IT Update

อินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง เมกะเทรนด์อุตสาหกรรมยุคที่ 4

 

 

 

 

 

 

 

แมทธิว กอนซาเลซ

รองประธานบริษัท กลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรม

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ประเทศไทย

 

 

 

 

          IoT กำลังเข้ามาปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจในทุกอุตสาหกรรมของประเทศไทย และด้วยระบบการดำเนินงาน แบบชาญฉลาดนี้ จะช่วยให้ลูกค้าตระหนักถึงประโยชน์ที่ธุรกิจจะได้รับจากการนำ IoT มาปรับใช้ โดยผลิตภัณฑ์ที่เชื่อมต่อถึงกันจะยิ่งช่วยให้ขยายฐานโซลูชันและการบริการได้มากยิ่งขึ้น สามารถดำเนินการได้อย่างอัตโนมัติ และยังช่วยให้ลูกค้าสามารถตัดสินใจทางธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น

 

 

          ทุกวันนี้ เราได้ยินเรื่องต่าง ๆ มากมายเกี่ยวกับ IoT หรืออินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง (Internet of Things) และการปฏิวัติอุตสาหกรรมยุคที่ 4 (Industry 4.0) ซึ่งคำเหล่านี้ล้วนอ้างถึงเมกะเทรนด์อันเดียวกันที่กำลังส่งผลกระทบต่อตลาดและลูกค้าหลายรายในปัจจุบัน รวมไปถึงอนาคตในระยะที่สามารถคาดการณ์ได้ ทั้งนี้ สำหรับอุตสาหกรรม เราขอเรียกเมกะเทรนด์นี้ว่า IIoT (Industrial Internet of Things) หรือถ้าให้เรียกเป็นภาษาไทยก็คือ อินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่งสำหรับอุตสาหกรรม ซึ่งครอบคลุมกระบวนการที่ครบถ้วน รวมถึงกระบวนการที่ต่อเนื่องกันทั้งหมด เราจะวางจุดยืนของเราในเรื่องนี้อย่างไรให้กลยุทธ์ด้าน IIoT มีความชัดเจนและเกี่ยวข้องกับลูกค้าของเรา

 

 

IIoT ที่สอดคล้องกับหน่วยธุรกิจด้านอุตสาหกรรม

 

 

          คำจำกัดความจะครอบคลุม 3 ประเด็นต่อไปนี้

 

          1. โลกของผลิตภัณฑ์ที่เชื่อมต่อกันได้อย่างชาญฉลาด (เหล่านี้เรียกว่า “สรรพสิ่ง”) ที่ฝังฟังก์ชั่นการทำงานที่ฉลาดไว้ในหลากหลายระดับด้วยกันไม่ว่าจะเป็น

 

  • ฟังก์ชั่นตรวจจับสัญญาณ และตรวจวัดการขับเคลื่อน
  • ฟังก์ชั่นควบคุม
  • ฟังก์ชั่นการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
  • ฟังก์ชั่นการทำงานแบบอัตโนมัติ

 

 

 

 

          2. ผลิตภัณฑ์ด้านการเชื่อมต่อที่ชาญฉลาดเหล่านี้ ทำงานเสมือนเป็นส่วนหนึ่งของระบบที่ใหญ่กว่า หรือเป็นระบบย่อยในระบบที่ประกอบไปด้วยสินทรัพย์หลายส่วนที่เชื่อมต่อกันได้อย่างฉลาด ได้แก่ สมาร์ท แมชชีน สมาร์ท แฟคทอรี่ สมาร์ท แพลนท์ สมาร์ท เอ็นเตอร์ไพรซ์ ระบบที่ว่าจะใช้ความเป็นระบบเปิดและใช้อินเทอร์เน็ตเป็นมาตรฐาน รวมถึงเรื่องโมบิลิตี้ ระบบคลาวด์ และเทคโนโลยีด้านการวิเคราะห์ เพื่อช่วยให้ควบคุมธุรกิจได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

 

          3. ผลลัพธ์ที่ได้ คือคุณค่าทางธุรกิจที่จับต้องได้ทั้งสำหรับเราและผู้ใช้ รวมถึงลูกค้าโออีเอ็ม ในประเด็นต่อไปนี้

 

  • การปรับปรุงเรื่องประสิทธิภาพ และผลกำไรที่ดียิ่งขึ้น
  • ให้ความปลอดภัยบนไซเบอร์ และให้นวัตกรรมที่มากขึ้น
  • การบริการจัดการที่ดีขึ้น ทั้งในเรื่องความปลอดภัย ประสิทธิภาพ และผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม

 

“กลยุทธ์ด้าน IIoT ของเราและการพัฒนาในส่วนที่เกี่ยวเนื่องนั้นนับได้ว่าเป็นกลยุทธ์แรกและเป็นความล้ำหน้าที่ให้คุณค่าเสริมแก่ลูกค้านอกเหนือเทคโนโลยีที่ใช้กันอยู่ และการสื่อสารของเราต้องเน้นที่จุดนี้เป็นหลัก”

 

 

3 เทคโนโลยีหลักที่อยู่เบื้องหลังการขับเคลื่อน IIoT ได้แก่

 

 

  1. ระบบอิเล็กทรอนิกส์ และความชาญฉลาดที่ฝังมากับอุปกรณ์ที่ใช้งาน (“สรรพสิ่ง”)
  2. ความสามารถในการเชื่อมต่อที่ดีขึ้น จากการใช้เทคโนโลยีระบบไร้สาย อีเธอร์เน็ต และอินเทอร์เน็ต
  3. ความก้าวหน้าด้านซอฟต์แวร์ที่ใช้ในเรื่องของบิ๊กดาต้า ระบบวิเคราะห์ และจำลองสถานการณ์

