ทัศนคติด้านบวกของธุรกิจทั่วโลกพลิกฟื้น ส่งผลให้ดัชนีชี้วัดทัศนคติด้านบวก/ลบสำหรับปี 2010 ที่จัดทำโดยแกรนท์ ธอร์นตัน มีค่าดุลยภาพทัศนคติด้านบวก* ที่ +24% เปรียบเทียบกับค่าดุลยภาพทัศนคติด้านลบที่ต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์ที่ -16% ในช่วงเวลาเดียวกันเมื่อปีที่ผ่านมา |
. |
สำหรับประเทศไทย รายงานผลการสำรวจธุรกิจนานาชาติ (The Grant Thornton International Business Report: IBR) ของแกรนท์ ธอร์นตัน ที่ได้สำรวจทัศนคติของธุรกิจจำนวนกว่า 7,400 รายจาก 36 กลุ่มเศรษฐกิจต่อเนื่องเป็นปีที่ 18 ระบุว่าค่าดุลยภาพทัศนคติด้านบวกพลิกกลับไปที่ +12% ในปีนี้ เปรียบเทียบกับ -64% เมื่อปี 2009 และ -30% เมื่อปี 2008 |
. |
ธุรกิจในชิลี อินเดีย ออสเตรเลีย เวียดนาม และบราซิล มีทัศนคติด้านบวกสูงที่สุดในโลก โดยล้วนมีค่าดุลยภาพทัศนคติสูงกว่า +70% ในขณะที่หลายประเทศในยุโรป ได้แก่ อิตาลี เดนมาร์ค ฟินแลนด์ และฝรั่งเศส กลับมีทัศนคติด้านลบเกี่ยวกับอนาคต โดยมีค่าดุลยภาพอยู่ที่ +9% หรือต่ำกว่า |
. |
อาทิ กรีซ (-23%) และไอร์แลนด์ (-42%) ซึ่งมีความมืดมัวยิ่งกว่า และที่ต่ำที่สุด ได้แก่ สเปน (-56%) และญี่ปุ่น (-72%) ที่ยังคงเป็นกลุ่มเศรษฐกิจที่มีทัศนคติด้านลบที่สุดในโลก แม้ว่าตัวเลขจะสูงขึ้นกว่าปีที่แล้วเล็กน้อย |
. |
ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับ GDP ของ IMF เมื่อปี 2009 ไม่น่าแปลกใจที่กลุ่มเศรษฐกิจที่ผ่านการหลีกเลี่ยงผลกระทบที่ย่ำแย่ที่สุดของสภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว (ยกตัวอย่างเช่น ออสเตรเลีย จีน อินเดีย และเวียดนาม) หรือประสบความยากลำบากเพียงเล็กน้อย (เช่น บราซิล ฮ่องกง แคนาดา และนิวซีแลนด์) ล้วนแต่อยู่ในอันดับต้นๆ ของผลการสำรวจทัศนคติด้านบวกในปีนี้ |
. |
อย่างไรก็ตาม สำหรับปี 2010 มีข้อมูลที่น่าสนใจได้ปรากฏขึ้นมาในทิศทางตรงกันข้ามกับ คาดการณ์ GDP ของ IMF โดยมีธุรกิจในหลายพื้นที่ที่แตกต่างกัน อาทิ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ แคนาดา มาเลเซีย และเยอรมัน ที่มีค่าดุลยภาพทัศนคติด้านบวกสูงกว่าที่คาดไว้ (ภาพประกอบ 2) |
. |
ส่วนประเทศไทยได้เผชิญกับสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวอย่างรุนแรง แต่คาดการณ์ล้วนระบุถึงการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งภายในอีกไม่กี่ไตรมาสข้างหน้า โดยผลสำรวจ IBR นั้นสอดคล้องกับคาดการณ์ดังกล่าว โดยมีทัศนคติด้านบวกแกว่งตัวจากระดับที่ลบอย่างมากเมื่อปีที่แล้วไปยังระดับที่ค่อนข้างเป็นบวกที่ 12% ในปีนี้ โดยภาพประกอบ 2 อธิบายว่าผู้ประกอบธุรกิจชาวไทยมีทัศนคติด้านลบมากกว่าที่คาดการณ์ GDP ระบุไว้เล็กน้อย |
. |
เอียน แพสโค กรรมการบริหาร แกรนท์ ธอร์นตัน ในประเทศไทย กล่าวว่า “คำถามสำหรับประเทศไทยก็คือ ผลทัศนคติด้านบวกที่ได้รับการสำรวจครั้งใหม่นี้จะกลายเป็นความจริงได้ในสภาพแวดล้อมทางการเมืองที่ซับซ้อนของประเทศไทยได้หรือไม่ |
. |
