จากจำนวน 76 โครงการ มี 65 โครงการที่ต้องถูกระงับการลงทุน ซึ่งมีมูลค่าการลงทุนกว่า 2.3 แสนล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 80 ของมูลค่าการลงทุนทั้งหมด ผลกระทบที่เกิดขึ้นนอกจากจะกระทบในด้านการลงทุนแล้วยังกระทบในอีกหลาย ๆ ด้านเป็นวงกว้าง
บทสรุปผู้บริหาร : บทวิเคราะห์เรื่อง ผลกระทบทางเศรษฐกิจ : กรณีมาบตาพุด |
||
. | ||
. | ||
- ในจำนวน 76 โครงการ มี 65 โครงการที่ต้องถูกระงับการลงทุน ซึ่งมีมูลค่าการลงทุนประมาณ 2.3 แสนล้านบาท จากมูลค่าทั้งหมด 2.9 แสนล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 80 ของมูลค่าการลงทุนทั้งหมด |
||
. | ||
- โครงการที่ถูกระงับการลงทุนส่วนใหญ่เป็นโครงการปิโตรเคมีและท่อส่ง โครงการเหล็ก นิคมอุตสาหกรรม และสวนอุตสาหกรรม ท่าเทียบเรือโรงไฟฟ้า โรงบำบัดกำจัดของเสียอันตรายจากอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่มีความเชื่อมโยงไปข้างหน้าและข้างหลังสูงมาก เช่นการผลิตปูน เหล็ก และการก่อสร้าง |
||
. | ||
- ผลกระทบที่เกิดขึ้นจำแนกได้ 7 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านอุปสงค์ ผ่านการลงทุน การบริโภค และการส่งออกในอนาคต 2) ด้านอุปทาน ผ่านการผลิตภาคอุตสาหกรรม และบริการที่เกี่ยวข้อง เช่น การคมนาคมขนส่ง ก่อสร้างไฟฟ้า แก๊ส ประปา และค้าส่งค้าปลีก |
||
. | ||
3) ด้านการจ้างงาน 4) การจัดเก็บรายได้ของรัฐบาล 5) ความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม ภาคธุรกิจ และภาคผู้บริโภค 6) ผลกระทบต่อสถาบันการเงินที่ปล่อยกู้ในโครงการที่ถูกระงับ และ 7) ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ จ.ระยอง และภาคตะวันออก |
||
. | ||
- จากการประเมินผลกระทบต่อเศรษฐกิจ พบว่า ในกรณีกระทบเล็กน้อย GDP ลดลงประมาณร้อยละ -0.2 ต่อปี และการจ้างงานทั้งประเทศลดลง -66,000 คน และในกรณีกระทบรุนแรง GDP ลดลงประมาณร้อยละ -0.5 ต่อปี และการจ้างงานทั้งประเทศลดลง -193,000 คน |
||
. | ||
1. เกิดอะไรขึ้นกับการลงทุนที่บริเวณมาบตาพุด | ||
* ลำดับเหตุการณ์สำคัญ | ||
- วันที่ 19 มิถุนายน 2552 สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนฟ้องหน่วยงานรัฐ เรียกร้องให้การพิจารณาอนุมัติการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment: EIA) เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 67 แห่งรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550 |
||
. | ||
- วันที่ 29 กันยายน 2552 ศาลปกครองชั้นต้นสั่งระงับการลงทุน 76 โครงการ เนื่องจากดำเนินการไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรา 67 วรรคสองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 | ||
. | ||
- วันที่ 2 ธันวาคม 2552 ศาลปกครองมีคำสั่งแก้คำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น โดยมีคำสั่งให้ชะลอ 65 โครงการในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดและบริเวณใกล้เคียง และให้ 11 โครงการที่ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และคุณภาพชีวิตของประชาชนสามารถเดินหน้าได้ ได้แก่ โครงการเชื้อเพลิงและแก๊ส 4 โครงการ โครงการเหล็ก 2 โครงการ และปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ 5 โครงการ |
