เนื้อหาวันที่ : 2010-01-14 20:30:07 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1180 views

"อภิสิทธิ์" มั่นใจปัญหามาบตาพุดคลี่คลายได้

นายกฯ เชื่อศักยภาพคนไทยและเศรษฐกิจไทยมีขีดความสามารถ ทำให้ผ่านพ้นอุปสรรคได้ คุยโวเศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นแล้ว เหตุแผนกระตุ้นเริ่มเห็นผล โปรยยาหอมอีกครึ่งปีปัญหามาบตาพุดมีความชัดเจน

นายกฯ เชื่อศักยภาพคนไทยและเศรษฐกิจไทยมีขีดความสามารถ ทำให้ผ่านพ้นอุปสรรคได้ คุยโวเศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นแล้ว เหตุแผนกระตุ้นเริ่มเห็นผล โปรยยาหอมอีกครึ่งปีปัญหามาบตาพุดมีความชัดเจน

.

 .

วานนี้ (14 ม.ค. 2552) เวลา 09.30 น. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานกล่าวเปิดงานสัมมนา "Green GDP อนาคตประเทศไทย"และปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อเรื่อง "อนาคตอุตสาหกรรมในสายตานายกฯ" จัดโดยสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ โดยมี ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภาคภาครัฐ นักลงทุนและนักธุรกิจ ตลอดจนสื่อมวลชน เข้าร่วมงานอย่างพร้อมเพรียง ณ ห้องนภาลัย โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพมหานคร

 .

โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวแสดงความยินดีที่ได้มีโอกาสมาแสดงทัศนะเกี่ยวกับอนาคตอุตสาหกรรมไทย และและอนาคตของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกำหนดหัวข้อเรื่องของGreen GDP อนาคตประเทศไทยหรืออนาคตของอุตสาหกรรมนั้น คิดว่ามีความเหมาะสมกับสภาพข้อเท็จจริงและจังหวะเวลาในหลายด้าน เพราะโลกในยุคปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

 .

ซึ่งมีความจำเป็นที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการทำหน้าที่จะต้องมีการทบทวนถึงทิศทาง ยุทธศาสตร์โครงสร้างและการดำเนินการ เพราะในปี 2552 ที่ผ่านมาเป็นปีที่ทั่วโลกเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจที่รุนแรงครั้งหนึ่ง และแม้ปัจจุบันจะเป็นที่ยอมรับว่า เศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกอยู่ในช่วงของการฟื้นตัว แต่ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับทิศทางโครงสร้างน่าจะเป็นช่วงที่มีคำถามมากขึ้น ในหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทย

 .

นายกรัฐมนตรี กล่าวยอมรับถึงศักยภาพการเติบโตและบทบาทสำคัญในการยกระดับความเป็นอยู่ของ ประชาชนในช่วงตลอดระยะเวลาหลาย 10 ปี ที่ผ่านมา พร้อมกล่าวว่า ขณะเดียวกันสิ่งที่เรากำลังจะต้องเผชิญในวันนี้ คือ ความท้าทายที่เกิดขึ้นรอบด้านที่เป็นปัญหาและความท้าทายที่ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนต้องร่วมกันฟันฝ่า เพื่อที่จะแก้ไขปัญหาและทำให้สังคม และประเทศไทย ตลอดจนคุณภาพชีวิตและความต้องการของประชาชน สามารถได้รับการยกระดับและตอบสนองอย่างแท้จริง

 .

พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวแสดงความเชื่อมมั่นในศักยภาพของคนไทยและเศรษฐกิจไทยว่า มีขีดความสามารถ โดยพิสูจน์ได้ในปี 2552 ที่สามารถปรับตัวและฟันฝ่าปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งในระยะเวลาเดียวกันในขณะนี้ของปีที่ผ่านมา ทุกคนมีความวิตกกังวลว่า เศรษฐกิจไทยอาจจะต้องหดตัวสูงสุดถึงร้อยละ 9 หรือมีคนไทยอาจจะต้องตกงานถึง 2 ล้านคน นั้น สุดท้ายความสามารถในการปรับตัวของเศรษฐกิจไทยและนโยบายของรัฐบาลที่ตอบโจทย์ ได้ตรงจุดก็ทำให้สถานการณ์ไม่ได้เลวร้ายอย่างที่มีการคาดการณ์ไว้

