ก.ล.ต. ประกาศใช้หลักเกณฑ์การกำกับดูแลธุรกิจหลักทรัพย์และบุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์ที่ปรับปรุงใหม่ ซึ่งมีผลใช้บังคับในช่วงนี้ ดังนี้ |
. |
1) การให้คำแนะนำในหลักทรัพย์ของผู้ประกอบธุรกิจต่างประเทศ |
ก.ล.ต. ออกประกาศอนุญาตให้ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ต่างประเทศสามารถให้คำแนะนำในหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแก่ผู้ลงทุนไทยได้ โดยไม่ถือว่าเป็นการประกอบธุรกิจที่ปรึกษาการลงทุนหรือที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า |
. |
หากปฏิบัติตามข้อกำหนดดังนี้ กรณีการให้คำแนะนำแก่ผู้ลงทุนทั่วไป จะต้องดำเนินการผ่านบริษัทหลักทรัพย์ไทย แต่ถ้าเป็นการให้คำแนะนำแก่ผู้ลงทุนสถาบันสามารถทำได้โดยตรงโดยต้องเป็นคำแนะนำเกี่ยวกับหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีซื้อขายในต่างประเทศเท่านั้น |
. |
วัตถุประสงค์ของการอนุญาตนี้ เพื่อให้ผู้ลงทุนไทยมีแหล่งข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุนที่น่าเชื่อถือ และเป็นการเตรียมพร้อมรองรับโครงการเชื่อมโยงการซื้อขายระหว่างตลาดหลักทรัพย์ในกลุ่มประเทศอาเซียน (ASEAN linkage) ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต |
. |
2) การให้ความเห็นชอบบุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์ |
เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นและลดอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจ ก.ล.ต. ได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์โดยการยกเลิกคุณสมบัติของผู้บริหารบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ที่กำหนดให้ต้องปฏิบัติงานเต็มเวลา และอนุญาตให้ บล. สามารถแต่งตั้งผู้บริหารของ บล. อื่นเป็นผู้บริหารของตนได้ |
. |
หาก บล.มีระบบในการป้องกันมิให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ นอกจากนี้ ได้ลดระยะเวลาการพิจารณาให้ความเห็นชอบผู้บริหาร บล. ผู้จัดการกองทุน และผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน ลงเหลือ 5 วันทำการ (เดิม 30 วัน) |
. |
การปรับปรุงหลักเกณฑ์และกระบวนการทำงานในครั้งนี้ เป็นหนึ่งในโครงการ Change Programs ของ ก.ล.ต. ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของ ก.ล.ต. ให้สามารถตอบรับและยืดหยุ่นต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ อันจะเอื้ออำนวยให้เกิดนวัตกรรมในตลาดทุน และส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจ อันสอดคล้องกับวิสัยทัศน์และพันธกิจของแผนพัฒนาตลาดทุนไทย โดยหลักเกณฑ์ 2 เรื่องข้างต้นมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2553 |
. |
3) การดำรงและการคำนวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (Net Capital: NC) |
. |
ซึ่งได้แก่ หลักทรัพย์ที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกำหนดให้สมาชิกต้องดำเนินการให้ลูกค้าวางเงินสดไว้ล่วงหน้าเต็มจำนวนก่อนที่จะซื้อ (cash balance) ให้มีค่าความเสี่ยงในอัตรา 1.5 เท่าของอัตราปกติ และหากเข้าเกณฑ์การกระจุกตัวให้คำนวณในอัตรา 2 เท่าของอัตราปกติ |
. |
ทั้งนี้ เพื่อให้การกำกับดูแลฐานะการเงินของ บล. มีความรัดกุมมากขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดความเชื่อมั่นต่อระบบและตลาดทุนโดยรวม หลักเกณฑ์ที่ปรับปรุงนี้จะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2553 เพื่อให้ บล. มีเวลาเตรียมความพร้อมที่จะปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว |