บีโอไอเผย คำขอรับส่งเสริมลงทุนปี 52 สูงสุดในรอบ 40 ปี คุยโวมาตรการพิเศษกระตุ้นการลงทุนมาแรงปลายปี ดูดเงินลงทุนทะลักกว่า 7 แสนล้าน
บีโอไอเผย คำขอรับส่งเสริมลงทุนปี 52 สูงสุดในรอบ 40 ปี มาตรการพิเศษกระตุ้นการลงทุนมาแรงปลายปี ดูดเงินลงทุนทะลักกว่า 7 แสนล้าน |
. |
. |
ความสนใจเข้ามาลงทุนในประเทศไทยของปี 2552 กลายเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทั้งที่อยู่ในช่วงเศรษฐกิจโลกเพิ่งฟื้นตัว และประเทศไทยอยู่ระหว่างแก้ไขปัญหา มาบตาพุด แต่คำขอรับส่งเสริมการลงทุนในปี 2552 กลับมีมูลค่าเงินลงทุนสูงที่สุดในรอบกว่า 40 ปี |
. |
โดยเป็นผลมาจากมาตรการกระตุ้นการลงทุนตามนโยบายปีแห่งการลงทุน ซึ่งหมดอายุลงเมื่อสิ้นปี 2552 จึงทำให้มีโครงการลงทุน แห่ยื่นขอรับส่งเสริมจำนวนมาก เงินลงทุนรวมสูงถึง 7.234 แสนล้านบาท |
. |
นางอรรชกา สีบุญเรือง เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เปิดเผยถึงภาวะ การลงทุนในปี 2552 ที่ผ่านมา ว่า ถือเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนตั้งแต่มีการส่งเสริมการลงทุนในประเทศไทยมากว่า 40 ปี เพราะจากการรวบรวมสถิติคำขอรับการส่งเสริม |
. |
ล่าสุดพบว่า มีจำนวนโครงการยื่นขอรับส่งเสริม 1,573โครงการ รวมมูลค่าเงินลงทุนสูงถึง 723,400 ล้านบาท ซึ่งแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยยังมีปัจจัยดีๆ ทำให้นักลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศมีความเชื่อมั่นต่อประเทศไทย แม้ว่าจะอยู่ในช่วงแก้ไขปัญหาการลงทุนในพื้นที่มาบตาพุดก็ตาม |
. |
ทั้งนี้ การที่มีคำขอรับส่งเสริมการลงทุนเข้ามาเป็นจำนวนมากในช่วงปลายปีที่ผ่านมา เนื่องจากมาตรการพิเศษกระตุ้นการลงทุน ตามนโยบายปีแห่งการลงทุน พ.ศ. 2551 – 2552 ที่ให้สิทธิประโยชน์เป็นพิเศษแก่กิจการใน 6 กลุ่มอุตสาหกรรม มีกำหนดสิ้นสุดลงในปี 2552 จึงทำให้โครงการลงทุนจำนวนมาก ยื่นขอรับส่งเสริมเข้ามาในช่วงปลายปี ส่งผลให้ให้มูลค่าเงินลงทุนของโครงการที่ขอรับส่งเสริมในปี 2552 สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ ตอนช่วงต้นปีที่ 400,000 ล้านบาท ถึง 323,400 ล้านบาท หรือสูงกว่าเป้าหมายร้อยละ 80 |
. |
สำหรับอุตสาหกรรมที่มีความสนใจจะเข้ามาลงทุนในไทยมากที่สุดคือ กลุ่มอุตสาหกรรมบริการและสาธารณูปโภค จำนวน 709 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวม 430,800 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็นโครงการที่ต้องการลงทุนในด้านพลังงานทดแทน เช่น การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ การผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติ |
. |
รองลงมาเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า จำนวน 219 โครงการ มูลค่า 100,900 ล้านบาท ส่วนใหญ่มีความสนใจจะลงทุนในกิจการผลิตชิ้นส่วนฮาร์ด ดิสก์ ไดรฟ์ กิจการผลิตแผงวงจรรวม กิจการผลิตชิ้นส่วนกล้องดิจิตอล กิจการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์สำหรับรถยนต์ และกิจการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น |
. |
อันดับ 3 คืออุตสาหกรรมเกษตรและผลิตผลจากการเกษตร จำนวน 212 โครงการ รวมมูลค่าเงินลงทุน 66,800 ล้านบาท ส่วนใหญ่มีความสนใจจะลงทุนในกิจการผลิตพลังงานทดแทนจากพืช เช่น เอทานอล และไบโอดีเซล กิจการผลิตอาหารสำเร็จรูป และอาหารแปรรูป |
. |
และอันดับ 4 คือ อุตสาหกรรมยานยนต์ ชิ้นส่วน เครื่องจักร และโลหะจำนวน 217 โครงการ รวมมูลค่าเงินลงทุน 55,500 ล้านบาท ส่วนใหญ่มีความสนใจจะลงทุนในกิจการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ทั้งชิ้นส่วนสำหรับรถยนต์ทั่วไปและชิ้นส่วนสำหรับรถยนต์ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ |
. |
ทั้งนี้ โครงการที่ยื่นขอรับส่งเสริมในปีที่ผ่านมา มีโครงการขนาดใหญ่มูลค่าเงินลงทุนสูงกว่าหนึ่งพันล้านบาท เป็นจำนวนถึง 106 โครงการ รวมมูลค่าเงินลงทุนถึง 460,300 ล้านบาท แต่กิจการที่ยื่นขอรับส่งเสริมมากที่สุดเป็นกิจการขนาดกลาง มูลค่าระหว่าง 20 ล้านบาท ถึง 200 ล้านบาท เป็นจำนวน 689 โครงการ รวมมูลค่าเงินลงทุน 52,600 ล้านบาท |