ฮอนด้า เอ.ที. ชนะขาดตลาดรถออโตเมติคประเทศไทย ขึ้นแท่นผู้นำ เอ.ที. ครองส่วนแบ่งตลาดสูงถึง 51% ย้ำมั่นใจความแรง มีรุ่นรถครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย
ฮอนด้า เอ.ที. ชนะขาดตลาดรถออโตเมติคประเทศไทย ขึ้นแท่นผู้นำ เอ.ที. ครองส่วนแบ่งตลาดสูงถึง 51% ย้ำมั่นใจความแรง มีรุ่นรถครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย |
. |
. |
ตลาดรถจักรยานยนต์เดือนพฤศจิกายน กลับมาคึกคักรับลมหนาวด้วยยอดจดทะเบียนรวมสูงถึง 130,264 คัน เติบโตขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 9% และยังมียอดรวมที่มากกว่าเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้าถึง 4% |
. |
โดยฮอนด้าในฐานะผู้นำตลาด แรงสุดขีดด้วยอัตราครองตลาดที่ 68% เทียบเท่าจำนวน 88,900 คัน เติบโตสูงขึ้นถึง 15% จากเดือนก่อนหน้า และยังเติบโตกว่าเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมาถึง 11% โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดรถประเภท เอ.ที. หลังจากป้อนฮอนด้าสกู๊ปปี้ ไอ ได้เต็มกำลังมากขึ้น |
. |
ส่งผลให้ยอดรวมรถ เอ.ที. ของฮอนด้าผงาดขึ้นแท่นผู้นำตลาดรถออโตเมติคประเทศไทย ด้วยอัตราส่วนตลาดสูงถึง 51% ที่ 31,317 คัน พร้อมย้ำความมั่นใจถึงความแรงอย่างต่อเนื่องของฮอนด้า เอ.ที. ที่มีรุ่นรถครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย เพียบพร้อมเทคโนโลยีของผู้นำออโตเมติค อย่างแท้จริง |
. |
นายธีระพัฒน์ จิวะพงศ์ กรรมการบริหารฝ่ายขาย บริษัท เอ.พี.ฮอนด้า จำกัด |
. |
นายธีระพัฒน์ จิวะพงศ์ กรรมการบริหารฝ่ายขาย บริษัท เอ.พี.ฮอนด้า จำกัด กล่าวว่า “จากสภาพเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศที่มีทิศทางฟื้นตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับมาตรการของภาครัฐบาลและภาคเอกชน ที่ออกมาช่วยกระตุ้นและส่งเสริมการอุปโภคบริโภคของประชาชน ความเชื่อมั่นและกำลังซื้อเริ่มฟื้นกลับคืนมา |
. |
ส่งผลให้ตลาดเดือน พ.ย. กลับมาคึกคักด้วยยอดการขายที่ดีขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มรถเอ.ที. ของฮอนด้าที่แรงสุดขีด หลังสามารถป้อนฮอนด้าสกู๊ปปี้ไอได้เต็มกำลัง ส่งผลให้ยอดจดทะเบียนฮอนด้า เอ.ที. โดยรวมพุ่งสูงขึ้นถึง 31,317 คัน ขึ้นเป็นผู้นำตลาดออโตเมติคประเทศไทยด้วยอัตราส่วนตลาด 51%” |
. |
นอกจากนั้น นายธีระพัฒน์ยังตอกย้ำความมั่นใจถึงความแรงอย่างต่อเนื่องของฮอนด้า เอ.ที. ที่จะผงาดในฐานะผู้นำตลาดออโตเมติคประเทศไทยอีกว่า “หลังการวางตลาดฮอนด้า พีซีเอ็กซ์ ยิ่งเป็นการเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับฮอนด้า เอ.ที. และตอกย้ำความเป็นผู้นำเทคโนโลยีเอ.ที. อย่างแท้จริง เพราะไม่เพียงมีทางเลือกได้ครอบคลุมทุกความต้องการของผู้ใช้ แต่เรายังนำเสนอสิ่งที่เหนือความคาดหมายของผู้ใช้ได้อีกด้วย” |
. |
สำหรับด้านรายงานตัวเลขตลาดรถจักรยานยนต์ทุกประเภทของตลาด เดือนที่สองของไตรมาสสุดท้าย มีความคึกคักมากขึ้นด้วยปริมาณยอดจดทะเบียน 130,264 คัน โดยปริมาณยอดจดทะเบียนในเดือนนี้ประกอบด้วย รถจักรยานยนต์แบบครอบครัวด้วยปริมาณตัวเลข 63,240 คัน เทียบเท่าสัดส่วนตลาด 49% |
. |
ในขณะที่รถแบบ เอ.ที. มีปริมาณ 61,348 คัน เทียบเท่าสัดส่วนตลาด 47%, รถแบบครอบครัวกึ่งสปอร์ต 2,968 คัน เทียบเท่าสัดส่วนตลาด 2%, รถแบบสปอร์ต 894 คัน เทียบเท่าสัดส่วนตลาด 1% และรถประเภทอื่นๆ 1,814 คัน เทียบเท่าสัดส่วนตลาด 1% |
. |
ทางด้านปริมาณยอดจดทะเบียนสะสมตั้งแต่ต้นปี 2552 ถึงเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกันอยู่ที่ 1,388,189 คัน ลดลง 13% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ขณะที่รถจักรยานยนต์ประเภทครอบครัวครองความเป็นรถยอดนิยมตลอดกาล ด้วยปริมาณยอดจดทะเบียนที่มากถึง 683,809 คันเทียบเท่าสัดส่วนตลาด 49% |
. |
ในขณะที่ค่ายฮอนด้าที่เป็นผู้นำตลาดนั้น มีอัตราครองตลาดในกลุ่มรถประเภทนี้ถึง 86% ส่วนรถประเภทอื่นๆ มีรายละเอียดยอดการจดทะเบียนสะสมตั้งแต่ต้นปีจนถึงเดือนพฤศจิกายน ดังนี้ คือ รถแบบ เอ.ที. มีปริมาณ 647,008 คัน เทียบเท่าสัดส่วนตลาด 47%, รถแบบครอบครัวกึ่งสปอร์ต 33,736 คัน สัดส่วนตลาด 2%, รถแบบสปอร์ต 10,498 คัน สัดส่วนตลาด 1% และรถประเภทอื่นๆ 13,138 คัน สัดส่วนตลาด 1% |
. |
ในขณะที่หากแบ่งแยกเป็นยอดจดทะเบียนตามประเภทของผู้ผลิต รถจักรยานยนต์ฮอนด้า 915,172 คัน เทียบเท่าอัตราครองตลาด 66%, ยามาฮ่า 388,284 คัน อัตราครองตลาด 28%, ซูซูกิ 58,169 คัน อัตราครองตลาด 4%, คาวาซากิ 13,247 คัน อัตราครองตลาด 1%, เจอาร์ดี 1,499 คัน, แพล็ตตินั่ม 1,003 คัน, ไทเกอร์ 999 คัน และอื่นๆ 9,816 คัน |