1. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือน ม.ค. 53 เพิ่มมาอยู่ที่ 71.9 สูงสุดในรอบ 21 เดือน |
- ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลสำรวจความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยเดือน ม.ค. 2553 ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมในเดือนมกราคมปรับตัวดีขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 71.9 สูงสุดในรอบ 21 เดือน |
. |
- สศค. วิเคราะห์ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น เป็นผลเนื่องมาจากอัตราการว่างงานที่ลดลงและรายได้ของเกษตรกรที่เพิ่มขึ้นจากราคาผลผลิตการเกษตรในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยล่าสุด อัตราการว่างงานในเดือน ธ.ค. 52 อยู่ที่ร้อยละ 0.9 |
. |
ทั้งนี้ อัตราการว่างงานที่ลดลงและรายได้ที่เพิ่มขึ้น เป็นปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนให้การบริโภคภาคเอกชน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ 52.1 ของ GDP ปรับเพิ่มสูงขึ้นด้วย โดย สศค. คาดการณ์ว่าในปี 53 การบริโภคภาคเอกชนจะขยายตัวที่ร้อยละ 3.3 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ระหว่างร้อยละ 2.8-3.8 ต่อปี) |
. |
2. ธปท. ระบุว่าตัวเลขเศรษฐกิจไทยในเดือน ธ.ค. 52 มีแนวโน้มดีขึ้น |
- รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่าตัวเลขภาวะเศรษฐกิจไทยในเดือน ธ.ค. 52ที่ผ่านมา ชี้ให้เห็นว่ามีการปรับตัวดีขึ้นทั้งในด้านของการบริโภคในประเทศ ภาคการส่งออกภาคการผลิตที่สำคัญ ภาคการท่องเที่ยว และภาคอสังหาริมทรัพย์ อันเป็นผลมาจากมาตรกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล และมาตรการทางการเงิน |
. |
อย่างไรก็ตาม สำหรับการพิจารณาปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายนั้น ธปท. ยังต้องพิจารณาเรื่องเสถียรภาพเศรษฐกิจเป็นสำคัญ โดย ธปท.จะพิจารณาถึงความสมดุลของการดูแลอัตราเงินเฟ้อ การปรับขึ้นราคาสินค้าและการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ |
. |
- สศค. วิเคราะห์ว่า เครื่องชี้เศรษฐกิจในเดือน ธ.ค. 52 ที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าทำให้เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4 ของปี 52 ฟื้นตัวอย่างชัดเจนสะท้อนได้จากมูลค่าการส่งออกที่ขยายตัวเป็นบวกครั้งแรกในรอบปีที่ร้อยละ 11.9 ต่อปี ในขณะที่การใช้จ่ายภายในประเทศปรับตัวดีขึ้นทั้งในด้านการบริโภคและการลงทุนเช่นกัน |
. |
โดยการฟื้นตัวดังกล่าวน่าจะส่งผลให้เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4 ของปี 52 ขยายตัวไม่ต่ำกว่าร้อยละ 3.5 ต่อปีและจะส่งผลให้เศรษฐกิจไทยในปี 52 หดตัวไม่เกินร้อยละ -2.8 ต่อปี |
. |
อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอย่างต่อเนื่องอาจเป็นการสร้างแรงกดดันต่อการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระยะถัดไปได้ โดยล่าสุด อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ม.ค. 53 อยู่ที่ร้อยละ 4.1 ต่อปี ขยายตัวที่เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 0.6 ต่อเดือน |
. |
3. เยอรมนีและฝรั่งเศลจะเข้าช่วยเหลือปัญหาหนี้ของประเทศกรีซ |
- วานนี้ (11 ก.พ. 53) ในการประชุมกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปได้มีการพูดคุยในเรื่องปัญหาหนี้สาธารณะของกรีซ โดยผลที่ออกมาคือทางการเยอรมนีและฝรั่งเศสจะเข้าช่วยเหลือกรีซ |
. |
โดยอาจจะ การันตีการออกพันธบัตรของรัฐบาลกรีซเพื่อใช้ในในการระดมทุนเพื่อใช้ในการประตุ้นเศรษฐกิจต่อไป อย่างไรก็ตามการเข้าช่วยเหลือจะมีขึ้นก็ต่อเมื่อรัฐบาลกรีซสามารถแก้ปัญหาการเมืองภายในประเทศ และปรับลดแผนการใช้จ่ายของภาครัฐลง |
. |
- สศค. วิเคราะห์ว่า การที่กลุ่มสหภาพยุโรปเข้าช่วยเหลือประเทศกรีซนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็น เนื่องจากภาวะหนี้ระดับสูงของกรีซจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน ซึ่งหากปล่อยให้ปัญหาลุกลามอาจจะกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจในยุโรปโดยรวมและอาจก่อให้เกิดความผันผวนของค่าเงินยูโรได้ |
. |
สำหรับประเทศกรีซนั้น มีหนี้สาธารณะสูงถึงร้อยละ 113 ต่อจีดีพี และขาดดุลการคลังถึงร้อยละ 12.7 ต่อจีดีพี ในปี 52 ที่ผ่านมา ทำให้มีแรงกดดันให้รัฐบาลกรีซต้องลดการใช้จ่ายภาครัฐลง โดยจะต้องลดการขาดดุลการคลังให้อยู่ในกรอบที่สหภาพยุโรปกำหนดที่ร้อยละ 3.0 ต่อจีดีพีให้ได้ภายใน 3 ปี |
. |
อย่างไรก็ตามการที่เศรษฐกิจภายในประเทศกรีซยังคงอ่อนแอ โดยอัตราการว่างงานยังคงอยู่ที่ระดับสูงถึงร้อยละ 8.9 จากแรงงานรวม และขาดดุลบัญชีเดินสะพัดถึงร้อยละ 12.4 ต่อ จีดีพี ทำให้การถอนมาตรการภาครัฐอาจมีความเสี่ยงสูงที่จะกระทบต่อสภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศให้ทรุดตัวลงอีกครั้ง จึงเป็นเหตุจำเป็นที่กลุ่มสหภาพยุโรปต้องเข้ามาให้ความช่วยเหลือ |
. |
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง |