คณะกรรมการบริหารสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน มีมติแต่งตั้ง รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยวิทย์ ศิลาวัชนาไนย ให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)
คณะกรรมการบริหารสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน มีมติแต่งตั้ง รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยวิทย์ ศิลาวัชนาไนย ให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อย่างเป็นทางการ มีผลตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม 2553 ที่ผ่านมา |
. |
รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยวิทย์ ศิลาวัชนาไนย |
. |
‘รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยวิทย์ ศิลาวัชนาไนย’ มีประสบการณ์ด้านบริหารและวิชาการ โดยสรุปดังนี้ เมื่อปี พ.ศ. 2549,2551 ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ปี พ.ศ.2551 เป็นคณบดีคนแรกของวิทยาลัยนานาชาติดิษยะศริน และรองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศ |
. |
ปี พ.ศ. 2550 ตำแหน่งผู้อำนวยการโครงการเครือข่าย Nanotech Centre of Excellence ศูนย์นาโนเทคโลยีแห่งชาติ พ.ศ. 2538-2548 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นครศรีธรรมราช รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและวิชาการ (2538-2541) และคณบดีสำนักวิทยาศาสตร์(2542-2548) พ.ศ. 2512-2538 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ และวิทยาเขตปัตตานี |
. |
อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ และอาจารย์พิเศษ วิทยาเขตปัตตานี หัวหน้าภาควิชาฟิสิกส์ และผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ วิทยาเขตหาดใหญ่ ปี 2525 ลาออกจากราชการในตำแหน่งรองศาสตราจารย์ระดับ 9 ผลงานทางวิชาการ มีผลงานวิจัยตีพิมพ์ระดับนานาชาติ 22 เรื่อง และภายในประเทศจำนวน 14 เรื่อง และบทความวิชาการบริการสังคมจำนวนมาก |
. |
ประวัติการศึกษา จบการศึกษาปริญญาเอก สาขาฟิสิกส์พลาสมา จากมหาวิทยาลัย Flinders ประเทศออสเตรเลีย โดยรับทุน Flinders Research Scholarship, Flinders University ปริญญาโท สาขาฟิสิกส์พลาสมา จาก University of Saskatchewan, Saskatoon, Canada, ทุนรัฐบาลแคนาดา |
. |
และปริญญาตรี สาขาฟิสิกส์-คณิตศาสตร์ จาก University of New South Wales, Sydney Australia. ทุนรัฐบาลออสเตรเลีย ประวัติส่วนตัว เป็นชาวจังหวัดตรังโดยกำเนิด เกิดเมื่อเดือนกันยายน 2489 งานอดิเรก ฟาร์มเกษตร งานเขียน ถ่ายภาพ และปั่นจักรยาน |
. |
รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยวิทย์ ศิลาวัชนาไนย กล่าวว่า “จากการที่เครื่องกำเนิดแสงสยาม ได้รับการเสริมศักยภาพอย่างเต็มกำลังแล้ว การดำเนินนโยบายบริหารจากนี้ไปจะมุ่งพัฒนาและขับเคลื่อนสถาบันในฐานะองค์การมหาชน ที่มุ่งสู่ผลลัพธ์ของงานในทุกภารกิจของสถาบันของการวิจัย พัฒนา การให้บริการ และถ่ายทอดเทคโนโลยีซินโครตรอนที่ตอบสนองผู้มีส่วนได้เสียตั้งแต่ระดับท้องถิ่นถึงระดับประเทศ |
. |
สถาบันจะแสวงหาพันธมิตรทั้งภาควิชาการและอุตสาหกรรมให้มากยิ่งขึ้น พร้อมกับจะต้องแสดงบทบาทความเป็นเลิศในเวทีสากล โดยเพิ่มผลงานตีพิมพ์นานาชาติ และการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดประชุมวิชาการเทคโนโลยีซินโครตรอนระดับนานาชาติในปี 2554 ที่จะถึงนี้ ” |