สศอ.ชี้ภาคอุตฯฟื้นชัดเจน ตามทิศทางเศรษฐกิจโลก Hard disk drive -ยานยนต์-น้ำตาล-เหล็ก ยอดผลิตและจำหน่ายคึกคัก คาดปีนี้ฉายแววสดใส
สศอ.เผยภาคอุตฯฟื้นชัดเจน ตามทิศทางเศรษฐกิจโลก กลุ่ม Hard disk drive -ยานยนต์-น้ำตาล-เหล็ก ยอดผลิตและจำหน่ายคึกคัก กำลังการผลิตอยู่ในระดับ 61.8% ผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศเชื่อมั่นในสถาณการณ์ |
. |
. |
ดร.สมชาย หาญหิรัญ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม(ดัชนีอุตฯ) เดือนธันวาคม ปี 2552 เพิ่มขึ้น 30.7% เมี่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งถือเป็นการปรับตัวที่สูงมาก |
. |
โดยอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 61.8% และเมื่อพิจารณาตัวเลขเฉลี่ยทั้งปี 2552 ดัชนีอุตฯติดลบ 7.2% ซึ่งเป็นตัวเลขที่ต่ำกว่าที่ สศอ.เคยคาดการณ์ไว้คือ จะติดลบ 8-9% เนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่มีเสถียรภาพมากขึ้น โดยเป็นผลมาจากมาตรการกระตุ้นทางเศรษฐกิจของทั่วโลกเริ่มเห็นผล ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจมากขึ้น |
. |
ขณะเดียวกันนักลงทุนมีความเชื่อมั่นสูงขึ้นส่งผลต่อการขยายกำลังการผลิต หลังจากได้รับคำสั่งซื้อกลับเข้ามา รวมทั้งโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในของรัฐบาล มีความชัดเจนมากขึ้น จึงทำให้ภาพรวมของภาคอุตสาหกรรมไทยขยายตัวเพิ่มขึ้นสูงดังกล่าว โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลต่อการขยายตัวของดัชนีอุตฯ ประกอบด้วย อุตสาหกรรมการผลิต Hard Disk Drive ยานยนต์ น้ำตาล และอุตสาหกรรมการผลิตเหล็ก |
. |
ดร.สมชาย กล่าวว่า การผลิต Hard disk drive เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตและจำหน่ายปรับตัวเพิ่มขึ้นมากถึง 91.4% และ 68.1% เนื่องจากเมื่อปีก่อนเริ่มได้รับผลกระทบจากภาวะวิกฤติเศรษฐกิจโลก ผู้ประกอบการส่วนใหญ่แทบจะปรับตัวไม่ทัน จึงส่งผลต่อภาวะการจ้างงานที่ทำให้หลายแห่งมีการปรับลดพนักงานลงอย่างมาก |
. |
แต่สำหรับปีนี้ทิศทางการฟื้นตัวกลับเข้ามาแล้วตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการเริ่มมีคำสั่งซื้อล่วงหน้ากลับเข้ามาส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากประเทศคู่ค้าหลักมั่นใจประเทศศักยภาพของประเทศไทยในฐานะเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของโลก สามารถรับคำสั่งซื้อคราวละมากๆและส่งสินค้าได้ทันตามกำหนด สำหรับภาวะการผลิตและจำหน่ายสะสมในปี 2552 ขยายตัวเพิ่มขึ้น 5.0% และ 4.3% เมื่อเทียบกับปี 2551 |
. |
การผลิตยานยนต์ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตและจำหน่ายขยายตัวเพิ่มขึ้น 25.5%และ 26.5% ตามลำดับ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นมากขึ้น อีกทั้งช่วงปลายปีค่ายรถต่างออกมาตรการกระตุ้นตลาด หลากหลายรูปแบบเพื่อให้ผู้บริโภคตัดสินใจง่ายขึ้น โดย อีกทั้งตลาดส่งออกกลับมาคึกคักอีกครั้งหลังจากซบเซาตลอดปี ซึ่งยอดการจำหน่ายรถปิคอัพขนาด 1 เพิ่มขึ้น 23.9% ขณะที่รถยนต์นั่งส่วน |
. |
บุคคลขยายตัวเพิ่มขึ้น 15.1% ขณะที่ทั้งปีในปี 2552 ปริมาณการผลิตรถยนต์ 999,378 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 28.31% เป็นการผลิตรถยนต์นั่ง 313,442 คัน รถกะบะ 670,734 คัน ลดลง 21.43% และ 31.9% ตามลำดับ โดยมียอดขายในประเทศ 548,871 คัน ลดลง 10.8% ส่งออก 535,563 คัน ลดลง 31.01% สำหรับแนวโน้มปี 2553 คาดว่าจะมียอดการผลิตและจำหน่ายเป็นไปอย่างคึกคัก ทั้งตลาดรถปิ๊คอัพและตลาดรถยนต์นั่งขนาดเล็ก |
. |
การผลิตน้ำตาล เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตน้ำตาลโดยรวมอยู่ที่ 1,486,367.60 ตัน เพิ่มขึ้น 36.5% ซึ่งแบ่งเป็น น้ำตาลทรายดิบ 1,020,120.29 ตัน เพิ่มขึ้น 31.8% น้ำตาลทรายขาว 457,300.33 ตัน เพิ่มขึ้น 46.1% จากอ้อยเข้าหีบ 16,602,922.41 ตัน เพิ่มขึ้น 35.7% |
. |
โดยฤดูกาลผลิตปี 2552/2553 เกษตรกรมีการขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้น และทิศทางราคาน้ำตาลโลกปีนี้ค่อนข้างดี ซึ่งคาดว่าจะมีผลผลิตอ้อยจำนวน 74.9 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากฤดูการผลิต 2551/2552 คิกเป็น 11.6% |
. |
การผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์จากเหล็ก เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตและจำหน่ายโดยรวมเพิ่มขึ้น 58.1% และ 50.7% ตามลำดับ เนื่องการปรับตัวที่ดีของเศรษฐกิจโลกและมาตรการกระตุ้นต่างๆภายในประเทศ ทำให้มีความต้องการเหล็กในอุตสาหกรรมต่อเนื่องเพิ่มขึ้น สำหรับแนวโน้มปี 2553 คาดว่าจะมีการขยายตัวได้ดีในทุกผลิตภัณฑ์ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากมาตรการกระตุ้นการลงทุนของภาครัฐในโครงการ “ไทยเข้มแข็ง” |
. |
อย่างไรก็ตาม ในภาพรวมทั้งปีถึงแม้ว่าอัตราการ ขยายตัวของดัชนีอุตฯ จะติดลบ 7% แต่ที่มีสัญญาณขยายตัวที่เป็นบวกมาตลอด 3 เดือนสุดท้ายโดยอัตราการขยายตัวในไตรมาสที่ 4 สูงถึง 11.5% และคาดว่าจะมีอัตราการเติบโตต่อเนื่อง |
. |
อย่างไรก็ตามต้องเฝ้าดูผลแนวโน้มของค่าเงินบาทและการปรับตัวของเศรษฐกิจโลกที่ยังเปราะบางโดยเฉพาะการขาดดุลงบประมาณอย่างมหาศาลของสหรัฐอเมริกาที่อาจทำให้รัฐบาลสหรัฐฯ ลดรายจ่ายลง |
. |
ดร.สมชาย กล่าวว่า ภาพรวมดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนธันวาคม 2552 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนพบว่า ดัชนีผลผลิต (มูลค่าเพิ่ม) อยู่ที่ระดับ 194.66 เพิ่มขึ้น 30.7% จากระดับ 148.97ดัชนีผลผลิต (มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 191.51 เพิ่มขึ้น 30.4% จากระดับ 146.91 ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 192.63 เพิ่มขึ้น 27.0% จากระดับ 151.63 |
. |
ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 113.25 เพิ่มขึ้น 2.2% จากระดับ 110.82 ดัชนีผลิตภาพแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 199.83 เพิ่มขึ้น 54.7% จากระดับ 129.14 ขณะที่ ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 171.69 ลดลง 13.3% จากระดับ 198.09 ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 167.32 ลดลง 31.3% จากระดับ 243.37 โดยอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 61.8% |
. |
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม |