กลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต ซึ่งจากโครงสร้าง
จากครั้งที่แล้วเราได้เรียนรู้ถึง จุดกำเนิดของ Macro Economics ซึ่งเป็นแนวความคิดทางเศรษฐศาสตร์แบบเคนส์ซึ่งปรากฏในหนังสือทฤษฎีทั่วไป (The General Theory) ในครั้งนี้ผู้เขียนจะแสดงให้เห็นถึงแนวคิดดังกล่าวมีส่วนหรือนำมาใช้กับเศรษฐกิจของประเทศไทยในปัจจุบันอย่างไรบ้าง และได้นำเสนอแนวความคิดเพิ่มเติมในส่วนของการจัดการด้านอุปทานและการนำมาผสมผสานกับการจัดการด้านอุปสงค์ซึ่งเป็นอิทธิพลของเคนส์ โดยขอนำเสนอออกมาเป็น Triangular Track Policy |
. |
แนวความคิดเกี่ยวกับนโยบายการบริหารเศรษฐกิจ |
นโยบายการบริหารเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งมีเป้าประสงค์เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และกระตุ้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจนั้น ประกอบด้วย 2 แนวทางหลัก ๆ โดยแนวทางแรก เป็นแนวทางการจัดการแบบมุ่งเน้นอุปสงค์ (Demand Management) และแนวทางที่สอง เป็นแนวทางการจัดการแบบมุ่งเน้นอุปทาน (Supply Management) ทั้งนี้เป็นเพราะผลผลิต หรือรายได้ที่แท้จริงของประเทศในระยะยาว จะถูกกำหนดจากปัจจัยทางด้านอุปทานเป็นหลัก ส่วนแนวทางการจัดการทางด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการใช้นโยบายการเงินและการคลังนั้น จะมีผลต่อการเพิ่มผลผลิตและรายได้ในระยะสั้นเท่านั้น |
. |
สำหรับประเทศไทยนั้นรัฐบาล พ.ต.ท.ดร.
|
. |
แนวทางการบริการเศรษฐกิจแบบมุ่งเน้นการจัดการด้านอุปสงค์ |
ตลอดช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยได้เจริญเติบโตขึ้นอย่างมาก โดยทั้งนี้เป็นผลอันสืบเนื่องมาจากการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่หลาย ๆ คนเรียกว่า “Dual Track Policy” หรือการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจแบบคู่ขนาน ซึ่งเป็นนโยบายเศรษฐกิจที่เน้นการจัดการทางด้านอุปสงค์ (Demand Management) ตามแนวความคิดของ John Maynard Keynes นักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษ (ซึ่งผู้เขียนได้กล่าวถึงแนวความคิดดังกล่าวแล้วในสองครั้งที่ผ่านมา) โดยนโยบายที่ว่านี้ เป็นนโยบายที่มุ่งเน้นการกระตุ้นเศรษฐกิจให้เจริญเติบโตโดยใช้วิธีการจัดการกับอุปสงค์รวมในระบบเศรษฐกิจ (Aggregate Demand) ผ่านการใช้นโยบายเศรษฐกิจมหภาค อันได้แก่ นโยบายการเงิน นโยบายการคลัง และนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน เป็นต้น |
. |
. |
สำหรับนโยบายเศรษฐกิจแบบคู่ขนานหรือ Dual Track Policy ที่รัฐบาล พ.ต.ท. ดร.
|
. |
สำหรับมาตรการทางเศรษฐกิจที่รัฐบาล พ.ต.ท. ดร.
