TCDC จับมือกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดโปรเจ็กท์ใหญ่รับปีเสือทอง ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ การพัฒนาการออกแบบผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการ SMEs ตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์
TCDC จับมือกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “การพัฒนาการออกแบบผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการ SMEs ตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ |
. |
. |
ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) จับมือกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เดินหน้าขยายโอกาสทางธุรกิจแก่ผู้ประกอบการ SMEs ทั่วประเทศ เปิดโปรเจ็กท์ใหญ่รับปีเสือทอง ด้วยการร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “การพัฒนาการออกแบบผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการ SMEs ตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์” |
. |
มุ่งเน้นยกระดับมาตรฐานการดำเนินธุรกิจควบคู่กับการพัฒนา ศักยภาพของผู้ประกอบการในกลุ่มธุรกิจสร้างสรรค์ เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับเหล่าผู้ประกอบการของไทยสู่การแข่งขันในตลาด ระดับสากล |
. |
นายอภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล ผู้อำนวยการศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) เปิดเผยว่า ด้วยพันธกิจและหน้าที่หลักของศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ ที่ได้รับมอบหมายจากสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (OKMD) สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ให้เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการให้ความรู้ด้านการออกแบบและ กระตุ้นให้คนไทยรู้จักการใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์แก่สังคม |
. |
ตลอดจนให้ตระหนักถึงคุณค่าของงานออกแบบที่มีส่วนสำคัญในการ สร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจ ภายใต้แนวคิด “เศรษฐกิจสร้างสรรค์” หรือ “Creative Economy” ดังนั้น TCDC จึงได้มีการกำหนดแผนปฏิบัติการในเชิงรุก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมุ่งพัฒนาและเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางธุรกิจให้กับ กลุ่มผู้ประกอบการผ่านกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ ที่จัดขึ้นตลอดทั้งปี |
. |
นายอภิสิทธิ์กล่าวต่อไปว่า การเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการหน้าใหม่จากทุกกลุ่มธุรกิจเข้ามาร่วมในงาน เทศกาลปล่อยแสง ตลอดจนการคัดเลือกผู้ประกอบการหรือเจ้าของสินค้าในเทศกาลปล่อยแสงที่มีความ |
. |
น่าสนใจและมีศักยภาพในการพัฒนาต่อยอดสู่ตลาดธุรกิจ เพื่อเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ ภายใต้โครงการ “ต่อยอดสินค้าทำมือ สู่ตลาดทำกิน” ถือเป็นโครงการนำร่องที่สามารถสร้างผู้ประกอบการหน้าใหม่ และทำให้สินค้าและบริการเป็นที่รู้จักทั้งในและต่างประเทศ |
. |
ขณะที่ TCDC ก็ยังต้องการขยายขอบเขตการให้บริการเช่นนี้สู่กลุ่มผู้ประกอบการ SMEs ที่กระจายตัวอยู่ทั่วประเทศให้ได้มีโอกาสเข้าถึงองค์ความรู้ และเข้าเป็นหนึ่งในเครือข่ายธุรกิจสร้างสรรค์ TCDC จึงได้ดำเนินการร่วมมือกับองค์กรต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมศักยภาพของนักออกแบบและผู้ประกอบการไทยให้ได้มีเครือข่ายการ พัฒนาธุรกิจที่ขยายวงกว้างมากยิ่งขึ้น |
. |
ดังเช่นที่เมื่อเร็วๆ นี้ TCDC ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับศูนย์การออกแบบประจำประเทศไต้หวัน (Taiwan Design Center) เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันและสนับสนุนให้เกิดการจัดงาน International Design Alliance (IDA) Congress 2011 ซึ่งเปรียบได้กับมหกรรมโอลิมปิกแห่งวงการออกแบบของโลก โดยนับเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการสนับสนุนและสร้างเครือข่ายทางธุรกิจให้แก่ นักออกแบบและผู้ประกอบการไทยไปสู่ตลาดระดับสากล |
. |
นอกจากนี้ ล่าสุด TCDC ยังได้ร่วมมือกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) “การพัฒนาการออกแบบผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการ SMEs ตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์” เพื่อจัดทำ “โครงการพัฒนาและส่งเสริมภาพลักษณ์ผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการ SMEs ในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์” |
. |
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งพัฒนาและให้โอกาสแก่ผู้ประกอบการ SMEs ใน 4 กลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ 15 สาขา ครอบคลุมทั้งงานฝีมือและหัตถกรรม การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและความหลากหลายทางชีวภาพ การแพทย์แผนไทย อาหารไทย ศิลปะการแสดง ทัศนศิลป์ ภาพยนตร์และวิดีทัศน์ การพิมพ์ การกระจายเสียง ดนตรี การออกแบบ แฟชั่น สถาปัตยกรรม การโฆษณา และธุรกิจเกี่ยวกับซอฟต์แวร์ |
. |
ซึ่งผู้ประกอบการในกลุ่มดังกล่าวมีจำนวนมากกว่ากึ่งหนึ่งของ ผู้ประกอบการที่ลงทะเบียนตามฐานข้อมูลของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมทั้งหมดกว่า 2.8 ล้านรายทั่วประเทศ |
. |
สำหรับขั้นตอนการดำเนินงานในช่วงแรกของการเปิดตัวโครงการ ทั้ง 2 หน่วยงานจะร่วมกันคัดเลือกผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการจำนวน 100 คน จากนั้นผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมดจะต้องเข้าร่วมกิจกรรมสัมมนาและ Workshop ในช่วงเดือนแรก โดยมุ่งเน้นการสร้างความรู้พื้นฐานสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจสร้างสรรค์ |
. |
อาทิ การสร้างความรู้ความเข้าใจและชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของผู้ประกอบการต่อ ระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ การใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การช่วยให้ผู้ประกอบการเล็งเห็นความสำคัญของการเลือกใช้วัสดุในการสร้าง สรรค์ผลิตภัณฑ์ การอบรมความรู้เรื่องทรัพย์สินทางปัญญา |
. |
การอบรมความรู้เรื่องแหล่งเงินทุนในการต่อยอดธุรกิจ ตลอดจนเรียนรู้กระบวนการสร้างตลาดของสินค้าและบริการในโลกยุคใหม่ด้วยพื้น ฐานความเข้าใจในความต้องการของตลาดอย่างแท้จริง และจากกรณีศึกษาของผู้ประกอบการที่ผ่านการปรับปรุงและพัฒนาสินค้าในโครงการ “ต่อยอดสินค้าทำมือ สู่ตลาดทำกิน” จากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญของ TCDC และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สำคัญ |
. |
อาทิ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรมทรัพย์สินทางปัญญา และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs Bank) หลังจากนั้นจะทำการคัดเลือกผู้ประกอบการให้เหลือ 50 คน โดยกระจายการคัดเลือกให้มีประเภทสินค้าต่างๆ อย่างเท่าเทียม ซึ่งจะใช้เกณฑ์การพิจารณาถึงความเป็นได้ในการพัฒนาธุรกิจ ความมุ่งมั่นและความตั้งใจ รวมถึงสมรรถนะทางการเงินของผู้ประกอบการเป็น |
. |
จากนั้นในเดือนที่ 2 และ 3 ผู้ประกอบการที่ผ่านการคัดเลือก จะต้องเข้าร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ โดยเน้นเนื้อหาที่เจาะลึกมากยิ่งขึ้น อาทิ การสร้างความพิเศษและเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ การจัดแบ่งประเภทของกลุ่มผลิตภัณฑ์เพื่อการพัฒนาสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการวิเคราะห์ต้นทุน กำลังการผลิต การวิเคราะห์กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย การทดลองและการจัดทำสินค้าต้นแบบ |
. |
การออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ การสร้างช่องทางการจัดจำหน่าย ตลอดจนการทดลองการจำหน่าย และสำรวจผลตอบรับจากลูกค้า เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงคุณภาพ โดยทาง TCDC จะมีการติดตามวัดผลคุณภาพและพัฒนาการของสินค้าในทิศทางที่ดีขึ้น รวมถึงโอกาสในการขายสู่ตลาดจริงทั้งในและต่างประเทศ |
. |
นอกจากนี้ หลังจากจบโครงการ ผู้ประกอบการที่ผ่านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ จะต้องสามารถต่อยอดพัฒนาสินค้าหรือสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ได้อย่างน้อย 1 ผลงาน และจะได้รับโอกาสในการเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลปล่อยแสง คิด/ทำ/กิน และโอกาสในการนำผลิตภัณฑ์มาวางจำหน่าย ณ The Shop@ TCDC อีกด้ว |
. |
นายอาทิตย์ วุฒิคะโร อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า การจัดตั้งโครงการดังกล่าวถือเป็นโครงการที่สอดรับกับพันธกิจของกรมฯ และทางกรมฯ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนของ TCDC ในแง่ของการส่งเสริมและสนับสนุนโอกาสการเข้าถึงองค์ความรู้ด้านความคิดสร้าง สรรค์และการออกแบบ |
. |
ตลอดจนโอกาสในการเติบโตทางธุรกิจของผู้ประกอบการ SMEs ให้ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการยกระดับมาตรฐานสินค้าและบริการให้มีความเข้ม แข็งและสามารถทำตลาดได้จริงทั้งในและต่างประเทศ |
. |
ทั้งนี้ ทางกรมฯ จะเข้าไปมีบทบาทในแง่ของการสรรหาและคัดเลือกผู้ประกอบการ SMEs จากทั่วประเทศที่ลงทะเบียนในฐานข้อมูล จากนั้นจะนำข้อมูลที่มีอยู่มาคัดกรองประเภทของธุรกิจและพิจารณาความเหมาะ สมในเชิงกายภาพของผู้ประกอบการที่เข้าหลักเกณฑ์ของโครงการในเบื้องต้น และจะดำเนินการจัดส่งรายชื่อและจำนวนของผู้ประกอบการมายัง TCDC เพื่อพิจารณาและวิเคราะห์ข้อมูลผู้ประกอบการในเชิงลึกในลำดับต่อไป |
. |
นอกจากนี้ ยังได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลผู้ประกอบการในเชิงลึกกับทาง TCDC โดยเฉพาะข้อมูลการดำเนินธุรกิจ การสำรวจปัญหาและอุปสรรคของผู้ประกอบการ ตลอดจนการร่วมนำเสนอแนวทางในการสรรหาปัจจัยที่ผู้ประกอบการ SMEs ในธุรกิจสร้างสรรค์ต้องการเพิ่มเติมอีกด้วย |
. |
ทั้งนี้เพื่อร่วมเติมเต็มความต้องการ รวมถึงเสริมสร้างและขยายโอกาสให้กับกลุ่มผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมสร้าง สรรค์ของไทยได้มีเวทีและช่องทางในการนำเสนอผลงานจากความคิดสร้างสรรค์สู่ สาธารณชนได้ต่อไปในอนาคต |