กรมการค้าต่างประเทศผลักดันการใช้กองทุนฯ FTA ช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า สำเร็จแล้ว 5 โครงการ
กรมการค้าต่างประเทศ (คต.) ผลักดันการใช้กองทุนฯ FTA ช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า ประสบผล สำเร็จด้วยดี 5 โครงการ อีก 8 โครงการเร่งดำเนินการ |
. |
. |
นายวิจักร วิเศษน้อย อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า จากการที่ประเทศไทยเจรจาเปิดเสรีทางการค้ากับประเทศหลาย ๆ ประเทศ ทำให้มีผู้ที่ได้รับประโยชน์ และผู้เสียประโยชน์ โดยผู้ที่ได้รับผลกระทบส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเกษตรกรรายย่อย ผู้ประกอบการขนาดกลาง และขนาดย่อม |
. |
คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเห็นชอบให้กระทรวงพาณิชย์จัดตั้งโครงการช่วยเหลือเพื่อการปรับตัวของภาคการผลิตและภาคบริการที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า (กองทุน FTA) ขึ้น เพื่อเยียวยาผู้ที่รับผลกระทบจากกรณีดังกล่าว โดยได้มอบหมายให้กรมการค้าต่างประเทศ เป็นผู้รับผิดชอบบริหารโครงการฯ ได้ดำเนินการสำเร็จลุล่วงไปแล้ว จำนวน 5 โครงการ ดังนี้ |
. |
1. โครงการจัดทำระบบประกันคุณภาพ GMP โรงงานผลิตปลาป่นเพื่อความปลอดภัยของอาหารสัตว์ และเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน โดยผู้ประกอบการโรงงานปลาป่น จำนวน 37 โรงงาน สามารถได้รับใบรับรองระบบ GMP ของกรมปศุสัตว์ จากจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 40 โรงงาน |
. |
2. โครงการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของกลุ่มคลัสเตอร์ส้ม เชียงใหม่ เพื่อการปรับตัวจากผลกระทบของการเปิดเสรีทางการค้า เกษตรกรผู้ผลิตอุตสาหกรรมส้มภาคเหนือได้ตราสัญลักษณ์ส้มคุณภาพ |
. |
โดยการตรวจสอบและรับรองระบบจากกรมวิชาการเกษตร รวมทั้งจัดทำระบบการตรวจสอบและรับรองความปลอดภัยจากสารปนเปื้อนของสารเคมีตกค้าง และใช้ระบบ QR Code ในการตรวจสอบย้อนกลับ การแปรรูปผลิตภัณฑ์ส้ม รวมถึงการกระจายผลผลิตออกสู่ตลาดในที่ต่าง ๆ |
. |
3. โครงการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของกลุ่มผู้เลี้ยงเนื้อโค (Beef competitiveness) ฝึกอบรม / ภาคปฏิบัติในการทำหน้าที่และบทบาทผู้ประสานงานพัฒนาเครือข่ายในการพัฒนา คลัสเตอร์โคขุน และก่อตั้งคลัสเตอร์โคขุนกำแพงแสน และโพนยางคำ รวมถึงการพัฒนาติดตั้งระบบตรวจสอบย้อนกลับให้แก่สหกรณ์การเลี้ยงปศุสัตว์ กรป. กลางโพนยางคำ จำกัด |
. |
4. โครงการนำร่องการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมปลาน้ำจืด เกษตรกร จำนวน 24 ราย ได้มาตรฐานการปฏิบัติทางประมงที่ดี (GAP) ได้มีการทดลองพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ปลาต่าง ๆ พร้อมทั้งจัดนิทรรศการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับคุณค่าทางอาหารในการบริโภคปลาน้ำจืด ที่ ร.พ. รามาธิบดี และ ร.พ. พญาไท 2 |
. |
5. โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการและบุคคลากรในอุตสาหกรรมยาเพื่อรองรับผลกระทบFTA ในข้อตกลงด้าน ASEAN Harmonized Products ของสินค้ายาจากระบบเอกสารขึ้นทะเบียนยาแบบ ACTD (ASEAN Technical Dossier) |
. |
ได้มีการจัดประชุมและอบรมเชิงปฏิบัติการให้ผู้ประกอบการได้ตระหนักถึงวิธีการขึ้นทะเบียนยาแบบใหม่ หรือแบบ ACTD ซึ่งมีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2552 |
. |
นายวิจักรฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้กรมฯ กำลังดำเนินโครงการเพื่อที่จะช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบ อีกจำนวน 8 โครงการ ได้แก่ 1) โครงการศึกษาแนวทาง การปรับตัวเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการส่งออกชา 2) โครงการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในอุตสาหกรรมยาตามเกณฑ์ GMP |
. |
3) โครงการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการตลาดลิ้นจี่ 4) โครงการการปรับตัวของการบริการอาหารอันเนื่องจากการเปิดเสรีภายใต้กรอบข้อตกลงการค้าทวิภาคีระหว่างไทยกับญี่ปุ่น 5) โครงการเพิ่มขีดความ สามารถในการแข่งขันของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกส้มสายน้ำผึ้ง เชียงใหม่ |
. |
6) โครงการวิจัยและการพัฒนาสูตรอาหารสัตว์และระบบการจัดการให้อาหารของเกษตรกร เพื่อลดต้นทุนการผลิตน้ำนมดิบ 7) โครงการจัดทำระบบประกันคุณภาพ HACCP โรงงานผลิตปลาป่น เพื่อความปลอดภัยของอาหารสัตว์ 8) โครงการพัฒนาห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมสมุนไพรไทย จากการเปิดเสรี AFTA ด้วยสมุนไพร ในบัญชียาหลักแห่งชาติ |