วิกฤตการณ์ทางการเงินที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงได้กลายมาเป็นแรงกระตุ้นให้รัฐบาลในหลาย ๆ ประเทศต้องหามาตรการรับมือ หนึ่งในมาตรการทั้งหลายเหล่านั้นคือระบบประกันเงินฝาก
หลักการสำคัญของระบบประกันเงินฝากที่มีประสิทธิภาพ (Core Principles for Effective Deposit Insurance Systems) |
. |
โดยสถาบันคุ้มครองเงินฝาก |
. |
. |
การประกันเงินฝากเป็นระบบที่รัฐบาลสร้างขึ้นเพื่อให้ความคุ้มครองแก่ผู้ฝากเงินให้สถาบันการเงินโดยเฉพาะผู้ฝากรายย่อยซึ่งไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารทางการเงินได้อย่างเพียงพอ ในกรณีที่สถาบันการเงินซึ่งอยู่ภายใต้ความคุ้มครองประสบปัญหาและถูกปิดกิจการ |
. |
ระบบประกันเงินฝากจะทำหน้าที่จ่ายเงินคืนผู้ฝากภายในวงเงินและระยะเวลาที่กำหนด อันจะช่วยบรรเทาความตื่นตระหนกของผู้ฝากเงิน ซึ่งนำไปสู่การเสริมสร้างเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงิน นอกจากนี้ ระบบประกันเงินฝากยังลดภาระของภาครัฐในการเข้าแทรกแซงหรือช่วยเหลือสถาบันการเงินที่ประสบปัญหา |
. |
จุดเริ่มต้นของการนำระบบประกันเงินฝากมาใช้ในประเทศต่าง ๆ มักเกิดจากการที่ประเทศประสบวิกฤตการณ์ทางการเงินอย่างรุนแรง จึงต้องมีการจัดตั้งสถาบันประกันเงินฝากขึ้นเพื่อเสริมสร้างความมั่นใจให้กับผู้ฝาก โดยการรับประกันว่าจะจ่ายคืนเงินจำนวนหนึ่งแก่ผู้ฝากในกรณีที่สถาบันการเงินประสบปัญหาและต้องเลิกกิจการ |
. |
ทั้งนี้ สถาบันประกันเงินฝากในแต่ละประเทศอาจมีบทบาทและอำนาจหน้าที่แตกต่างกันไป บางประเทศสถาบันประกันเงินฝากจะทำหน้าที่ให้ความคุ้มครองผู้ฝากเงินเป็นหลัก ขณะที่บางประเทศ สถาบันประกันเงินฝากสามารถทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่สถาบันการเงินที่ประสบปัญหา รวมถึงกำกับตรวจสอบสถาบันการเงินด้วย |
. |
เพื่อสร้างหลักการสากลให้สถาบันประกันเงินฝากในประเทศต่าง ๆ ยอมรับและถือปฏิบัติซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิผลของระบบประกันเงินฝากในแต่ละประเทศเข้าด้วยกัน ได้ร่วมมือกับ Bank for International Settlement (BIS) ในการกำหนดหลักการสำคัญของระบบประกันเงินฝากที่มีประสิทธิผล (Core Principles for Effective Deposit Insurance System) โดยพัฒนามาจากประสบการณ์จริงซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับสถาบันประกันเงินฝากในประเทศที่มีบริบทแตกต่างกันได้ |
. |
หลักการสำคัญของระบบประกันเงินฝากที่มีประสิทธิผล ซึ่งได้รับการอนุมัติและนำออกเผยแพร่ในเดือนมิถุนายน 2552 จำแนกได้เป็น 18 หัวข้อ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้ |
. |
1. วัตถุประสงค์เชิงนโยบาย (Public-policy objectives) |
สาระสำคัญ ควรมีการกำหนดวัตถุประสงค์เชิงนโยบายและเป้าหมายของระบบประกันเงินฝากไว้อย่างเหมาะสมและเป็นทางการ โดยวัตถุประสงค์หลักประการหนึ่งคือ การมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างความมั่นคงของระบบการเงินและคุ้มครองผู้ฝากเงิน |
. |
2. การบรรเทาปัญหาพฤติกรรมชักนำความเสี่ยง (Mitigating moral hazad) |
สาระสำคัญ ควรบรรเทาปัญหาพฤติกรรมชักนำความเสี่ยง หรือ Moral hazad โดยออกแบบระบบประกันเงินฝากอย่างเหมาะสม และมี Financial system safety net ทั้งนี้ ลักษณะของระบบประกันเงินฝากที่เหมาะสม ได้แก่ การจำกัดวงเงินประกัน การไม่ประกันเงินฝากบางประเภท และการใช้ระบบเก็บค่าธรรมเนียมตามความเสี่ยง เป็นต้น |
. |
3. บทบาทหน้าที่ (Mandate) |
ควรกำหนดบทบาทหน้าที่ของสถาบันให้ชัดเจนและเป็นทางการเพียงพอในการทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ทางนโยบายและอำนาจความรับผิดชอบของสถาบัน |
. |
4. อำนาจ (Power) |
ควรมีอำนาจดำเนินการที่จำเป็นต่อการทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง อาทิ การหาแหล่งเงินเพื่อใช้จ่ายคืนเงินฝาก การทำสัญญา การตั้งงบประมาณเพื่อใช้บริหารกิจการภายใน และการได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและทันต่อสถานการณ์ เพื่อเป็นหลักประกันว่าสถาบันจะดำเนินการได้ตามที่ผู้ฝากเงินคาดหวัง และมีการกำหนดไว้อย่างเป็นทางการ |
. |
5. ธรรมาภิบาล (Governance) |
. |
6. ความสัมพันธ์กับหน่วยงาน Safety net อื่น ๆ (Relationships with other safety net participants) |
ควรมีการจัดทำข้อตกลงอย่างเป็นทางการในการประสานงานและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างสถาบัน หน่วยงานกำกับดูแล สถาบันการเงิน โดยข้อมูลควรมีความถูกต้องและทันต่อเหตุการณ์ ตลอดจนคำนึงถึงการรักษาความลับของข้อมูลด้วย |
. |
7. ประเด็นระหว่างพรมแดน (Cross-border issue) |
ควรมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารที่สำคัญกับสถาบันประกันเงินฝากแห่งอื่น (บางประเทศมีสถานประกันเงินฝากหลายแห่ง) หรือหน่วยงานกำกับดูแล สถาบันการเงินในต่างประเทศ โดยเฉพาะกรณีที่มีสถาบันประกันเงินฝากมากกว่า 1 แห่ง จะต้องตกลงกันอย่างชัดเจนว่าใครเป็นผู้รับผิดชอบจ่ายคืน แต่ต้องคำนึงถึงการรักษาความลับด้วย |
. |
8. สมาชิกภาพแบบบังคับ (Compulsory membership) |
. |
9. ความคุ้มครอง (Coverage) |
. |
10. การเปลี่ยนจากระบบคุ้มครองเงินฝากแบบเต็มจำนวน ไปเป็นแบบจำกัดจำนวน (Transitioning from a blanket guarantee to a limited coverage deposit insurance system) |
. |
11. การจัดหาเงิน (Funding) |
สถาบันควรมีช่องทางในการจัดหาแหล่งเงินเพื่อนำมาใช้จ่ายคืนผู้ฝากเงินได้อย่างทันท่วงที รวมทั้งมีเงินสำรองสภาพคล่องในยามจำเป็นโดยสถาบันการเงินมีหน้าที่นำส่งเงินเข้ากองทุนคุ้มครองเงินฝากเนื่องจากได้รับประโยชน์โดยตรงจากการมีระบบประกันเงินฝาก ทั้งนี้ระบบประกันเงินฝากที่เก็บเงินนำส่งตามความเสี่ยงของสถาบันการเงิน (Risk-based) ควรมีหลักเกณฑ์วิธีการคำนวณที่โปร่งใสสำหรับสถาบันการเงินสมาชิกทุกแห่ง |
. |
12. ความตระหนักรู้ของสาธารณชน (Public awareness) |
. |
13. ความคุ้มครองทางกฎหมาย (Legal protection) |
สถาบันและพนักงานควรได้รับการปกป้องจากการถูกฟ้องร้องคดีทางกฎหมายจากการทำงานซึ่งตั้งอยู่บนความถูกต้องและเจตนาที่สุจริตอย่างไรก็ดี พนักงานก็ต้องปฏิบัติตามกฎ Conflict of interest และ Code of conduct ด้วย นอกจากนี้ ควรมีการกำหนดแนวทางปฎิบัติที่ชัดเจนในเรื่องความคุ้มครองทางกฎหมายแก่พนักงาน ซึ่งควรครอบคลุมถึงค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการถูกฟ้องร้องดำเนินคดีด้วย |
. |
14. การดำเนินการกับผู้มีส่วนร่วมในการทำให้สถาบันการเงินล้ม (Dealing with parties at fault in a bank failure) |
. |
15. การตรวจสอบความผิดปกติของสถาบันการเงิน รวมถึงการเข้าแทรกแซง และการแก้ไขปัญหาอย่างทันท่วงที (Early detection and timely intervention and resolution) |
สถาบันควรมีส่วนร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใน Financial safety net ในการตรวจสอบความผิดปกติของสถาบันการเงิน เพื่อที่จะเข้าไปดำเนินการแก้ไข สถาบันการเงินที่มีปัญหาได้อย่างทันท่วงที โดยควรมีการกำหนดเกณฑ์ชี้วัดก่อนว่าสถานการณ์ในลักษณธใดจึงถือว่าสถาบันการเงินกำลังมีปัญหาทางการเงินและต้องเข้าไปแก้ไขปัญหา |
. |
16. กระบวนการแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิผล (Effective resolution processes) |
. |
นอกจากนี้แล้ว สถาบันหรือหน่วยงานที่มีอำนาจควรสร้างกลไกที่ยืดหยุ่นในการรักษาธุรกรรมการดำเนินงานที่สำคัญของสถาบันการเงินที่มีปัญหา โดยการหาสถาบันการเงินเข้ามารับช่วงสินทรัพย์และหนี้สินของสถาบันการเงินที่ล้มด้วย |
. |
17. การจ่ายคืนผู้ฝากเงิน (Reimbursing depositors) |
. |
18. การติดตามทรัพย์สินคืน (Recoveries) |
. |
เนื่องจากหลักการสำคัญของระบบประกันเงินฝากที่มีประสิทธิผลเป็นเพียงหลักการอย่างกว้าง ในระยะต่อไปหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีส่วนร่วมในการวางแนวทางปฎิบัติตามหลักการดังกล่าวเพื่อให้เป็นที่ยอมรับร่วมกันอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ ยังมีความจำเป็นที่จะต้องทดสอบและปรับปรุงแก้ไขแนวปฏิบัติตามหลักการดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีความสอดคล้องเหมาะสมกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจการเงินที่เปลี่ยนแปลงไป |
. |
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง |