เนื้อหาวันที่ : 2010-02-01 14:22:18 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 602 views

"อภิสิทธิ์" วอนนานาชาติ แก้ปัญหาการกีดกันการค้าสินค้าเกษตร

"อภิสิทธิ์" ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน ผลการปฎิบัติภารกิจระหว่างการเข้าร่วมประชุมเวิร์ล อีโคโนมิก ฟอรัม ณ เมืองดาวอส สวิตเซอร์แลนด์

.

นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนถึงผลการประชุมเวิร์ล อีโคโนมิก ฟอรัม ว่า การประชุมอย่างไม่เป็นทางการกับผู้นำภาครัฐและธุรกิจ  ในหัวข้อการหารือถึงเศรษฐกิจโลกว่า มีความจำเป็นต้องปฏิรูประบบการดูแลปัญหาของโลกทั้งด้านเศรษฐกิจและด้านอื่น  พร้อมเรียกร้องให้มีการปฏิรูปองค์การสหประชาชาติ เพื่อให้เป็นองค์กรที่สามารถแก้ไขปัญหาระดับโลกได้อย่างแท้จริง

.

สำหรับการแก้ปัญหาสินค้าเกษตรและความมั่นคงทางอาหารนั้น นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ได้นำเสนอต่อที่ประชุมถึงความพร้อมในการแก้ไขปัญหา และเห็นว่า อุปสรรคสำคัญคือการรกีดกันทางการค้าสินค้าเกษตร ที่ประชุมจึงเห็นตรงกันในการเจรจาการค้าในรอบปัจจุบันให้สามารถให้ประเทศที่ผลิตสินค้าเกษตรสามารถเปิดตลาดสินค้าเกษตรได้มากขึ้น 

.

ซึ่งผู้นำในประเทศพัฒนาแล้วและผู้แทนองค์กรด้านการเกษตรสำคัญมีความเห็นตรงกันว่าปัญหาการกีดกันสินค้าเกษตรเป็นปัญหาใหญ่ที่หากแก้ไขปัญหาได้ จะนำไปสู่การใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือที่ทันสมัย

.

ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรียังได้มีการหารือกับศ.เคล้า ชวาฟ ผู้ก่อตั้งและประธานเวิร์คอีโคโนมิกฟอรั่ม(ดับบลิวอีเอฟ)ว่า ผู้จัดการประชุมอีสเอเชียจะพานักธุรกิจมาจัดกิจกรรมในประเทศไทยก่อนจะเข้าสู่การประชุมเวิร์ค อีโคโนมิก ฟอรั่ม อีสเอเชียที่ประเทศเวียดนาม ในเดือนมิถุนายน ทั้งนี้ ปีหน้าประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดงานดับบลิวอีเอฟ อีสเอเชีย ในประเทศไทย

.

สำหรับภาพรวมการจัดงานในปีนี้บรรยากาศแตกต่างจากปีที่ผ่านมาโดยเอกชนเห็นตรงกันว่าการฟื้นฟูเศรษฐกิจได้เกิดขึ้นแล้ว ขณะเดียวกันยังมีความกังวลถึงความเปราะบางต่อการปฏิรูประบบเศรษฐกิจโลกเนื่องจากเห็นว่าอาจไม่มีความจำเป็นเนื่องจากเศรษฐกิจเพราะเศรษฐกิจได้ฟื้นตัวแล้ว

.

นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี  ยังเผยถึงการพบปะหารือกับผู้นำระดับประเทศและการให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนต่างประเทศว่า ผู้นำไม่ได้แสดงความเป็นห่วงหรือถามถึงการเมืองในประเทศไทย มีเพียงสื่อมวลชนต่างประเทศที่ให้ความสนใจประเด็นเกี่ยวกับกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย และปัญหาการเมืองที่ยังมีผลกระทบ   

.

ซึ่งได้ชี้แจงว่ารัฐบาลได้บริหารจัดการไม่ให้ความขัดแย้งกระทบกับการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลจะสร้างบรรทัดฐานในการควบคุมดูและไม่ให้ความขัดแย้งลุกลามเป็นความรุนแรง

.
ที่มา : เว็บไซต์รัฐบาลไทย