||
. | ||
* โครงการใดบ้างที่ได้รับผลกระทบ | ||
- โครงการลงทุนทั้ง 76 โครงการของมาบตาพุด มีเม็ดเงินลุงทุนรวมประมาณ 2.9 แสนล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็นโครงการลงทุนในอุตสาหกรรมปิโตรเลียม เหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ โครงการผลิตพลังงานทางเลือก เช่น ไบโอดีเซลและก๊าซธรรมชาติ นิคมอุตสาหกรรมและสวนอุตสาหกรรม ท่าเทียบเรือ โรงไฟฟ้า โรงบำบัดกำจัดของเสียอันตรายจากอุตสาหกรรม |
||
. | ||
ภาพที่ 1 โครงการลงทุนในมาบตาพุด จำแนกตามเม็ดเงินและจำนวนโครงการในแต่ละภาคอุตสาหกรรม |
||
ที่มา: เอกสารแนบท้ายฟ้อง คำสั่งของศาลปกครองกลาง คดีดำที่ 908/2552 คำนวณโดย สศค. | ||
. | ||
- โครงการดังกล่าวทั้ง 76 โครงการนั้น สมารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้ดังนี้ |
||
. | ||
ภาพที่ 2 โครงการลงทุนในมาบตาพุด จำแนกตามการจัดทำ EIA | ||
ที่มา: เอกสารแนบท้ายฟ้อง คำสั่งของศาลปกครอง คดีดำที่ 908/2552 คำนวณโดย สศค. | ||
. | ||
- โครงการที่ถูกระงับการลงทุนเป็นในกลุ่มที่ 1 และ 2 รวมเป็นเงิน 229 พันล้านบาท ซึ่งประกอบด้วย โครงการปิโตรเคมีและท่อส่ง โครงการเหล็ก นิคมอุตสาหกรรมและสวนอุตสาหกรรม ท่าเทียบเรือโรงไฟฟ้า โรงบำบัดกำจัดของเสียอันตรายจากอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่มีความเชื่อมโยงไปข้างหน้าและข้างหลังสูงมาก เช่น การผลิตปูน เหล็ก และการก่อสร้าง |
||
. | ||
2. จะเกิดอะไรขึ้นบ้างกับเศรษฐกิจไทย | ||
* ช่องทางการส่งผ่านผลกระทบต่อเศรษฐกิจ | ||
ผลกระทบที่เกิดขึ้นสามารถจำแนกได้ 7 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านอุปสงค์ ผ่านการลงทุน การบริโภค และการส่งออกในอนาคต 2) ด้านอุปทาน ผ่านการผลิตภาคอุตสาหกรรม และบริการที่เกี่ยวข้อง เช่น การคมนาคมขนส่ง ก่อสร้าง ไฟฟ้าแก๊ส ประปา และค้าส่งค่าปลีก 3) ด้านการจ้างงาน |
||
. | ||
4) การจัดเก็บรายได้ของรัฐบาล 5) ความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม ภาคธุรกิจ และภาคผู้บริโภค 6) ผลกระทบต่อสถาบันการเงินที่ปล่อยกู้ในโครงการที่ถูกระงับ และ 7) ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ จ.ระยอง และภาคตะวันออก |
||
. | ||
2.1 ผลกระทบด้านอุปสงค์ (Demand side) | ||
- การลงทุนภาคเอกชนมีสัดส่วนร้อยละ 16.7 ของ GDP โดยแบ่งเป็นการลงทุนด้านเครื่องมือเครื่องจักรร้อยละ 13.1 ของ GDP และการลงทุนด้านการก่อสร้างร้อยละ 3.6 ของ GDP |
||
. | ||
- แต่หากพิจารณาการลงทุนในบริเวณมาบตาพุดที่ถูกชะลอมีเม็ดเงินประมาณ 229,637 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 2.5 ของ GDP ซึ่งน่าจะส่งผลกระทบต่อทั้งการลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรและการก่อสร้าง |
||
ภาพที่ 3 สัดส่วนการลงทุนภาคเอกชนใน GDP |
||
. | ||
- หากปัญหายืดเยื้อจะเกิดค่าเสียโอกาสด้านการส่งออกสินค้าบางรายการ ได้แก่ ปิโตรเคมี เคมีภัณฑ์ พลาสติก เหล็ก เป็นต้น ซึ่งกินสัดส่วนประมาณร้อยละ 10 ของมูลค่าส่งออกรวม อีกทั้ง การสร้างท่าเทียบเรือที่ล่าช้า จะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันด้านการส่งออกสินค้าในอนาคต |
||
. | ||
