สถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม โชว์ผลงานนวัตกรรมโทรคมนาคมไทยประจำปี 52 เตรียมต่อยอดนำไปใช้งานจริง คาดพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคมของประเทศได้
สถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม โชว์ผลงานนวัตกรรมโทรคมนาคมไทยประจำปี 52 เตรียมต่อยอดนำไปใช้งานจริง คาดพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคมของประเทศได้ |
. |
. |
สถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม (TRIDI) สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) โชว์ผลงานนวัตกรรมโทรคมนาคมไทยประจำปี พ.ศ. 2552 (Telecom Innovation 2009) ได้แก่ ผลิตภัณฑ์โทรคมนาคม (Telecom Product) และ แอพพลิเคชั่นโทรคมนาคม (Telecom Application) |
. |
ซึ่งการคัดเลือกของจากจำนวนผู้ที่ส่งผลงานในครั้งนี้ได้คัดเลือกจากจำนวนผู้ที่ส่งชิ้นงานกว่า 100 ราย และทำการคัดเลือกให้เหลือสุดยอดนวัตกรรมที่คาดว่าจะสามารถต่อยอดในการนำไปใช้ได้จริง และพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคมของประเทศได้ |
. |
ซึ่งผลงานดังกล่าวที่เข้ารอบในการประกวดครั้งนี้ทาง กทช. และ TRIDI จะสนับสนุนเพื่อต่อยอดในการนำไปใช้ในอนาคต เพื่อลดภาระการนำเข้าจากเม็ดเงินกว่า 100,000 ล้านบาทต่อปี |
. |
พลเอกชูชาติ พรหมพระสิทธ์ ประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ กล่าวว่า ปัจจุบันอุตสาหกรรมโทรคมนาคมของประเทศได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง หลายฝ่ายทั้งในภาครัฐ และเอกชนต่างมุ่งในการสรรหาผลิตและพัฒนาเทคโลโนยีด้านโทรคมนาคมให้สามารถรองรับในการใช้งานของผู้บริโภคในปัจจุบัน และในอนาคต |
. |
ดังจะเห็นได้จากเทคโนโลยีด้านโทรคมนาคมเข้ามามีบทบาทในสังคมปัจจุบันมากขึ้น อาทิ VoIP, RFID, NGN, ระบบคลื่นแสง หรือแม้กระทั้งเทคโนโลยีด้าน 3G หรือ Wimax ดังนั้นเพื่อความเตรียมพร้อมต่อการเข้าสู่กระแสเทคโนโลยียุคหน้า |
. |
กทช. จึงมุ่งที่จะส่งเสริมการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมโทรคมนาคมของคนไทย เพื่อให้สามารถผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคมและชิ้นส่วน รวมถึงแอพพลิเคชั่นต่างๆ ขึ้นมาใช้เองเพื่อลดภาระ และต้นทุนของประเทศ ซึ่งนโยบายดังกล่าวจึงถือเป็นภาระกิจสำคัญที่ส่งตรงถึงหน่วยงานภายใต้การดูแลของ กทช. อย่าง TRIDI ให้วางโครงการในการพัฒนาชิ้นงานและสามารถนำมาใช้ได้จริง |
. |
“โครงการประกวดนวัตกรรมโทรคมนาคมไทยประจำปี พ.ศ. 2552 (Telecom Innovation 2009) ที่ได้ถือกำเนิดขึ้นถือเป็นความภาคภูมิใจของ กทช. ที่ TRIDI สามารถผลักดันให้เกิดสุดยอดผลงานด้านนวัตกรรมโทรคมนาคมกว่า 20 ผลงานทั้งในส่วนของชิ้นงาน Product และ Application |
. |
ซึ่งผลงานจากการประกวดครั้งนี้ กทช. เชื่อมั่นว่าจะเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างสรรผลงาน ต่อยอดในการพัฒนาและจะเป็นการจุดประกายให้เกิดการพัฒนาอุตสากรรมโทรคมนาคมของประเทศต่อไปอย่างแน่นอน” พลเอกชูชาติ กล่าวสรุป |
. |