|
. |
แนวทางการบริการเศรษฐกิจแบบมุ่งเน้นการจัดการด้านอุปทาน |
เดิมที่เดียวนั้น ทิศทางการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลในประเทศต่าง ๆ จะเน้นการเก็บภาษีมาก ๆ เพื่อนำเงินมาใช้จ่ายในด้านต่าง ๆ โดยมีปรัชญาในการบริหารว่า “หากรัฐยิ่งเก็บภาษี และนำมาใช้จ่ายมากเท่าไร เศรษฐกิจของประเทศก็จะยิ่งพัฒนาได้อย่างรวดเร็วมากขึ้นเท่านั้น” แต่อย่างไรก็ตาม ก็ได้มีผู้ที่ออกมาโต้แย้งว่า เมื่ออัตราภาษีอยู่ในระดับที่สูง ในขณะที่รัฐบาลใช้จ่ายเงินในด้านสวัสดิการสังคมในจำนวนมาก ก็อาจจะส่งผมทำให้ประชาชนมีแรงจูงใจในการประกอบอาชีพลดลง แต่จะหันมาแบมือขอเงินช่วยเหลือจากรัฐมากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงก่อให้เกิดแนวคิดของการบริหารเศรษฐกิจแบบมุ่งเน้นการจัดการด้านอุปทาน (Supply Management) |
. |
แนวความคิดเรื่องการบริหารเศรษฐกิจแบบมุ่งเน้นการจัดการด้านอุปทานนั้น ได้กำเนิดขึ้นในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศในทวีปยุโรปกำลังอยู่ในช่วงประสบกับปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ โดยเป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่ประเทศเหล่านั้นประสบกับวิกฤติการณ์ทางด้านงบประมาณ และดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลเรื้อรัง ซึ่งส่งผลทำให้จำเป็นต้องประกาศยกเลิกการแลกเปลี่ยนดอลลาร์เป็นทองคำในปี 1971 รวมทั้งเกิดวิกฤติการณ์น้ำมัน 2 ครั้ง คือ ในปี 1973 และ 1979 ซึ่งเป็นผลทำให้ปริมาณการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศหดตัวลง และในท้ายที่สุดได้ส่งผลทำให้เศรษฐกิจของประเทศเหล่านั้นต้องตกอยู่ในสถานการณ์ที่มีปัญหาเงินเฟ้อ และมีการว่างงานในอัตราที่สูงเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน (Stagflation) ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และปรากฏการณ์ดังกล่าวก็มีความขัดแย้งกับคำอธิบายของสำนักเคนส์ ซึ่งมุ่งเน้นให้ภาครัฐบาลเข้ามาแทรกแซงหรือเข้ามาจัดการกับระบบเศรษฐกิจ เพื่อสร้างเสถียรภาพและการเจริญเติบโตให้กับระบบเศรษฐกิจ โดยผ่านการจัดการทางด้านอุปสงค์ และด้วยเหตุนี้เองจึงก่อให้เกิดการปรับทิศทางการบริหารเศรษฐกิจจากนโยบายที่มุ่งเน้นการจัดการ “ด้านอุปสงค์” ซึ่งมุ่งเน้นการจัดเก็บภาษีมาก ๆ เพื่อนำมาใช้จ่าย มาเป็นนโยบายที่มุ่งเน้นการจัดการ “ด้านอุปทาน” หรือที่เรียกว่า “Supply Side Policy” ซึ่งเป็นนโยบายที่มีความพยายามที่จะกระตุ้นให้ภาคธุรกิจหรือภาคเอกชน เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของตนเองให้มากขึ้น โดยผ่านทางการดำเนินมาตรการต่าง ๆ เช่น การลดอัตราภาษี ในประเทศสหรัฐอเมริกาในยุคที่มีนาย
|
. |
ตามคำอธิบายของนักเศรษฐศาสตร์ด้านอุปทาน (Supply Side Economists) นั้น เชื่อว่า เมื่อรัฐบาลประกาศลดอัตราภาษีลง แทนที่จะทำให้รายได้ภาษีที่รัฐบาลจัดเก็บได้ลดลง กลับจะทำให้รัฐบาลสามารถเก็บรายได้ภาษีได้มากขึ้น กล่าวคือ เมื่อรัฐบาลปรับลดอัตราภาษีลง จะมีผลต่อระบบเศรษฐกิจ 2 ส่วน คือ ภาคครัวเรือน และภาคธุรกิจ โดยในภาคครัวเรือนนั้น เมื่อรัฐบาลปรับลดอัตราภาษีลง จะมีผลทำให้รายได้เพื่อการจับจ่ายใช้สอยของภาคครัวเรือนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่จะเป็นตัวไปกระตุ้นให้เกิดอุปสงค์ หรือความต้องการขึ้นในตลาดสินค้าและบริการ และในขณะเดียวกัน เมื่อรัฐบาลประกาศปรับลดอัตราภาษีลงก็จะกระตุ้นให้ภาคธุรกิจมีการลงทุนผลิตสินค้าและบริการเพิ่มมากขึ้น ซึ่งก็จะส่งผลทำให้เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้นตามมา และเมื่อปริมาณอุปทานของสินค้าและบริการมีมากขึ้น ราคาสินค้าและบริการในตลาดก็จะลดลง ซึ่งก็จะส่งผลทำให้อัตราเงินเฟ้อในระบบเศรษฐกิจปรับตัวลดลง ด้วยเหตุนี้ เมื่อประกาศลดอัตราภาษีลง แทนที่จะทำให้รายได้ภาษีที่รัฐบาลจัดเก็บได้ลดลง กลับจะทำให้รัฐบาลสามารถเก็บรายได้ภาษีได้มากขึ้น เนื่องจากฐานภาษีมีขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งก็จะส่งผลทำให้รัฐบาลสามารถเก็บภาษีได้มากขึ้น ชดเชยกับรายได้ที่สูญเสียไปจากการปรับลดอัตราภาษี |
. |
ในกรณีของประเทศไทยนั้น รัฐบาล พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร ได้นำเอาแนวคิดของการบริหารเศรษฐกิจแบบมุ่งเน้นการจัดการด้านอุปทานมาปรับใช้ โดยผ่านทางนโยบายพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งเป็นนโยบายที่มุ่งเน้นการปรับโครงสร้างภาคการผลิตของประเทศ หรือภาคเศรษฐกิจจริง (Real Sector) ให้มีความแข็งแกร่ง และมีความสามารถในการปรับตัว เพื่อรองรับการแข่งขันที่มีแนวโน้มรุนแรงมากยิ่งขึ้นในอนาคต |
. |
สำหรับเครื่องมือที่รัฐบาลได้นำมาใช้ เพื่อปรับโครงสร้างเศรษฐกิจทางด้านอุปทานของประเทศไทยนั้น แม้ว่าจะไม่ได้นำเอามาตรการปรับลดอัตราภาษีมาใช้เหมือนเช่นกรณีของประเทศสหรัฐอเมริกา ในยุคที่นาย
|
. |
การผสมผสานระหว่างแนวทางการบริหารเศรษฐกิจ |
แบบมุ่งเน้นการจัดการด้านอุปสงค์และอุปทาน |
จากที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่า รัฐบาล พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร ได้ทำการผสมผสานแนวคิดในการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจ ระหว่างแนวคิดการบริหารเศรษฐกิจแบบมุ่งเน้นการจัดการด้านอุปสงค์ (Demand Management) ซึ่งเน้นการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศผ่านทางมาตรการกึ่งการคลัง (Quasi-Fiscal Activities) เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับรากหญ้า ควบคู่ไปกับการกระตุ้นเศรษฐกิจภายนอกประเทศผ่านทางมาตรการเจรจาเพื่อเปิดเขตการค้าเสรี หรือนโยบายเศรษฐกิจแบบคู่ขนาน (Dual Track Policy) กับแนวคิดการบริหารเศรษฐกิจแบบมุ่งเน้นการจัดการด้านอุปทาน (Supply Management) ผ่านมาตรการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน เพื่อให้เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต ซึ่งจากโครงสร้างสถาปัตยกรรมทางเศรษฐกิจ (Economic Architecture) ดังกล่าว จะเห็นการเชื่อมโยงระหว่างแนวทางการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจ 3 แนวทาง ซึ่งอาจจะเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า นโยบายเศรษฐกิจแบบ 3 ประสาน (Triangular Track Policy) |
. |
เอกสารอ้างอิง |
1. ถวิล นิลใบ, Supply Side Economics. เอกสารประกอบการบรรยายวิชา EC602: เศรษฐศาสตร์มหภาค 2. ถวิล นิลใบ, Thaksinomics: Dual Track Policy and Social Capitalism. เอกสารประกอบการบรรยายวิชา EC219: วิเคราะห์เศรษฐกิจไทย |