบียมีข้อสรุปว่าทั้งสองฝ่ายจะส่งเสริมการค้าและการลงทุนระหว่างกันให้มากขึ้นโดยเสนอให้มีการจัดทำบันทึกข้อตกลง(MOU) ความร่วมมือการค้าการลงทุนสองฝ่าย สร้างความต่อเนื่องของการจัดกิจกรรมการค้าและการเชื่อมความสัมพันธ์รวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลการค้าการลงทุนและการแก้ไขปัญหาอุปสรรคการค้าระหว่างกัน สำหรับผลการเจรจากับฝ่ายอียิปต์ ไทยเสนอให้อียิปต์ใช้ไทยเป็นประตูการค้าสู่ตลาดอาเซียน |
. |
ส่วนไทยจะใช้อียิปต์เป็นประตูการค้าสู่ตลาดแอฟริกา ตะวันออกกลาง และยุโรป โดยเน้นการเป็นหุ้นส่วนทางการค้าเพื่อทำการตลาดร่วมกันมากกว่าการเป็นคู่แข่งทางการค้า |
. |
“ลิเบียเป็นประเทศเปิดใหม่และอยู่ในช่วงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานประเทศโดยมีงบประมาณที่ใช้ในการพัฒนาฯ ระหว่างปี 2009-2011 จำนวนถึง 130 พันล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนั้น ลิเบียยังอยู่ในช่วงการสมัครเข้าเป็นสมาชิกองค์กรการค้าโลก (WTO) |
. |
ดังนั้น รัฐบาลลิเบียจึงมีนโยบายเปิดเสรี และพยายามปรับปรุงหลักเกณฑ์การค้าการลงทุนต่าง ๆ ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล จึงเป็นโอกาสดีสำหรับผู้ประกอบการไทยที่จะบุกขยายตลาดสินค้าและธุรกิจบริการไทย สินค้าไทยที่มีโอกาสสูงได้แก่ อาหาร ชิ้นส่วนยานยนต์ เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม ของตกแต่งบ้าน สินค้าอุปโภคบริโภค และธุรกิจบริการที่มีศักยภาพ เช่น ธุรกิจการก่อสร้าง โรงแรม และสปา เป็นต้น |
. |
ปัจจุบัน ตลาดลิเบียยังเปิดกว้างให้กับผู้ประกอบการไทยอีกมาก เนื่องจากสินค้าในตลาดส่วนใหญ่มีเพียง 2 ระดับคือระดับบนซึ่งมาจากอิตาลี และระดับล่างซึ่งมาจากจีน โดยผู้ประกอบการไทยสามารถเจาะตลาดระดับกลางถึงบนได้ ภายหลังการหารือ ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูลการค้าและร่วมกิจกรรมการค้าของทั้งสองประเทศ |
. |
โดยกรมส่งเสริมการส่งออก มีแผนเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในประเทศลิเบียได้แก่ งาน TRIPOLI INTERNATIONAL FAIR 2010 ซึ่งเป็นงานแสดงสินค้าทั่วไป กำหนดจัดระหว่างวันที่ 2-12 เมษายน 2553 และงาน LIBYA BUILD 2010 ซึ่งเป็นงานแสดงสินค้าวัสดุก่อสร้าง กำหนดจัดระหว่างวันที่ 16-20 พฤษภาคม 2553 รวมทั้งมีแผนจัดงานแสดงสินค้า THAILAND TRADE EXHIBITION ซึ่งเป็นงานแสดงสินค้าไทยโดยเฉพาะในกรุงตริโปลีด้วย |
. |
ปัจจุบัน การส่งออกสินค้าไทยไปลิเบีย มีต้นทุนการเงินที่สูง เนื่องจากผู้ส่งออกไทยต้องมีการเปิด L/C ผ่านธนาคารประเทศที่ 3 ซึ่งมีค่าบริการสูงมาก ธนาคารกลางลิเบียได้เสนอให้ธนาคารของไทยเข้ามาเจรจาตกลงกับธนาคารของลิเบีย ซึ่งกรมฯ จะนำไปหารือกับธนาคารมุสลิมและธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย เพื่อช่วยส่งเสริมการค้าการลงทุนระหว่างสองประเทศให้มากขึ้น” |
. |
ประเทศอียิปต์ มีนโยบายการค้าและการส่งเสริมการส่งออกคล้ายกับประเทศไทย ไทยควรเน้นการเป็นหุ้นส่วนทางการค้าแทนการเป็นคู่แข่ง โดยใช้อียิปต์เป็นฐานการส่งออกสินค้าไทยเข้าสู่ตลาดแอฟริกาและตะวันออกกลาง เนื่องจากอียิปต์เป็นประเทศที่เป็นศูนย์กลางการค้าและการลงทุนในภูมิภาคแอฟริกา และเชื่อมโยงภูมิภาคตะวันออกกลาง |
. |
สำหรับแนวทางการผลักดันการส่งออกสินค้าไทย จะผลักดันให้ภาคเอกชนไทยเข้าไปทำตลาดและร่วมมือทางธุรกิจกับนักลงทุนอียิปต์ เช่น อียิปต์มีการลงทุนของต่างชาติในอุตสาหกรรมรถยนต์มาก โดยตั้งเป้าหมายเป็นฐานการผลิตในแอฟริกา ประเทศไทยก็จะใช้ประโยชน์ในการผลักดันการส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ของไทย เป็นต้น |
. |
ส่วนธุรกิจบริการของไทยที่มีศักยภาพ ได้แก่ อุตสาหกรรมบันเทิง ร้านอาหารไทยรวมถึงสปา ซึ่งกรมฯ จะทำแผนเพื่อผลักดันให้นักธุรกิจไทยเข้ามาลงทุนต่อไป |
. |
ที่มา : กรมส่งเสริมการส่งออก |