เนื้อหาวันที่ : 2009-12-25 08:55:24 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 640 views

ผู้ส่งออกหันหน้าใช้ GSP เป็นแต้มต่อเจาะตลาดส่งออก

นายวิจักร วิเศษน้อย อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) เปิดเผยว่า แม้ว่ายังคงมีปัจจัยเสี่ยงจากการหดตัวของมูลค่าการส่งออกและภาวะเศรษฐกิจถดถอยของตลาดส่งออกสำคัญก็ตาม แต่ก็ยังมีเรื่องน่ายินดีที่ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2552 (เดือนมกราคม – กันยายน) มีการขอใช้สิทธิ GSP ส่งออกสินค้าในทุกระบบมีสัดส่วนถึงร้อยละ 54.40 เทียบกับร้อยละ 37.25 ในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 46.04

.

ปัจจุบัน ประเทศไทยได้รับสิทธิ GSP จากประเทศคู่ค้ารวม 44 ประเทศ แบ่งได้เป็น 8 ระบบ ได้แก่ GSP สหรัฐฯ สหภาพยุโรป (27 ประเทศ) สวิตเซอร์แลนด์ ตุรกี นอร์เวย์ รัสเซีย แคนาดา และญี่ปุ่น โดยระบบ GSP ที่มีความสำคัญต่อการส่งออกของไทย และมีมูลค่าการส่งออกโดยใช้สิทธิสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ GSP สหภาพยุโรป สหรัฐฯ และตุรกี ซึ่งในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ พบว่า

.

มีการขอใช้สิทธิ GSP สหภาพยุโรปมูลค่า 4,809.50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นสัดส่วนการขอใช้สิทธิที่ร้อยละ 59.35 ขณะที่ การขอใช้สิทธิ GSP สหรัฐฯ มูลค่า 2,046.49 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นสัดส่วนการขอใช้สิทธิที่ร้อยละ 48.68 และการขอใช้สิทธิ GSP ตุรกีมูลค่า 275.41 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นสัดส่วนของการขอใช้สิทธิที่ร้อยละ 63.24             

.

สำหรับสินค้าที่มีการขอใช้สิทธิที่สำคัญ 10 ลำดับแรก ได้แก่ เลนส์ เครื่องประดับเงิน น้ำมันหล่อลื่น รถปิกอัพ เครื่องปรับอากาศ ถุงมือยาง สับปะรดกระป๋อง ยางเรเดียล กรดเทเรฟทาลิก และกุ้งแช่แข็ง เป็นต้น

.

ระบบ GSP นับเป็นระบบสิทธิพิเศษฯ อย่างหนึ่ง ที่ประเทศพัฒนาแล้วยกเว้นหรือลดภาษีนำเข้าแก่สินค้าที่มีถิ่นกำเนิดจากประเทศกำลังพัฒนาต่าง ๆ รวมถึงประเทศไทยด้วย ซึ่งกรมฯ ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ประกอบการไทยสามารถใช้ประโยชน์สูงสุดจากระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรที่ได้รับ        

.

อย่างไรก็ตาม สัดส่วนของการใช้สิทธิ GSP ในปัจจุบันยังอยู่ในเกณฑ์ไม่สูงเท่าที่ควร ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากภาคธุรกิจส่งออกของไทยยังไม่ได้ใช้สิทธิพิเศษจากระบบ GSP อย่างเต็มที

.

อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมฯ ในฐานะที่เป็นหน่วยงานหลักในการออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า Form A และกำกับดูแลการใช้สิทธิ GSP ต่าง ๆ ได้ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลกฎระเบียบหรือข้อกำหนดของระบบ GSP อย่างต่อเนื่อง

.

โดยมุ่งหวังให้ผู้ประกอบการไทยเร่งปรับตัว ทำความเข้าใจ และใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ เพื่อขยายส่วนแบ่งในตลาดของประเทศพัฒนาแล้วต่อไป ทั้งนี้ ผู้สนใจขอทราบข้อมูลระบบ GSP