 

โดยเมื่อรัฐบาลได้ผ่านมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในรอบแรกใน เดือนมีนาคม 2552 ก็มีตัวเลขข้อเท็จจริงยืนยันว่าเศรษฐกิจภายในประเทศเริ่มดีขึ้นในเดือน เมษายนและพฤษภาคม ซึ่งเป็นการตอบสนองเป้าหมายของรัฐบาลในการรักษากำลังซื้อของประชาชนผ่าน มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในรอบแรก และในช่วงปลายปีเมื่อเศรษฐกิจโลกเริ่มดีขึ้นจะเห็นได้ว่าภาคการส่งออก ภาคการท่องเที่ยวก็กลับมาเติบโตได้ค่อนข้างรวดเร็ว

 .

โดยเห็นได้จากตัวเลขของการส่งออกและยอดขายสินค้าอุตสาหกรรม ที่สำคัญ เช่น กรณียานยนตร์ ก็เพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงมากในช่วงเดือนพฤศจิกายน และธันวาคม รวมทั้งตัวเลขการท่องเที่ยวในเดือนธันวาคมปรากฏมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้า มาในประเทศไทยถึง 1,600,000 คน ซึ่งทำให้ตัวเลขของนักท่องเที่ยวทั้งปีเกิน 14,000,000 คน ซึ่งเกินการคาดการณ์ในช่วงต้นปีที่แล้วที่หลายคนกลัวว่าจำนวนนักเที่ยวอาจจะ ลดลงเหลือแค่ประมาณ 10,000,000 คน

 .

ทั้งหมดนี้จึงทำให้การหดตัวทางเศรษฐกิจปี 2552 ตลอดทั้งปีอยู่ที่ประมาณร้อยละ -3 ซึ่งต่ำกว่าการคาดการณ์ก่อนหน้านี้ค่อนข้างมากและทำให้มั่นใจว่าปีนี้อัตรา การขยายตัวประมาณร้อยละ 3.5 เป็นอัตราการขยายตัวที่มีความเป็นไปได้อย่างแน่นอนและอาจจะทำได้มากกว่านั้น

 .

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่าทิศทางของการพัฒนาในปัจจุบันนั้น เรายังเผชิญกับปัญหาความท้าทายหลายด้าน ซึ่งต้องยอมรับว่าการแก้ไขปัญหาหรือกำหนดทิศทางบางครั้งยังขาดความชัดเจน อยู่บ้าง ส่วนความท้าทายอีกประการซึ่งเกิดขึ้นต่อเนื่องคือความท้าทายที่เกิดขึ้น จากกระแสโลกาภิวัตน์ทำให้ระบบการแข่งขันและโครงสร้างของตลาดมีการเปลี่ยน แปลงปรับตัวอยู่ตลอดเวลา

 .

ซึ่งหมายถึงข้อตกลงในเรื่องการค้าเสรีทั้งในระดับโลก ภูมิภาค และทวิภาคี ยังเป็นจุดที่มีความท้ายอุตสาหกรรมอย่างมาก ทั้งนี้ถ้าอุตสาหกรรมของไทยยังหวังที่จะอาศัยความได้เปรียบในเรื่องของต้น ทุนโดยเฉพาะเรื่องของแรงงานนั้นไม่มีทางที่จะเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนได้

 

นอกจากนี้กระแสที่สำคัญอีกตัวที่จะท้าทายอุตสาหกรรมของ ไทยอย่างมากก็คือเรื่องของปัญหาทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศ และปัญหาโลกร้อนในภาพรวม ซึ่งความสามารถของการแก้ไขปัญหาในระดับโลกในเรื่องนี้ ไม่สามารถตามทันปัญหาได้ โดยเห็นได้จากผลการประชุมที่โคเปนเฮเก้นที่ผ่านมา

 .