2.2 ผลกระทบด้านอุปทาน (Supply side) | ||
. | ||
- ผลกระทบต่อการลงุทนภาคเอกชนการสั่งชะลอการลงทุนจะกระทบต่อวงกว้างต่อ GDP ด้าน Supply side ที่สำคัญ คือ ภาคอุตสาหกรรมซึ่งมีสัดส่วนถึงร้อยละ 40.2 ของ GDP |
||
. | ||
* ในภาคอุตสาหกรรมนั้น พบว่า มี 5 กลุ่มอุตสาหกรรม ที่จะได้รับผลกระทบโดยตรง ได้แก่ ปิโตรเลียมและการกลั่น ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ พลาสติและยาง เหล็กพื้นฐาน และเหล็กประดิษฐ์ ซึ่งทั้ง 5 อุตสาหกรรมมีสัดส่วนรวมกันร้อยละ 16.6 ของภาคอุตสาหกรรม |
||
. | ||
* และมี 2 อุตสาหกรรมที่จะได้รับผลทางอ้อม ได้แก่ การผลิตปูนซีเมนต์ (อุตสาหกรรมต้นน้ำ) และการผลิตยานยนต์ (อุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง) มีสัดส่วนรวมกันร้อยละ 18.4 ของภาคอุตสาหกรรม |
||
. | ||
- นอกจากนี้ยังมีผลกระทบต่อภาคบริการที่เกี่ยวข้องอีก 4 สาขา ได้แก่ การคมนาคมขนส่งร้อยละ 9.9 ของ GDP ไฟฟ้าแก๊สประปาร้อยละ 3.4 ของ GDP การก่อสร้างร้อยละ 2.2 ของ GDP และการค้าส่งค้าปลีกร้อยละ 13.7 ของ GDP |
||
. | ||
2.3 ผลกระทบต่อการจ้างงาน | ||
- เมื่อโครงการลงทุนถูกระงับ แรงงานจะถูกเลิกจ้างเกือบทั้งหมด ซึ่งหลายฝ่ายในพื้นที่ จ.ระยอง คาดการณ์ว่าจะมีแรงงานถูกเลิกจ้างทันที |
||
. | ||
2.4 การจัดเก็บรายได้ของรัฐบาล | ||
- เป็นที่ทราบกันดีว่า จ.ระยอง เป็นแหล่งอุตสาหกรรมใหญ่ที่สุดของประเทศ และเป็นแหล่งรายได้สำคัญของรัฐบาลโดยเฉพาะ ภาษีเงินได้นิติบุคคลที่จดทะเบียนในพื้นที่ หรือแม้จะจดทะเบียนในกรุงเทพก็ย่อมได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานที่เกิดขึ้นในอนาคตด้วย |
||
. | ||
- นอกจากนี้ยังมีผลต่อการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่อาจจะลดลงตามการบริโภคและการจ้างงานที่ลดลง | ||
. | ||
2.5 ความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม ภาคธุรกิจ และภาคผู้บริโภค | ||
- เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ส่งผลให้เห็นแล้วในการสำรวจความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนตุลาคม 2552 ที่ผ่านมา (จัดทำโดย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย) พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลงเป็นเดือนแรก หลังจากที่เริ่มปรับตัวดีขึ้นมาหลายเดือน โดยหนึ่งในเหตุผลที่ผู้บริโภคระบุ คือ การระงับการลงทุนที่มาบตาพุด |
||
. | ||
- แม้ความเชื่อมันภาคอุตสาหกรรม (จัดทำโดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย) และดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ (จัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย) ยังไม่สะท้อนปัญหาดังกล่าวเพราะได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา แต่คาดว่าเหตุการณ์ดังกล่าวน่าจะทำให้ความเชื่อมั่นในระยะข้างหน้าลดลง และอาจกระทบความเชื่อมั่นของต่างชาติบ้าง |
||
. | ||
2.6 ผลกระทบต่อสถาบันการเงินที่ปล่อยกู้ในโครงการที่ถูกระงับ | ||
- เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจะส่งผลต่อสถาบันการเงินที่สนับสนุนเงินทุน สถาบันการเงินที่สนับสนุนเงินทุนอาจได้รับผลกระทบโดยตรงต่อการเติบโตของสินเชื่อ รายได้ และคุณภาพสินเชื่อ ขณะที่สถาบันการเงินแห่งอื่น ๆ จะได้รับผลกระทบทางอ้อม เนื่องจากการสั่งระงับโครงการจะมีผลกระทบต่อการจ้างงาน ผู้รับเหมาก่อสร้าง ลูกค้าทั่วไป |
