หนุนยกระดับภาคอุตฯ ผลิตสินค้าคู่สิ่งแวดล้อมป้อนตลาดโลก รับกระแสดูแลสิ่งแวดล้อม นำร่อง 5 ผลิตภัณฑ์ หวังเพิ่มขีดความสามารถเหนือคู่แข่ง
สศอ. เร่งยกระดับภาคอุตฯ ผลิตสินค้าดูแลสิ่งแวดล้อม หนุนยกระดับภาคอุตฯ ผลิตสินค้าคู่สิ่งแวดล้อมป้อนตลาดโลก นำร่อง 5 ผลิตภัณฑ์ สู่ตลาดแห่งอนาคต ติดปีกขีดความสามารถเหนือคู่แข่ง สร้างผู้บริโภคในประเทศมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น |
. |
. |
นางสุทธินีย์ พู่ผกา ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.)และรองโฆษก กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ขณะนี้ สศอ.เร่งดำเนินการศึกษา เพื่อประเมินศักยภาพอุตสาหกรรมสินค้าสิ่งแวดล้อมของไทย ภายใต้โครงการ “ศึกษากลยุทธ์การจัดทำและพัฒนาสินค้าสิ่งแวดล้อม ภายใต้กรอบการค้าระหว่างประเทศ” |
. |
โดยให้ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) เป็นที่ปรึกษา ซึ่งโครงการกำหนดแล้วเสร็จและเสนอต่อผู้บริหารของกระทรวงฯ เพื่อกำหนดเป็นนโยบายภายในสิ้นปีนี้ เบื้องต้นจะเน้นเจาะลึกลงไปใน 5 สาขาอุตสาหกรรม ได้แก่ |
. |
1. เครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น 2. ผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์ 3. เฟอร์นิเจอร์และของตกแต่ง 4. การผลิตผลิตภัณฑ์หมุนเวียนและ 5. การรีไซเคิลวัสดุวิศวกรรม เพื่อศึกษาถึงแนวโน้มในอนาคตของสินค้าสิ่งแวดล้อมของโลก และประเทศคู่ค้าสำคัญๆ ของไทย |
. |
ตลอดจนประเมินความพร้อมในการผลิตสินค้าด้านสิ่งแวดล้อมของอุตสาหกรรมไทย ซึ่งจะช่วยให้สามารถกำหนดแนวทางการพัฒนาและยกระดับภาคอุตสาหกรรมของไทย ให้ปรับตัวกับความต้องการด้านสิ่งแวดล้อมของโลกได้ |
. |
“ผลพวงจากภาวะโลกร้อน ส่งผลกระทบทำให้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง เช่น จีนเกิดภาวะอากาศหนาวเย็นมากกว่าทุกปี ดังนั้น กระแสสิ่งแวดล้อมจึงเป็นประเด็นที่ทั่วโลกให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ภาคอุตสาหกรรมก็เช่นกัน จำเป็นต้องเร่งปรับตัว โดยพัฒนาสินค้าให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งโครงการนี้จะเป็นการประเมินศักยภาพการผลิตของอุตสาหกรรมไทย เพื่อใช้ในการวางแผนการพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งแวดล้อม |
. |
โดยประเทศไทยสามารถพัฒนาสินค้าอุตสาหกรรมได้เร็วขึ้น และยังคงส่วนแบ่งการตลาดในประเทศคู่ค้าที่สำคัญๆ เช่น อียู ญี่ปุ่น เป็นต้น ซึ่งประเทศเหล่านี้ให้ความสำคัญเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างยิ่ง และมีท่าทีผลักดันให้มีการเปิดเสรีสินค้าสิ่งแวดล้อม ณ กรอบเจรจา และความร่วมมือระหว่างประเทศอย่าง WTO และ APEC” |
. |
นางสุทธินีย์ กล่าวว่า ขณะนี้ WTO กำลังอยู่ระหว่างเจรจา เปิดเสรีสินค้าสิ่งแวดล้อม ซึ่งยังไม่มีความชัดเจนมากนัก โดยเฉพาะเรื่องคำจำกัดความของสินค้าสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีการตีความที่แตกต่างกันออกไปและส่งผลให้ประเทศพัฒนาแล้ว ใช้เป็นช่องทางในการตั้งเงื่อนไขกีดกันการค้า |
. |
ซึ่งผลการศึกษาโครงการนี้จะสามารถทำให้รับทราบ ขีดความสามารถในการผลิตด้านสิ่งแวดล้อมของอุตสาหกรรมไทย มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น เพื่อนำไปใช้งานด้านการแผนพัฒนาและยกระดับภาคอุตสาหกรรมของไทย ให้สามารถปรับตัวทันต่อกระแสสิ่งแวดล้อมของโลกได้ นอกจากนี้ ยังจะช่วยชี้นำภาคอุตสาหกรรมให้เดินไปอย่างมีเป้าหมาย หน่วยงานภาครัฐ |
. |
สามารถนำไปกำหนดนโยบายการพัฒนาอย่างแม่นยำ และมีข้อมูลเชิงลึกเพื่อนำไปกำหนดท่าทีเพื่อเจรจาทางการค้ากับประเทศคู่ค้า ซึ่งจะเสริมสร้างขีดความสามารถด้านการแข่งขันของประเทศไทยให้เหนือกว่าคู่แข่งในทุกๆมิติ อีกทั้งเป็นการช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนไทย ให้ได้ใช้สินค้าที่มีคุณภาพได้มาตรฐานเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และช่วยเยียวยาภาวะโลกร้อนได้อีกทางหนึ่ง |