ในขณะที่ความแข็งแกร่งของประเทศไทยคือสินค้าและบริการสำหรับส่งออกที่เป็นที่ต้องการ แต่ประเทศไทยยังต้องการตลาดในประเทศที่มั่นใจได้ รวมทั้งการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ ซึ่งทั้งหมดนี้อาจถูกกระทบกระเทือนได้จากความไม่มั่นคงทางการเมือง” |
. |
นอกจากนี้ เมื่อให้ผู้เข้าร่วมการสำรวจจัดอันดับแนวโน้มทางธุรกิจสำหรับปี 2010 พบว่าความคาดหวังต่อรายรับที่สูงขึ้นในปี 2010 ได้รับการจัดอันดับสูงสุด (ที่ +40%) ตามด้วยมุมมองด้านบวกอย่างน่าประหลาดใจว่าการลงทุนในโรงงาน/เครื่องจักร (+31%) และความสามารถในการทำกำไร (+29%) จะเพิ่มสูงขึ้นทั้งสองรายการ |
. |
ส่วนผู้ประกอบการชาวไทยนั้นมีทัศนคติด้านบวกต่อทุกแนวโน้มธุรกิจสูงกว่าปีที่แล้ว โดยทัศนคติด้านบวกต่อการเพิ่มขึ้นของรายรับอยู่ที่ +39% และต่อการเพิ่มขึ้นของผลกำไรอยู่ที่ +30% อย่างไรก็ตาม แม้ว่าผลการสำรวจจะเป็นไปในทิศทางบวก แต่ผู้ประกอบการชาวไทยคาดว่าการลงทุนในโรงงาน/เครื่องจักรจะอยู่ที่ +17% ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาคและของโลก |
. |
เอียน แพสโค กล่าวว่า “ผลการสำรวจดังกล่าวเสนอแนะว่าในช่วงสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวนั้น ธุรกิจต่างๆ ได้กลายเป็นผู้เรียนรู้และมีการใช้ทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่ายิ่งขึ้น ซึ่งช่วยให้ลดราคาขายลงได้ในขณะที่ยังคงรักษารายได้ที่เพิ่มขึ้นและที่สำคัญคือผลกำไรที่สูงขึ้น |
. |
เมื่อเศรษฐกิจโลกเคลื่อนตัวออกจากสภาวะชะลอตัวของเศรษฐกิจ เราจึงมีแนวโน้มที่จะเห็นหลายธุรกิจเก็บเกี่ยวผลสำเร็จจากการพัฒนาประสิทธิผลในช่วงสภาวะเศรษฐชะลอตัวและนำไปสู่เศรษฐกิจขาขึ้น” |
. |
เมื่อสอบถามถึงความคาดหวังต่อการจ้างงานในปี 2010 ธุรกิจในยุโรปมีทัศนคติด้านลบยิ่งกว่าพื้นที่อื่นๆ ทั่วโลก โดยมีค่าดุลยภาพทัศนคติที่ -1% เปรียบเทียบกับ +33% และ +42% ในเอเชียแปซิฟิกและละตินอเมริกาตามลำดับ ทั้งนี้ ค่าดุลยภาพทัศนคติที่ +28%ของประเทศไทยนั้นสูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลก (+20%) แต่ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของเอเชียแปซิฟิกที่ +33% |
. |
มร. แพสโค กล่าวสรุปว่า “เนื่องจากการสำรวจของเราครอบคลุมภูมิศาสตร์ที่มี GDP รวมกว่า 81% ของ GDP รวมของโลก ดังนั้น ผลสำรวจของเราจึงน่าจะให้ความมั่นใจแก่กลุ่มธุรกิจทั่วโลก |
. |
หลายคนกล่าวโทษโลกาภิวัฒน์ว่าเป็นสาเหตุของการที่เศรษฐกิจตกต่ำอย่างรวดเร็ว แต่ขณะนี้เราได้เห็นว่าโลกาภิวัฒน์อาจมีส่วนช่วยให้โลกเราเคลื่อนตัวพ้นจากความชะลอตัวได้รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยรายงานฉบับนี้เสนอแนะว่าธุรกิจต่างๆ ในกลุ่มเศรษฐกิจที่กำลังขยายตัว ได้แก่ จีน อินเดีย และบราซิล ล้วนมั่นใจว่าสามารถช่วยผลักดันให้ทั่วโลกมีการเติบโตได้ |
. |
ส่วนธุรกิจในกลุ่มเศรษฐกิจอื่นก็มีทัศนคติด้านบวกเช่นเดียวกันว่าตนเองได้ผ่านพ้นสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว และอยู่ในตำแหน่งที่สามารถเป็นแรงขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจอยู่ในสภาวะขาขึ้น และจะเห็นการเติบโตของบริษัทเป็นผลลัพธ์ได้ โดยรัฐบาลประเทศต่างๆ ก็มุ่งหวังว่าทัศนคติด้านบวกนี้จะนำมาสู่ความเป็นจริง” |