||
. | ||
และอาจต่อเนื่องไปถึงความสามารถในการชำระหนี้ให้กับสถาบันการเงินของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง อย่างไรก็ดี สศค.ประเมินว่า การที่สถาบันการเงินไทยในภาพรวมยังมีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงในระดับสูงมากถึงร้อยละ 16.5 ซึ่งสูงกว่ามาตรฐานสากล (BIS) ที่กำหนดขั้นต่ำไว้ที่ร้อยละ 8.5 จึงคาดว่า สถาบันการเงินไทยยังสามารถรองรับความเสี่ยงจากผลกระทบในกรณีนี้ได้ |
||
. | ||
2.7 ผลกระทบต่อเศรษฐกิจในพื้นที่ จ.ระยอง และภาคตะวันออก | ||
ภาพที่ 5 โครงสร้างเศรษฐกิจ จ.ระยอง |
||
. | ||
- เมื่อดูจากโครงสร้างเศรษฐกิจ จ.ระยอง จะพบว่า เสาหลักเศรษฐกิจคือ 1) ภาคอุตสาหกรรม และ 2) เหมืองแร่และย่อยหิน ซึ่งมีสัดส่วนรวมกันถึงร้อยละ 78.3 ของ GPP |
||
. | ||
- นอกจากนี้ GPP per Capita ในปี 2551 ของ จ.ระยอง อยู่ที่ 1,137,470 บาทต่อคนต่อปื ซึ่งสูงเป็นอันดับ 1 ของประเทศ สะท้อนกำลังซื้อในจังหวัดที่สูงมาก |
||
. | ||
- ดังนั้น ภาคการผลิตและภาคการใช้จ่ายใน จ.ระยอง ย่อมได้รับผลกระทบอย่างมากจากเหตุการณ์ดังกล่าว |
||
. | ||
ตารางที่ 1 โครงสร้างเศรษฐกิจ จ.ระยอง โดยเปรียบเทียบกับภาคตะวันออกและทั้งประเทศ | ||
. | ||
- เมื่อดูโครงสร้างเศรษฐกิจ จ.ระยอง โดยเปรียบเทียบกับภาคตะวันออกและทั้งประเทศจะพบว่า 1) ภาคอุตสาหกรรม มีสัดส่วนกว่า 1 ใน 3 ของ GRP ภาคอุตสาหกรรมของตะวันออก และสูงถึงร้อยละ 8.0 ของ GDP ภาคอุตสาหกรรมทั้งประเทศ 2) เหมืองแร่และย่อยหิน ซึ่งมีสัดส่วน 97.1 ของ GRP ภาคเหมืองแร่และย่อยหินของตะวันออก และมากกว่าครึ่งของ GDP ภาคเหมืองแร่และย่อยหินทั้งประเทศ |
||
. | ||
และ 3) ไฟฟ้าแก๊สประปา (รวมการขุดเจาะน้ำมัน+แก๊สในทะเล) ซึ่งมีสัดส่วนเกือบครึ่งของ GRP ภาคไฟฟ้าแก๊สประปาของตะวันออก และร้อยละ 12.3 ของ GDP ภาคไฟฟ้าแก๊สประปาทั้งประเทศ |
||
. | ||
- ดังนั้น หาก จ.ระยอง ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ ย่อมส่งผลต่อภาคตะวันออกและเทศอย่างแน่นอนย่อมได้รับผลกระทบอย่างมากจากเหตุการณ์ดังกล่าว |
||
. | ||
การประเมินผลกระทบต่อเศรษฐกิจในปี 2553 | ||
- ในกรณีไม่ได้รับผลกระทบนั้น คาดว่า เม็ดเงินลงทุนที่ถูกระงับจะสามารถทยอยลงทุนได้ภายในปี 2553 ประมาณร้อยละ 50 และปี 2554 อีกประมาณร้อยละ 50 ของวงเงินที่ถูกระงับการลงทุน (2.3 แสนล้านบาท) |
||
. | ||
- ผลกระทบจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น สามารถแยกได้เป็น 2 กรณี ได้แก่ กรณีที่กระทบเล็กน้อย คือ แทนที่จะลงทุนในปี 2553 ได้ร้อยละ 50 ของวงเงินที่เหลือ กลับลงทุนได้เพียงร้อยละ 33 ของวงเงินที่เหลือเท่านั้น และกรณีกระทบรุนแรง คือไม่มีเม็ดเงินลงทุนเลยในปี 2553 |
||
. | ||
- โดยสมมติเพิ่มเติมว่า 1) มีการลงทุนจริงเกิดขึ้นแล้วร้อยละ 20 ของวงเงินลงทุนของโครงการ 229 พันล้านบาท หรือเป็นเงิน 45.8 พันล้านบาท และ 2) โครงการตามปกติจะใช้เวลาลงทุนก่อสร้างประมาณ 2 ปี |
||
. | ||
ตารางที่ 2 ผละกระทบจากกรณีระงับการลงทุน 65 โครงการ ต่อเศรษฐกิจในปี 2553 | ||
หมายเหตุ : ประเมินผลกระทบจากการนำเม็ดเงินที่สูญเสียในปี 2553 ใส่แบบจำลองเศรษฐกิจมหภาค | ||
. | ||
- จากผลการประเมินพบว่า เหตุการมาบตาพุดจะกระทบต่อ GDP ร้อยละ -0.2 ถึง -0.5 จากรณีปกติ | ||
- กรณีปานกลาง GDP จะลดลงร้อยละ -0.1783 ดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุลเพิ่มจำนวน +0.6488 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และการจ้างงานทางตรงทางอ้อมลดลงจำนวน -66,000 คน จากกรณีไม่ได้รับผลกระทบ |
||
. | ||
- กรณีรุนแรง GDP จะลดลงร้อยละ -0.5228 ดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุลเพิ่มจำนวน +1.9372 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และการจ้างงานทางตรงทางอ้อมลดลงจำนวน -193,000 คน จากกรณีไม่ได้รับผลกระทบ |
||
. | ||
- อนึ่ง ในความเป็นจริง การชะลอการลงทุน จะทำให้การนำเข้าสินค้าวัตถุดิบ และสินค้าทุนชะลอตามไปด้วย แต่เนื่องจากไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับ Import Content ผลที่มีต่อดุลบัญชีเดินสะพัดจึงอาจคาดเคลื่อนได้ |
||
. | ||
- อย่างไรก็ตาม ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ที่ประเทศไทยจะหันมาจริงจังกับเรื่องการสร้างสมดุลระหว่างการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจและการรักษาสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของชุมชน เพื่อก้าวเข้าสู่ Green Economy และ Green Society อย่างแท้จริง |
||
. | ||
3. ทางออกของปัญหาการระงับการลงทุนที่บริเวณมาบตาพุด | ||
3.1 ทางออกในระยะสั้น | ||
- โครงการที่ศาลปกครองเห็นว่าไม่มีผลกระทบ สามารถเร่งดำเนินการต่อไปได้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มการลงทุนได้ส่วนหนึ่ง โดยเฉพาะโครงการที่น่าจะเป็นประโยชน์ต่อการบริหารจัดการเรื่องสิ่งแวดล้อม |
||
. | ||
- โครงการที่ถูกระงับ 65 โครงการ ต้องดำเนินการตามขั้นตอนรัฐธรรมนูญ มาตรา 67 วรรค 2 คือ เดินหน้าจัดทำ EIA และการศึกษาของผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA) รวมถึงรับฟังความเห็นของประชาชนและองค์กรอิสระต่าง ๆ เพื่อให้โครงการเหล่านี้สามารถเดินต่อไปได้ |
||
. | ||
- ทั้งนี้ ทางออกในระยะสั้นที่ควรเร่งดำเนินการคือ ให้คณะกรรมการ 4 ฝ่ายที่รัฐบาลตั้งขึ้นมา โดยมีนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน เร่งดำเนินการสร้างความชัดเจนให้โครงการที่ถูกระงับสามารถดำเนินการตามขั้นตอนรัฐธรรมนูญ มาตรา 67 วรรค 2 |
||
. | ||
โดยเร่งทำการศึกษาของผลกระทบด้าน EIA และ HIA รวมถึงรับฟังความเห็นของประชาชนและองค์กรอิสระต่าง ๆ เพื่อให้โครงการเหล่านี้มีความชัดเจนและสามารถขออนุมัติศาลปกครองเป็นราย ๆ ไ เพื่อให้การลงทุนสามารถเดินหน้าต่อไปได้ |
||
. | ||
3.2 ทางออกในระยะกลาง – ระยะยาว | ||
- การกระจายอุตสาหกรรมในเชิงเศรษฐกิจ คือ อาจจะเพิ่มสัดส่วนของการลงทุนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้มากขึ้น หรือกระจายไปยังอุตสาหกรรมเกษตร เป็นต้น |
||
. | ||
- การระจายในเชิงพื้นที่ คือ อาจจะต้องเริ่มดำเนินการอย่างจริงจังในการสนับสนุนให้ Southern seaboard เป็นฐานการลงทุนและฐานการผลิตขนาดใหญ่แหล่งใหม่ในภาคใต้ เป็นต้น |
||
. | ||
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง |