ท่าเรือน้ำลึกปากบารา เร่งเดินหน้าเปิด EIA ตั้งนิคมอุตสาหกรรมขนาดกว่า 1.5 แสนไร่ในเขตอำเภอละงู ผุดอุตสาหกรรมทั้งหนัก-เบา โรงเหล็กเหล็กกล้า โรงผลิตพลาสติก สร้างระบบขนส่งทางท่อ ส่งน้ำมัน ก๊าซ สารเคมี
ท่าเรือน้ำลึกปากบารา เร่งเดินหน้าเปิด EIA ตั้งนิคมอุตสาหกรรมขนาดกว่า 1.5 แสนไร่ในเขตอำเภอละงู ผุดอุตสาหกรรมทั้งหนัก-เบา โรงเหล็ก–เหล็กกล้า โรงผลิตพลาสติก สร้างระบบขนส่งทางท่อ ส่งน้ำมัน ก๊าซ สารเคมี |
. |
แผนที่ จ.สตูล และท่าเรือน้ำลึกปากบารา บริเวณที่เป็นนิคมอุตสาหกรรมละงู จ.สตูล ขนาด 150,000 ไร่ คือบริเวณที่เป็นสีชมพู |
. |
รายงานข่าวจากสำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแจ้งว่า รายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ได้ระบุถึงยุทธศาสตร์ในการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกปากบารา อำเภอละงู จังหวัดสตูลว่า การพัฒนาท่าน้ำลึกปากบาราให้ประสบความสำเร็จ รัฐบาลจำเป็นจะต้องดำเนินการแบบบูรณาการและมียุทธศาสตร์ที่เป็นรูปธรรม ประกอบด้วย |
. |
ยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรม ที่มีวัตถุประสงค์ต้องการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกปากบาราให้เป็นพื้นที่อุตสาหกรรม เพื่อลดต้นทุนการผลิตและส่งเสริมการส่งออก ประกอบด้วย |
. |
ท่าเรือน้ำลึกสำหรับการส่งสินค้าออกและนำเข้าในพื้นที่เหมาะสม ซึ่งในที่นี้ได้แก่ท่าเรือน้ำลึกปากบารา ซึ่งควรพัฒนาเป็นท่าเรือเอนกประสงค์ (Multi – purpose Port) กล่าวคือ เป็นท่าเรือขนส่งสินค้าแบบใส่ตู้สินค้า แบบเทกอง และสินค้าเหลวทางท่อ ได้แก่ น้ำมัน แก๊ส สารเคมี |
. |
นิคมอุตสาหกรรม ที่ต้องพัฒนาควบคู่กับท่าเรือน้ำลึก ซึ่งมีพื้นที่ที่มีศักยภาพสำหรับพัฒนาเป็นนิคมอุตสาหกรรมอยู่ประมาณ 150,000 ไร่ ในบริเวณอำเภอละงู จังหวัดสตูล (ดูในรูป) นิคมอุตสาหกรรมในที่นี้แบ่งเป็น 3 เขต คือ |
. |
1.เขตอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก (Export Processing Zone) เป็นเขตอุตสาหกรรมผลิตเพื่อการส่งออกทั้งหมด โดยไม่ต้องผ่านพิธีการศุลกากร ทั้งในกรณีนำวัตถุดิบเข้า และเมื่อส่งออกสินค้าสำเร็จรูป ซึ่งจะช่วยให้รวดเร็วและลดต้นทุนการผลิตกับต้นทุนโลจิสติกส์ |
. |
เขตอุตสาหกรรมหนัก ที่ใช้เทคโนโลยีสะอาดปราศจากมลพิษ อุตสาหกรรมหนัก หมายถึง อุตสาหกรรมที่มีความเชื่อมโยงไปข้างหน้า (Backward Linkage) สูง เช่น อุตสาหกรรมพลาสติก เป็นต้น |
. |
เขตอุตสาหกรรมเบา เป็นอุตสาหกรรมที่มีความเชื่อมโยงไปข้างหน้าและข้างหลัง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค เช่น อาหารทะเลกระป๋อง เป็นต้น |
. |
เขตอุตสาหกรรมสนับสนุนและต่อเนื่องกับท่าเรือ ได้แก่ อู่ซ่อมหรือต่อเรือ และ อุตสาหกรรมซ่อม และล้างตู้ขนสินค้า เขตนี้อยู่ติดหรือใกล้กับท่าเรือน้ำลึกปากบารา |
. |
บ่อบำบัดน้ำเสียและโรงงานกำจัดขยะอุตสาหกรรมร่วมของโรงงานอุตสาหกรรมที่อยู่ในนิคมอุตสาหกรรม เพื่อลดต้นทุนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรม |
. |
2. คลังสินค้าทัณฑ์บนของกรมศุลกากร ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม เพื่อลดต้นทุนการขนส่งและบริหารคลังสินค้าของโรงงานอุตสาหกรรม ที่นำวัตถุดิบเข้าจากต่างประเทศ |
. |
3. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมได้แก่ สร้างสถานีย่อยไฟฟ้า น้ำประปา/น้ำสำหรับอุตสาหกรรม และโทรคมนาคม นอกจากนี้รัฐบาลต้องสร้างโครงข่ายถนนและทางรถไฟจากนิคมอุตสาหกรรมเชื่อมตลาดภายนอกนิคมอุตสาหกรรม |
. |
ยุทธศาสตร์พัฒนาสะพานเศรษฐกิจสายสตูล – สงขลา หรือ แลนด์บริดจ์สงขลา – สตูล การสร้างท่าเรือปากบาราเป็นการเปิดประตูการค้าสู่ทะเลด้านตะวันตกของไทย เพื่อประโยชน์สูงสุดรัฐบาลจะต้องสร้างสะพานเศรษฐกิจเชื่อมระหว่างท่าเรือปากบาราและท่าเรือสงขลา โดยการสร้างขยายหรือปรับปรุงโครงข่ายการคมนาคม ในเรื่องต่างๆ ดังนี้ |
. |
1.การขนส่งด้านถนน รัฐบาลควรพัฒนาโครงข่ายถนนทั้งโครงข่าย ถนนรอบท่าเรือปากบาราและโครงข่ายถนนที่เชื่อมสตูลไปยังจังหวัดอื่นๆ โดยเฉพาะการขยายและปรับปรุงเส้นทางเชื่อมระหว่างสามแยกคูหา อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา และทางหลวงหมายเลข 408 เพื่อช่วยให้การขนส่งสินค้าระหว่างท่าเรือ หรือสร้างถนนสายในจากอำเภอละงู จังหวัดสตูล ไปท่าเรือสงขลา ด้วยการเจาะอุโมงค์ สร้างถนนและรางรถไฟรางคู่ไปพร้อมกัน |
. |
2. การขนส่งทางรถไฟ การขนส่งทางรถไฟควรใช้เป็นวิธีการขนส่งหลัก (Transportation Mode) ในการขนส่งสินค้าจากท่าเรือทั้งสอง โดยสร้างทางรถไฟระบบรางคู่ เพื่อให้ได้การขนส่งที่รวดเร็ว ในปัจจุบันยังไม่มีเส้นทางรถไฟเชื่อมต่อมาถึงจังหวัดสตูล |
. |
ทางรถไฟที่อยู่ใกล้ท่าเรือปากบารา คือ เส้นทางที่ไปทางอำเภอหาดใหญ่ ซึ่งอยู่ทางด้านตะวันออกของจังหวัดสตูล โดยมีสถานีอยู่ที่อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา เป็นสถานีที่ใกล้ที่สุด (ระยะทางประมาณ 110 กิโลเมตร) |
. |
3. การขนส่งทางท่อ รัฐบาลควรสร้างการขนส่งทางท่อไปตามทางรถไฟ เพื่อขนส่งสินค้าเหลว ได้แก่ น้ำมัน ก๊าซ และสารเคมี เพื่อลดต้นทุนและความรวดเร็วในการขนส่งสินค้าเหลว |
. |
4. สร้างสถานีรวบรวมตู้สินค้า (Inland Container Depot : ICD) และรวบรวมสินค้าเหลว สถานีสินค้าดังกล่าว อาจจะใช้บริเวณสถานีหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และบริเวณห่างออกไปอีก 10 กิโลเมตร ทางใต้ของสถานีสงขลา ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 20 ไร่ และสร้างสถานีรวบรวมสินค้าในนิคมอุตสาหกรรมสตูล |
. |
ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาอุตสาหกรรม การพัฒนาอุตสาหกรรมเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมปากบารา โดยเลือกอุตสาหกรรมที่เหมาะสมกับพื้นที่ ในที่นี้แบ่งออกเป็นประเภทอุตสาหกรรม ดังนี้ |
. |
1.อุตสาหกรรมเกษตรเป็นอุตสาหกรรมที่วัตถุดิบจากภาคอุตสาหกรรม ได้แก่ อุตสาหกรรมแปรรูปผักและผลไม้ อุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำทะเล อุตสาหกรรมแปรรูปปศุสัตว์ โดยการพัฒนาโรงฆ่าสัตว์มาตรฐาน เพื่อส่งออกทั้งที่เป็นแปรรูปอาหารกระป๋อง เยือกแข็ง และปรุงรสสำเร็จรูป ตามความต้องการของตลาด อุตสาหกรรมอาหารฮาลาล |
. |
นอกจากอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารแล้ว อุตสาหกรรมเกษตรที่สำคัญยังประกอบด้วย อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง อุตสาหกรรมน้ำมันพืช และอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้ ยางพารา และไม้ชนิดอื่น |
. |
2. อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ โดยนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศมาเข้ารูปเลื่อมที่สวยงาม 3. อุตสาหกรรมเวชกรรมและเภสัชกรรม ซึ่งสามารถซื้อสารเคมีจากอินเดียและยุโรป 4. อุตสาหกรรมต่อเรือ ซ่อมเรือ ล้างและซ่อมตู้สินค้า ควรอยู่ติดหรือใกล้ท่าเรือมากที่สุด 5. โรงงานเหล็กและเหล็กกล้า |
. |
6. โรงผลิตไฟฟ้าใช้เทคโนโลยีสะอาด 7. โรงงานผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก และ8. สถานีรวบรวมและขนส่งสินค้าทั่วไป ควบคู่กับการขนส่งสินค้าเหลว |
. |
ที่มา : เว็บไซต์ประชาไท |