"อภิสิทธิ์" เผยออกระเบียบสำนักนายกฯ แก้ปัญหามาบตาพุด หวังสร้างความเชื่อมั่นนักลงทุน ระบุพร้อมพบเจโทรอธิบายความชัดเจน ไม่หวั่นภาคประชาชนร้องศาล
"อภิสิทธิ์" เผยออกระเบียบสำนักนายกฯ แก้ปัญหามาบตาพุด หวังสร้างความเชื่อมั่นนักลงทุน ระบุพร้อมพบเจโทรอธิบายความชัดเจน ไม่หวั่นภาคประชาชนร้องศาล |
. |
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี |
. |
วันนี้ (15 ม.ค.) เวลา 09.30น. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงปัญหาในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ซึ่งล่าสุดทางเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นออกมาแสดงความกังวลเกี่ยวกับโครงการลงทุนในมาบตาพุด ว่า ทางนายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม บอกว่าจะนัดให้พบกับทางองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศญี่ปุ่น (เจโทร) |
. |
ซึ่งยินดีที่จะอธิบาย เพราะตนเข้าใจว่าเรื่องค่อนข้างจะเป็นเทคนิคมาก และจำเป็นจะต้องให้เขาเข้าใจขั้นตอนในการทำงาน แต่ทุกอย่างขณะนี้ครบถ้วนในเรื่องของระเบียบและเราก็มีศูนย์บริการจุดเดียว รวมทั้งภาคเอกชนก็เข้าสู่กระบวนการนี้แล้ว ก็คิดว่าจะมีความชัดเจนในตัวของมันเองขึ้นโดยลำดับ ส่วนโครงการใหม่ๆ คิดว่าไม่น่ามีผลกระทบ เพราะถือเป็นกติกาที่เราต้องวางไว้สำหรับอนาคต |
. |
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลเพิ่งได้ออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีเมื่อวันอังคารที่ 12 มกราคม ที่ผ่านมา ซึ่งจะมีเรื่องของกฎหมายด้วย เมื่อทำเสร็จเรียบร้อยทางกระทรวงจะเชิญนักธุรกิจภาคเอกชน โดยเฉพาะเจ้าของโครงการนักลงทุนที่เกี่ยวข้องมาชี้แจง แต่ต้องมีการทำเพิ่มเติม ซึ่งระเบียบเพิ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 13 หรือ 14 มกราคมที่ผ่านมา และเพิ่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาโดยต้องผ่านที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อีกครั้ง |
. |
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นเคยมาหารือกับนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ เลขาธิการนายกรัฐมนตรีแล้ว อีกทั้งในช่วงที่พยายามแก้ปัญหาในรายโครงการ โครงการของญี่ปุ่นโครงการหนึ่งก็สามารถไปร้องต่อศาลปกครองและได้ยกเลิกคำสั่งชั่วคราวในกรณีนั้นความจริงก็คงมีความเข้าใจ แต่ถ้าอยากให้พูดในภาพกว้างทั้งหมดก็ยินดี และทางกระทรวงอุตสหากรรมก็เรียกประชุมอยู่เป็นประจำ |
. |
และหากองค์กรภาคประชาชนจะไปร้องต่อศาลเกี่ยวกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าอาจขัดรัฐธรรมนูญ ก็เป็นสิทธิ์ที่ทำได้ แต่มั่นใจว่าสามารถอธิบายได้ว่าทำไมต้องใช้เวลาในเรื่องดังกล่าว เพราะต้องการให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมมากที่สุด ทางคณะกรรมการ 4 ฝ่ายก็ได้เปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่และน่าจะเป็นความเห็นพ้องต้องกันทั้ง 4 ฝ่ายเป็นหลักประกันระดับหนึ่งว่าน่าจะถูกต้องแล้ว |
. |
พร้อมแสดงความมั่นใจว่าระเบียบจะใช้แทนกฎหมายได้จะไม่เกิดปัญหาการตีความตามมาภายหลัง "มั่นใจเพราะจากการอ่านรัฐธรรมนูญไม่ได้พูดถึงการมีกฎหมาย เพราะฉะนั้นก็จะเดินหน้าต่อไป แต่ผู้ร้องก็มีสิทธิ์ที่จะร้องเช่นกัน" นายกรัฐมนตรี กล่าว |
. |
ส่วนการจะทำให้นักลงทุนเกิดความมั่นใจว่าจะไม่มีปัญหาต้องกลับมานับ 1 ใหม่อีก ทั้งหมดก็ต้องขึ้นอยู่กับศาลรัฐบาลไปก้าวล่วงไม่ได้ ถ้ามีเรื่องร้องต่อศาล ศาลก็ต้องวินิจฉัยว่าถูกหรือไม่ถูกอย่างไร |
. |
ที่มา : เว็บไซต์รัฐบาลไทย |