ดร.โกศล เพ็ชร์สุวรรณ ประธานกรรมการบริหารของสถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม (TRIDI) กล่าวว่า สถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคมแห่งชาติ (TRIDI) ได้วางแนวทางเพื่อเป็นศูนย์กลางในส่งเสริม และพัฒนาศักยภาพวงการโทรคมนาคมไทย มุ่งพัฒนาทั้งด้านงานวิจัย พัฒนาอุตสาหกรรม และบุคลากร |
. |
ซึ่งโครงการประกวดนวัตกรรมโทรคมนาคมไทยประจำปี พ.ศ. 2552 (Telecom Innovation 2009) ถือเป็นโครงการแรกที่มุ่งสนับสนุนในการพัฒนาด้านอุตสากรรมโทรคมนาคมอย่างจริงจัง และเป็นการแบ่งการประกวดที่ชัดเจนทั้งในด้าน นวัตกรรมโทรคมนาคมประเภทผลิตภัณฑ์โทรคมนาคม (Telecom Product) ที่จะต้องเป็นผลงานที่เป็นผลิตภัณฑ์หรือต้นแบบโทรคมนาคมที่เกิดจากการวิจัยหรือพัฒนาโดยคนไทยและในปัจจุบันสามารถผลิตเพื่อจำหน่ายแล้ว |
. |
หรือมีศักยภาพสามารถนำไปผลิตในเชิงพาณิชย์หรือผลิตเพื่อประโยชน์สาธารณะในกิจการโทรคมนาคม และนวัตกรรมโทรคมนาคมประเภทแอพพลิเคชั่นโทรคมนาคม (Telecom Application) ที่จะต้องเป็นซอฟต์แวร์(Software) หรือแอพพลิเคชั่น (Application) สำหรับใช้งานในองค์กร ผู้ให้บริการโทรคมนาคมหรือสำหรับผู้ใช้บริการ |
. |
ดร.โกศล กล่าวอีกว่า โดยแนวคิดในการดำเนินโครงการดังกล่าวถือเป็นพันธกิจอย่างหนึ่งของ TRIDI ที่ต้องการสนับสนุนให้เกิดการผลิต และใช้อุปกรณ์จากในประเทศ อีกทั้งยังช่วยในการส่งเสริมบุคคลากรในด้านโทรคมนาคมให้มีประสิทธิภาพ |
. |
ซึ่งในการจัดประกวดนวัตกรรมโทรคมนาคมนี้ เพื่อสนับสนุนให้นักศึกษา นักวิจัย นักประดิษฐ์ บุคคลทั่วไป และกลุ่มผู้ผลิต ได้แสดงศักยภาพด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์โทรคมนาคม และยังเป็นการส่งเสริมการปลูกฝั่งให้บุคลากรของประเทศมีแนวคิดที่นอกกรอบในการริเริ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์โทรคมนาคม |
. |
อีกทั้งยังหันมาใช้ผลิตภัณฑ์โทรคมนาคมที่ผลิตโดยคนไทย ซึ่งเป็นการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคมของประเทศไทยในระยะยาว ซึ่งจะเป็นการวางฐานที่สำคัญของประเทศในด้านโทรคมนาคมของประเทศ |
. |
ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม (TRIDI) กล่าวว่า ในการดำเนินโครงการประกวดนวัตกรรมโทรคมนาคมไทยประจำปี พ.ศ. 2552 (Telecom Innovation 2009) TRIDI ได้แผนการสนับสนุนแบบระยะยาว ซึ่งจะทำการส่งเสริมสนับสนุนชิ้นงานที่เล็งเห็นถึงประโยชน์ และสามารถนำไปช่วยในการพัฒนาอุตสหกรรมโทรคมนาคมไทย |
. |
โดยชิ้นงานต่าง ๆ ที่เข้ารอบในครั้งนี้ทาง TRIDI และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจะทำการวางหลักเกณฑ์หลัก ๆ 2 ประการคือ ต้องเป็นนวัตกรรมที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม และต้องเป็นนวัตกรรมที่เกิดผลต่อเศรษฐกิจ หรือเกิดการใช้งานได้จริงที่จะสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดในเชิงธุรกิจได้ |
. |
ดร.สุพจน์ กล่าวอีกว่า TRIDI ถือเป็นหน่วยงานหลักที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมด้านโทรคมนาคมในส่วนของการ มุ่งให้เกิดการผลิต การใช้อุปกรณ์ภายในประเทศ และพัฒนาบุคคลากรควบคู่ไปด้วยกัน ซึ่งในการจัดโครงการดังกล่าวจะเห็นได้ว่าเป็นการเปิดโอกาสจากหลาย ๆ ฝ่าย หลากหลายหน่วยงานที่ส่งผลงานเข้าร่วมประกวด |
. |
ซึ่งจะเห็นได้จากตั้งแต่เปิดรับผลงานการประกวดจะมีผลงานกว่า 100 ผลงานส่งเข้ามา ซึ่งในการคัดเลือกครั้งนี้ทาง TRIDI และคณะกรรมการได้คัดเลือกผลงานทั้งสิ้นจำนวน 20 ผลงานที่เข้ารอบด้วยกันดังนี้ |
. |
Telecom Product |
- ชุมสายโทรศัพท์และอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง(Multi Service Access Network: MSAN) |
. |
- ไมโครชิป FRID สำหรับเครื่องอ่าน RFID ย่านความถึ่มาตรฐาน 13.56 MHz (13.56 MHz Multi Standard RFID Reader IC) |
. |
- เครื่องตัดสัญญาณคลื่นวิทยุ (Multi Band Jammer) |
. |
- ระบบถ่ายทอดข่าวสารการบินอัตโนมัติ (Automatic Message Switching System) |
. |
- อาร์เอฟไอดีสำหรับบริหารรถขนส่ง (RFID - Fleet Management) |
. |
- ระบบอัจฉริยะเพื่อสนับสนุนการทำงานของเจ้าหน้าที่ให้บริการทางโทรศัพท์ (Contact Centor Agent Intelligence (CAI) |
. |
- ห้องสมุดหนังสือเสียงสำหรับผู้พิการทางสื่อสิ่งพิมพ์ผ่านระบบโทรศัพท์อัตโนมัติ 1414 (Online Digital Talking Book Library and Automatic Telephony System 1414) |
. |
ดร.สุพจน์กล่าว เพิ่มเติมอีกว่า จากการจัดโครงการประกวดนวัตกรรมโทรคมนาคมไทยประจำปี พ.ศ. 2552 (Telecom Innovation 2009) ในครั้งนี้จะเห็นได้ว่าบุคคลากรไทยมีศักยภาพในด้านโทรคมนาคมเป็นจำนวนมาก แต่ขาดการสนับสนุนอย่างจริงจัง |
. |
ดังนั้น TRIDI จึงเป็นศูนย์กลางในการร่วมส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของอุตสากรรมโทรคมนาคมไทย ซึ่งจะเห็นชิ้นงานที่เข้ารอบในครั้งนี้มีหลายผลงานที่โดดเด่น และสามารถนำมาพัฒนาต่อยอดในการใช้งานได้ หากในอนาคตหลาย ๆ ฝ่ายทั้งในส่วนของภาคเอกชน |
. |
และรัฐบาลให้ความสำคัญในการสนับสนุนอย่างจริงจัง ส่งเสริมให้เกิดการใช้งานอุปกรณ์ภายในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องลูกข่าย โทรศัพท์มือถือ อุปกรณ์โครงข่าย โทรศัพท์บ้าน ที่จะเข้ามาใช้ในระบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น RFID, NGN, VoIP อินเทอร์เน็ต ระบบคลื่นแสง 3G Wimax เป็นต้น ซึ่งหากนับการนำเข้าของอุปกรณ์เหล่านี้จากต่างประเทศนับเป็นเม็ดเงินจำนวนกว่า 100,000 ล้านบาทเลยทีเดียว |
. |
“ดังนั้นในอนาคตหากเกิดการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีในยุคหน้า ประเทศชาติก็จะมีการรองรับการใช้งานได้อย่างทันท่วงที ลดภาระการนำเข้า และจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาที่แข็งแรง และได้มาตรฐาน ซึ่งการดำเนินโครงการจะเป็นเพียงจุดเริ่มต้นในการส่งเสริมให้เกิดผลงานด้านโทรคมนาคมเท่านั้น |
. |
เป้าหมายของ TRIDI ยังต้องการเห็นถึงการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยก้าวหน้าทัดเทียมกับนานาประเทศ และในอนาคตยังเตรียมแผนในการส่งเสริมงานต่าง ๆ ในด้านโทรคมนาคมต่อไปอย่างต่อเนื่อง” ดร.สุพจน์กล่าวในที่สุด |