ทั้งนี้สิ่งที่คาดการณ์จากนี้ไปคือเมื่อการแก้ไขปัญหาที่ เป็นเวทีระดับโลกไม่สามารถบรรลุข้อตกลงได้ เราก็เริ่มจะเห็นมาตรการของแต่ละประเทศและภูมิภาคที่จะเดินไปด้วยตนเอง และอาจจะมีการนำเรื่องนี้มาเป็นเงื่อนไขในเรื่องของการค้า การลงทุนมากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

 .

นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เป็นความสำเร็จในหลายทศวรรษที่ผ่านมาว่า ได้สร้างต้นทุนให้สังคมในหลายด้าน ซึ่งไม่ใช่เฉพาะทางด้านสิ่งแวดล้อม แต่ผลกระทบในเชิงสังคม ผลกระทบในการกระจายรายได้ และผลกระทบในด้านอื่น ๆ ก็เป็นสิ่งที่ทำให้ประชาชนนั้นมีความ ตื่นตัวในการใช้สิทธิเสรีภาพ

 .

ตั้งคำถามท้ายทายกระบวนการพัฒนาในภาพรวมโดยเฉพาะกรณีของการ พัฒนาในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งความตื่นตัวตรงนี้รัฐบาลได้ตระหนักเป็นอย่างดี โดยไม่ได้ได้มองว่าหน้าที่ของรัฐบาลเป็นเพียงแค่การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าใน เรื่องของวิกฤตเศรษฐกิจเท่านั้น 

 .

แต่ในการแก้วิกฤตเศรษฐกิจรัฐบาลมีความจำเป็นที่จะต้องวางราก ฐานหรือกำทิศทางไปสู่โครงสร้างของการพัฒนาที่มีความยั่งยืนและมีความสมดุล มากยิ่งขึ้น โดยการน้อมนำแนวพระราชดำริในเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นตัวชี้นำใน ทิศทางของการพัฒนาทั้งหมดทุกองค์กรในสังคม

 .

ดังนั้นในช่วงที่ผ่านมารัฐบาลก็ได้พยายามเดินหน้าในการที่จะ สนองตอบต่อเป้าหมายในเรื่องของการกำหนดทิศทางและปรับโครงสร้างในลักษณะนี้ โดยพยายามที่จะกระตุ้นให้ตระหนักว่าแม้ภาคอุตสาหกรรมมีความสำคัญอย่างมาก แต่เศรษฐกิจไทยนั้นมีศักยภาพทั้งทางด้านภาคการเกษตรและภาคบริการ แต่ยังไม่ได้ใช้ศักยภาพดังกล่าวอย่างเต็มที่

 .

รัฐบาลจึงให้ความสำคัญกับภาคการเกษตร โดยเฉพาะการเร่งแก้ปัญหาพื้นฐาน เช่น ที่ทำกิน หนี้สินเกษตรกร และแหล่งน้ำ ตลอดจนการแทรกแซงราคาพืชผลที่มีการปรับเปลี่ยนเพื่อประโยชน์ในการนำไปสู่การ ปรับโครงสร้างทางการผลิต

 .

รักษาคุณภาพผลิตผลทางการเกษตรของไทย ไม่เข้าไปทำลายกลไกตลาด และทำให้ต้นทุนของผลผลิตของภาคการเกษตรไทยในการที่จะไปแข่งขันกับต่างประเทศ ไม่พุ่งสูงขึ้นเหมือนกับปัญหาที่เกิดขึ้นจากการแทรกแซงในรูปแบบของในอดีต ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะเป็นการวางรากฐานไปสู่การใช้ภาคการเกษตร เพื่อรองรับอุตสาหกรรมที่จะเติบโตในอนาคตคือ อุตสาหกรรมอาหารและอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน

 .

ซึ่งแนวโน้มของเศรษฐกิจโลกเห็นชัดเจนว่าอุตสาหกรรมทั้งสอง นั้น จะเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญและเติบโตอย่างแน่นอน ทั้งนี้เชื่อมั่นว่าถ้าสามารถดำเนินการสิ่งนี้ได้สำเร็จผลประโยชน์ที่เกิด ขึ้นจากการพัฒนาอุตสาหกรรมดังกล่าวจะตกไปอยู่กับประชาชนชาวเกษตรกรซึ่งเป็น คนส่วนใหญ่ของประเทศได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น

 .

ขณะเดียวกันเส้นแบ่งระหว่างอุตสาหกรรมกับภาคบริการก็จะจาง หายลง เพราะเมื่อเศรษฐกิจของประเทศที่ผ่านกระบวนการการพัฒนามาถึงระดับหนึ่ง การเพิ่มมูลค่าของอุตสาหกรรมนั้นจะเป็นการกระทำโดยการเข้าไปเชื่อมโยงกับ ภาคบริการมากขึ้น โดยเฉพาะในสิ่งที่เรียกว่า " เศรษฐกิจสร้างสรรค์" ซึ่งรัฐบาลได้ประกาศเป็นนโยบายสำคัญ

 .

เช่น การเข้าไปเชื่อมโยงกับวิสาหกิจชุมชนในภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อนนำวัฒนธรรมและทุนทางสังคมที่ประเทศมีอยู่มาสร้างเป็นมูลค่าและคุณใน ทางเศรษฐกิจ เพื่อเป็นแนวทางในการหนีในเรื่องของต้นทุนที่สูงขึ้นในแง่ของการแข่งขันกับ ประเทศที่กำลังไล่ตามหลังเรามา ซึ่งตรงนี้ในปี 2553 จะต้องมีการเร่งรัดให้มีความเข้มข้นมากยิ่งขึ้นโดยจะดึงทุกภาคส่วนเข้ามาขับ เคลื่อนอย่างแท้จริงต่อไป

 .

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ถ้าเราสามารถที่จะเพิ่มมูลค่าจากเศรษฐกิจสร้างสรรค์และภูมิปัญญา ตลอดจนการวิจัยพัฒนาหรือการปรับปรุงคุณภาพมาตรฐานมากขึ้นนั้น จะเป็นการเพิ่มมูลค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยไม่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติ เพิ่มขึ้น ซึ่งตรงนี้จะเป็นแนวทางสำคัญในการช่วยส่งเสริมสนับสนุนความยั่งยืนในการเติบ โตทางด้านอุตสาหกรรมด้วย

 .

ส่วนสิ่งที่เป็นเรื่องท้าทายและปรากฏออกมาเป็นรูปธรรมมากที่ สุดในแง่ของปัญหาการพัฒนาที่ยั่งยืนของอุตสาหกรรมนั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คือ กรณีที่เกิดขึ้นที่มาบตาพุด รวมไปถึงกติกาที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่ที่เรามีรัฐธรรมนูญ ปี 2550

 .

ซึ่งถึงขณะนี้ รัฐบาลได้กำหนดกติกาในเรื่องของมาตรา 67 วรรค 2 ครบถ้วนแล้ว ในรูปแบบของประกาศของกระทรวงและรูปแบบของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี รวมทั้งต่อไปก็จะปรับปรุงขึ้นไปสู่ชั้นของการเป็นพระราชบัญญัติหรือกฎหมาย ซึ่งจะมีการนำเสนอต่อสภาพิจารณาต่อไป ทั้งนี้มั่นใจปัญหามาบตาพุดจะสามารถคลี่คลายไปได้โดยลำดับ ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาประมาณครึ่งปีจะมีความชัดเจนในเรื่องดังกล่าว

 .

ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ทั้งหมดที่มากล่าวมานั้นความจริงอยู่ในหลักการของเศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่ได้พระราชทานให้แก่คนไทยมาเป็นระยะเวลาหลายทศวรรษแล้ว ซึ่งถ้าจริงจังในเรื่องดังกล่าว คำว่า "Green GDP" เป็นเพียงแค่องค์ประกอบหนึ่งเท่านั้นของเศรษฐกิจพอเพียง

 .

พร้อมกล่าวแสดงความรู้สึกดีใจที่วันนี้สมาคมผู้สื่อข่าว เศรษฐกิจได้หยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมา และเชื่อว่าในการสัมมนาคงจะมีผู้รู้ซึ่งมีประสบการณ์จากหลายภาคส่วนมาช่วย ให้ความคิดและระดมความเห็น เพื่อประโยชน์ในการขับเคลื่อนอนาคตของเศรษฐกิจไทยต่อไป

 .
ที่มา : เว็บไซต์รัฐบาลไทย