นายอดุลย์ ฉายอรุณ รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน เปิดเผยถึง ความคืบหน้าการดำเนินโครงการการส่งเสริมการจัดการด้านการใช้พลังงานโดยวิธีประกวดราคาหรือ DSM Bidding ว่า จากการดำเนินโครงการมาตั้งแต่ปี 2550 – 2552 ได้เปิดรับข้อเสนอโครงการจากผู้ประกอบการแล้ว 6 รอบ |
. |
โดยมีผู้สนใจจัดทำรายละเอียดข้อเสนอโครงการเสนอขอรับการสนับสนุนมากกว่า 150 บริษัท รวมประมาณ 250 ข้อเสนอ โดยมีผู้ผ่านการพิจารณาและได้รับการสนับสนุนรวม 170 ข้อเสนอ |
. |
ซึ่งคาดว่าจะสามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้ 250 ล้านหน่วยต่อปี ลดการใช้พลังงานความร้อนจากเชื้อเพลิงได้ 2.8 ล้าน MMBtu ต่อปี (เทียบเท่าน้ำมันดิบ 79 ล้านลิตร/ปี) ก่อให้เกิดการลงทุนด้านการอนุรักษ์พลังงานมากกว่า 3,000 ล้านบาท โดยกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานได้สนับสนุนเงินให้ผู้ประกอบการรวมทั้งสิ้น 365 ล้านบาท |
. |
ทั้งนี้จากผลการดำเนินงานที่ผ่านมาถือว่าประสบความสำเร็จด้านการประหยัดพลังงาน เกินเป้าหมาย โดยเฉพาะด้านพลังงานความร้อนที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้ 1.7 ล้าน MMBtu ต่อปี (เทียบเท่าน้ำมันดิบ 48 ล้านลิตร/ปี) |
. |
สำหรับเป้าหมายการประหยัดพลังงานไฟฟ้า 375 ล้านหน่วยต่อปี จากข้อเสนอทั้ง 6 รอบที่ผ่านมาทำได้แล้ว 250 ล้านหน่วยต่อปี หรือคิดเป็นประมาณ 66% ของตัวเลขผลประหยัดตามเป้าหมายการดำเนินโครงการฯ |
. |
สำหรับในปี 2553 ได้เปิดข้อเสนอ 2 รอบ คือ รอบที่ 7 วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2553 และรอบที่ 8 วันที่ 18 พฤษภาคม 2553 โดยตั้งงบประมาณสนับสนุนรวมประมาณ 600 ล้านบาท ในอัตราเงินสนับสนุนประเภทพลังงานไฟฟ้า สูงสุด 1 บาทต่อหน่วย |
. |
สำหรับพลังงานความร้อนที่ใช้เชื้อเพลิงแข็ง เช่น ถ่านหิน แกลบ และวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร กำหนดอัตราเงินสนับสนุนสูงสุด 15 บาทต่อล้านBtu ส่วนพลังงานความร้อนที่ใช้เชื้อเพลิงเหลวและก๊าซ เช่น น้ำมันเตา LPG และก๊าซธรรมชาติ กำหนดอัตราเงินสนับสนุนสูงสุด 15 บาทต่อล้านBtu |
. |
นอกจากนี้ยังให้อัตราสนับสนุนแก่เชื้อเพลิงผลพลอยได้จากกระบวนการผลิต เช่น น้ำกากส่า น้ำมันยางดำ สูงสุด 15 บาทต่อล้านBtu ส่วนกรณีการใช้เชื้อเพลิง 2 ประเภท ที่อัตราสนับสนุนแตกต่างกัน จะให้อัตรา 15 บาทต่อล้านBtu |
. |
ที่มา : สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน |