ก.อุตสาหกรรม เร่งส่งเสริมพลังงานทดแทน หนุนผู้ประกอบการจ.สุรินทร์ ตั้งโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาดย่อม เดินหน้าจัดเวทีระดมความคิดเห็น หวังประชาชนยอมรับ
ก.อุตสาหกรรม เร่งส่งเสริมพลังงานทดแทน หนุนผู้ประกอบการจ.สุรินทร์ ตั้งโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาดย่อม เดินหน้าจัดเวทีระดมความคิดเห็น หวังประชาชนยอมรับ |
. |
. |
กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมกับจังหวัดสุรินทร์ เดินหน้าระดมความคิดเห็นประชาชน ล่าสุดลงพื้นที่ จ.สุรินทร์ มีเป้าหมายมุ่งให้ความรู้ถึงประโยชน์การสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาดย่อมตลอดจนประโยชน์ที่ประชาชนในท้องถิ่นจะได้รับ |
. |
เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2552 กระทรวงอุตสาหกรรมได้ร่วมกับจังหวัดสุรินทร์ จัดการสัมมนา “โรงไฟฟ้าชีวมวลขนาดย่อม กับ การพัฒนาท้องถิ่น” ณ โรงเรียนสังขะ อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ |
. |
โดยนายสมเกียรติ สังข์ขาวสุทธิรักษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนา ซึ่งมีประชาชนในอำเภอสังขะ และอำเภอใกล้เคียงกว่า 700 คน เข้ารับฟังความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของการสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาดย่อม ตลอดจนประโยชน์ที่ประชาชนในท้องถิ่นจะได้รับ พร้อมแสดงความคิดเห็น |
. |
วัตถุประสงค์ของการจัดสัมมนาครั้งนี้ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ตลอดจนสร้างความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์ของการก่อตั้งโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาดย่อมแก่ประชาชนและผู้ประกอบการในพื้นที่ โดยพื้นที่ดังกล่าวนับว่ามีความเหมาะสมและมีศักยภาพในการตั้งโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาดย่อม เพื่อเป็นพลังงานทดแทน |
. |
. |
เนื่องจากส่วนใหญ่จะเป็นการทำเกษตรกรรม จึงทำให้มีกากพืชเหลือทิ้งจากภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นซางตอข้าว มันสำปะหลัง อ้อย ที่สามารถนำมาแปรรูปเป็นเชื้อเพลิงผลิตกระแสไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี |
. |
ทั้งนี้ ประชาชนในพื้นที่สามารถนำกากพืชเหลือทิ้งดังกล่าวมาขายให้กับผู้ประกอบการโรงไฟฟ้าเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าป้อนให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค นำมาซึ่งการสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนและผู้ประกอบการในพื้นที่อีกด้วย |
. |
อย่างไรก็ดี การจัดสัมมนาดังกล่าวได้มีการจัดอย่างต่อเนื่องมาแล้วในหลายจังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุทัยธานี จังหวัดชัยนาท จังหวัดสระแก้ว และจังหวัดสกลนคร โดยในแต่ละจังหวัดมีประชาชนให้ความสนใจเข้าร่วมฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น |
. |
ซึ่งกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เห็นว่าในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาดย่อมนั้นจำเป็นอย่างอย่างยิ่ง ที่ต้องให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างยั่งยืน และก่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกันในการสร้างความเจริญเติบโตให้กับชุมชนในท้องถิ่น ทั้งการสร้างงาน สร้างรายได้ และการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตรที่มีอยู่เป็นจำนวนมากในแต่ละจังหวัด |
. |
สำหรับผลการดำเนินโครงการนับตั้งแต่เริ่มจนถึงเดือนกันยายน 2552 มีผู้ประกอบการที่สนใจจะลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาดย่อม ประมาณ 30 แห่ง ซึ่งใน 1 แห่งนั้นจะใช้วัตถุดิบประมาณ 2 หมื่นตัน สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 9,000 เมกะวัตก์ต่อปี มูลค่าการลงทุนแห่งละประมาณ 100 ล้านบาท |
. |
ที่มา : กระทรวงอุตสาหกรรม |