ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม เดือนธ.ค. 52 อยู่ที่ระดับ 113.6 ปรับตัวสูงขึ้นเกินระดับ 100 ต่อเนื่องกันเป็นเดือนที่ 3 จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ในระดับ 104.7 โดยเป็นผลมาจากองค์ประกอบทุกตัวปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ทั้งยอดคำสั่งซื้อ ยอดขายรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า |
. |
รวมถึงเทศกาลปีใหม่ที่ทำให้ผู้บริโภคมีการใช้จ่ายมากขึ้น และหากขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว ดัชนีดังกล่าวในเดือน ธ.ค.52 ยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการยังคงมีความกังวลในปัจจัยเสี่ยงด้านต้นทุน ทั้งการประกาศปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ และราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น |
. |
อนึ่ง ผลสำรวจมิได้กล่าวถึงประเด็นการระงับโครงการลงทุน 65 โครงการ ณ นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดแต่อย่างใด ในขณะที่ดัชนีคาดการณ์ล่วงหน้า 3 เดือน ณ เดือนธ.ค. 52 อยู่ที่ระดับ 111.5 ปรับตัวลดลงจากเดือนพ.ย. 52 ที่อยู่ในระดับ 118.3 เนื่องจากผู้ประกอบการคาดว่าต้นทุนการผลิตจะสูงขึ้น |
. |
มูลค่าการส่งออกสินค้ารวมในรูปดอลลาร์สหรัฐ ในเดือนธ.ค. 52 ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 ที่ร้อยละ 26.1ต่อปี เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 17.2 ต่อปี และหากหักผลทางฤดูกาลออกแล้ว จะขยายตัวที่ร้อยละ 14.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า เนื่องจากเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวชัดเจนขึ้น ประกอบกับปัจจัยฐานต่ำในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว |
. |
โดยปริมาณการส่งออกขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 13.6 ต่อปี ในขณะที่ราคาขยายตัวที่ร้อยละ 11.0 ต่อปี ผลจากราคาน้ำมันและราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทำให้ทั้งปี 52 การส่งออกสินค้าหดตัวที่ร้อยละ -14.2 ต่อปี โดยการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และยานยนต์ ขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 44.5 31.8 และ 30.1 ต่อปี ตามลำดับ |
. |
มูลค่านำเข้าสินค้ารวมในรูปดอลลาร์สหรัฐ ในเดือนธ.ค. 52 ขยายตัวครั้งแรกในรอบ 13 เดือนที่ร้อยละ 28.2 ต่อปี จากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -2.2 ต่อปี แต่หากหักทองและน้ำมันดิบแล้ว จะขยายตัวที่ร้อยละ 19.2 ต่อปี ผลจากการนำเข้าที่ขยายตัวในหลายหมวดสินค้า โดยการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบที่หักทองคำแล้ว และสินค้าทุนหักหมวดพิเศษ ขยายตัวที่ร้อยละ 26.1 และ 6.3 ต่อปี ตามลำดับ |
. |
ในขณะที่การนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคขยายตัวที่ร้อยละ 21.0 ต่อปี ทำให้ทั้งปี 52 การนำเข้าสินค้าหดตัวที่ร้อยละ -25.3 ต่อปี ทำให้ ดุลการค้าในเดือน ธ.ค. 52 เกินดุลที่ 0.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ผลจากมูลค่านำเข้าสินค้าที่ยังคงต่ำกว่ามูลค่าส่งออกสินค้า และทั้งปี 52 ดุลการค้ารวมเกินดุลที่ 18.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ |
. |
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน ธ.ค. 52 ขยายตัวที่ร้อยละ 27.7 ต่อปี ต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 32.3 ต่อปี เนื่องจาก 1) ในช่วงปลายปีบรรดาค่ายรถยนต์ต่างๆออกรถรุ่นใหม่ พร้อมทั้งมีเทคนิคในการส่งเสริมการขายเพื่อจูงใจลูกค้า 2) มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ออกมาอย่างต่อเนื่องส่งผลให้เศรษฐกิจ |
. |
โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชนเริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัวชัดเจนมากขึ้น และ 3) ผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงความนิยมจากรถที่มีขนาดใหญ่ มาเป็นรถที่มีขนาดกลางและเล็กมากขึ้น ส่งผลให้ทั้งปี 52 ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งขยายตัวที่ร้อยละ 1.4 ต่อปี |
. |
ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน ธ.ค. 52 ขยายตัวที่ร้อยละ 18.4 ต่อปี ใกล้เคียงกับเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 18.2 ต่อปี ตามสัญญาณการฟื้นตัวของอุปสงค์และอุปทานในประเทศที่ชัดเจนมากขึ้น |
. |
จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและความต่อเนื่องของนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล สะท้อนให้เห็นถึงการลงทุนภาคเอกชนที่ปรับตัวดีขึ้นมาก ทั้งนี้ ทั้งปี 52 ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ หดตัวที่ร้อยละ -17.9 ต่อปี |
. |
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง |