นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ขอสรุปผลการดำเนินการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐประจำเดือนพฤศจิกายน 2552 พร้อมทั้งรายงานสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2552 ดังนี้ |
. |
1. การปรับโครงสร้างหนี้ภาครัฐ |
1.1 เดือนพฤศจิกายน 2552 |
หนี้ในประเทศ |
กระทรวงการคลังได้ดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลที่ออกภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2541 (FIDF1) ที่ครบกำหนด ในเดือนพฤศจิกายน 2552 จำนวน 30,000 ล้านบาท โดยการทยอยออกพันธบัตรรัฐบาลในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2552 - มกราคม 2553 |
. |
ซึ่งในเดือนพฤศจิกายนได้ดำเนินการประมูลพันธบัตรไปแล้ว 8,000 ล้านบาท และนำเงินที่ได้จากการประมูลพันธบัตรดังกล่าวไปทยอยชำระคืนต้นเงินกู้ระยะสั้นที่ใช้เป็น Bridge Financing ในการปรับโครงสร้างหนี้ |
. |
นอกจากนี้ ยังได้ดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลที่ออกภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินระยะที่สอง พ.ศ. 2545 (FIDF 3) ที่ครบกำหนด 10,000 ล้านบาท โดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงิน |
.. |
นอกจากนี้ รัฐวิสาหกิจได้ดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ โดยทำการ Roll Over วงเงินรวม 64,000 ล้านบาท โดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรได้ทำการ Roll Over หนี้เดิม วงเงิน 30,000 ล้านบาท และการประปาส่วนภูมิภาค การเคหะแห่งชาติ และธนาคารอาคารสงคราะห์ได้ทำการ Roll Over หนี้เดิม วงเงินแห่งละ 1,000 ล้านบาท ตามลำดับ |
. |
ประกอบกับกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินได้ทำการ Roll Over พันธบัตรออมทรัพย์ของกองทุนที่กระทรวงการคลัง ค้ำประกันที่ครบกำหนด 31,000 ล้านบาท |
. |
1.2 ช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2553 |
หนี้ในประเทศ |
กระทรวงการคลังได้ดำเนินการปรับโครงสร้าง หนี้ในประเทศ วงเงินรวม 63,000 ล้านบาท โดยการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาล 23,000 ล้านบาท การออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลที่ออกภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวง |
. |
การคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2541 (FIDF1) ที่ครบกำหนด 30,000 ล้านบาท และการปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลที่ออกภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินระยะที่สอง พ.ศ. 2545 (FIDF 3) ที่ครบกำหนด 10,000 ล้านบาท โดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงิน และรัฐวิสาหกิจได้ทำการ Roll over หนี้เดิมรวม 69,440 ล้านบาท |
. |
2. การกู้เงินภาครัฐ |
เดือนพฤศจิกายน 2552 |
กระทรวงการคลังได้กู้เงินในประเทศเพื่อชดเชย การขาดดุลงบประมาณโดยการออกพันธบัตรรัฐบาล 31,000 ล้านบาท และได้เบิกเงินกู้ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. 2552 เพื่อดำเนินการตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 จำนวน 2,400 ล้านบาท และการกู้เพื่อลงทุนในโครงการของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 1,000 ล้านบาท |
. |
ช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2553 ภาครัฐได้กู้เงินในประเทศรวม 37,400 ล้านบาท โดยเป็นการกู้เงินของกระทรวงการคลัง 36,400 ล้านบาทและของรัฐวิสาหกิจ 1,000 ล้านบาท |
. |
3. การชำระหนี้ภาครัฐ |
เดือนพฤศจิกายน 2552 |
กระทรวงการคลังได้ดำเนินการชำระหนี้จากงบประมาณรวม 11,284 ล้านบาท โดยเป็นการชำระคืนเงินต้น 6,478 ล้านบาท ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมรวม 4,806 ล้านบาท ช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2553 กระทรวงการคลังได้ชำระคืนต้นเงินกู้ ดอกเบี้ย และค่าธรรมเนียมจากงบประมาณรวม 19,287 ล้านบาท |
. |
รายงานหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2552 |
ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2552 มีจำนวน 3,993,133 ล้านบาท หรือร้อยละ 45.83 ของ GDP เป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 2,584,012 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 1,103,343 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ำประกัน 209,596 ล้านบาท และหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 96,182 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อน หนี้สาธารณะลดลง 8,898 ล้านบาท |
. |
โดยหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน และหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ลดลง 2,501 ล้านบาท 5,326 ล้านบาท และ 1,965 ล้านบาท ตามลำดับ สำหรับหนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ำประกันเพิ่มขึ้น 894 ล้านบาท ส่วนหน่วยงานอื่นของรัฐนั้นไม่มีหนี้คงค้าง |
. |
การลดลงสุทธิของหนี้สาธารณะคงค้างเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนที่ผ่านมานั้น ที่สำคัญเกิดจากการลดลงของ หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน โดยลดลงสุทธิ 5,326 ล้านบาท รายการที่สำคัญเกิดจากการลดลงของหนี้ที่รัฐบาล ค้ำประกันทั้งในส่วนของหนี้ในประเทศและหนี้ต่างประเทศ |
. |
โดยหนี้ในประเทศของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาล ค้ำประกันลดลง 3,331 ล้านบาท ที่สำคัญเกิดจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้ไถ่ถอนพันธบัตร จำนวน 2,000 ล้านบาท และการเปลี่ยนแปลงสุทธิของหนี้ต่างประเทศในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อแปลงเป็นเงินบาทลดลง 3,380 ล้านบาท |
. |
สำหรับหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงลดลงสุทธิ 2,501 ล้านบาท ที่สำคัญเกิดจากการไถ่ถอนตั๋วเงินคลังที่ครบกำหนดและการเปลี่ยนแปลงสุทธิของหนี้ต่างประเทศในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อแปลงเป็นเงินบาทลดลง 1,475 ล้านบาท |
. |
สำหรับหนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ำประกันเพิ่มขึ้นสุทธิ 894 ล้านบาท ที่สำคัญเกิดจากการเพิ่มขึ้นของหนี้ในประเทศของรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ำประกัน รายการที่สำคัญเกิดจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรได้ออกพันธบัตร จำนวน 1,000 ล้านบาท |
. |
สำหรับหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ลดลง 1,965 ล้านบาท ที่สำคัญเกิดจากการซื้อคืนพันธบัตรของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ที่กระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน |
. |
หนี้สาธารณะ 3,993,133 ล้านบาท แยกออกเป็นหนี้ต่างประเทศ 379,163 ล้านบาท หรือร้อยละ 9.50 และ หนี้ในประเทศ 3,613,970 ล้านบาท หรือร้อยละ 90.50 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง และเป็นหนี้ระยะยาว 3,630,613 ล้านบาท หรือร้อยละ 90.92 และหนี้ระยะสั้น 362,520 ล้านบาท หรือร้อยละ 9.08 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง |
. |
ที่มา : กระทรวงการคลัง |