 

          ผลิตภัณฑ์ที่ให้การเชื่อมต่ออย่างฉลาด (Smart Connected Products) ตามที่กล่าวถึงในคำจำกัดความของเรานั้น กำลังได้รับการพัฒนาโดยเป็นผลมาจากตัวขับเคลื่อนเทคโนโลยีประการแรกและประการที่สอง ในทางกลับกัน การย้ายความฉลาดมาใส่ไว้ในอุปกรณ์ที่ใช้งานเฉพาะทางจะส่งผลกระทบถึงสถาปัตยกรรมของระบบควบคุม ซึ่งจะมีการกระจายศูนย์มากขึ้นและรองรับการให้บริการได้มากขึ้น

 

          ส่วนตัวขับเคลื่อนประการที่สาม ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้พัฒนาคลังจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Repository) สำหรับบริการบนระบบคลาวด์ นอกจากนี้ ยังมีทีมงานเฉพาะที่เป็น “นักวิทยาศาสตร์ด้านข้อมูล” ที่ทำงานในส่วนนี้ เพื่อระบุปัญหาทางธุรกิจมากกว่า 150 เรื่องที่ต้องอาศัยโซลูชันด้านการวิเคราะห์มาช่วย พร้อมการทำงานร่วมกับหน่วยธุรกิจ และสายผลิตภัณฑ์ของธุรกิจนั้น ๆ เพื่อขึ้นเป็นต้นแบบในการนำเสนอสิ่งที่เกี่ยวข้อง

 

          นอกจากนี้ การถกประเด็นเรื่องของ IIoT จะยังไม่จบสิ้น หากไม่มีการพูดถึงเรื่องการรักษาความปลอดภัยบนไซเบอร์  โซลูชันรักษาความปลอดภัยบนไซเบอร์นับเป็นปัจจัยหลักสำหรับการนำ IIoT มาใช้ และเราก็กำลังให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ด้วยการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรองเรื่องความปลอดภัย รวมถึงพัฒนาการของโปรโตคอลในอุตสาหกรรม พร้อมรักษาความความปลอดภัยระบบที่ขยายครอบคลุมไปถึงการให้บริการทางไกลและเรื่องของคลาวด์

 

 

พัฒนาการสู่ IIoT

 

 

          ในการถกประเด็นกับลูกค้าเกี่ยวกับเรื่อง IIoT จะมีข้อความหลักอยู่ 8 ประการที่คุณสามารถใช้เน้นย้ำเรื่องของกลยุทธ์ได้ ซึ่งประเด็นเหล่านี้จะมีการขยายรายละเอียดในแพลตฟอร์มข้อความที่ควรจะนำมาใช้เป็นพื้นฐานของการสื่อสารทั้งหมด

 

  1. ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เป็นผู้คิดค้น IIoT ตั้งแต่ปลายปี ค.ศ.1990 เราก็ได้ติดตั้งอีเธอร์เน็ต และเว็บเซิร์ฟเวอร์ ไว้ในอุปกรณ์ระบบออโตเมชั่นของเรา ด้วยระบบขบวนการผลิตที่โปร่งใส (Transparent Factory) และ Transparent Ready ในขณะที่คู่แข่งของเรายังโปรโมทโปรโตคอลดั้งเดิม เช่น Profibus และ DeviceNet อยู่ เรายังคงคิดค้นนวัตกรรมด้วยการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ที่ได้รับรางวัล เช่น Modicon M580 ในปี ค.ศ.2013 โดยเป็นคอนโทรลเลอร์ตัวแรกที่มีการฝังอีเธอร์เน็ตไว้ที่ Backplane
  2. ในฐานะที่เป็นหน่วยธุรกิจ พันธกิจแรกของเราคือการจัดหาระบบงานและผลิตภัณฑ์ที่เชื่อมต่อได้ฉลาด ซึ่งเป็นระบบชั้นนำและให้นวัตกรรมที่ใช้เทคโนโลยีใหม่จาก IIoT ฝ่ายซอฟต์แวร์ของเราเป็นฝ่ายที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องบิ๊กดาต้า และระบบวิเคราะห์และจำลองรูปแบบการทำงาน
  3. องค์กรที่ทำธุรกิจด้านอุตสาหกรรม มองเรื่อง IIoT เป็น “พัฒนาการ” ไม่ใช่ “การปฏิวัติ” เราต้องทำให้ลูกค้าเชื่อมั่นว่าเราจะเคียงข้างไปด้วยในการเดินทาง เราต้องมั่นใจว่าเทคโนโลยีใหม่ที่เรานำเสนอนั้นให้คุณค่าอย่างแท้จริงสำหรับธุรกิจทั้งความคุ้มค่าเรื่องค่าใช้จ่าย ช่วยปกป้องสิ่งที่ลูกค้าลงทุนไว้ในอดีตได้
  4. ในส่วนของซัพพลายเออร์ด้านระบบออโตเมชั่นทั้งหมด ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เคยเป็นและยังคงเป็นผู้ที่ยึดมั่นในเรื่องของมาตรฐานระบบเปิดของอุตสาหกรรม เราตอกย้ำคำมั่นสัญญานี้ด้วยการนำเสนอโปรโตคอล Modbus TCP เป็นมาตรฐานระบบเปิดมาตั้งแต่ปี 1997 และจะยังคงเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมอย่างจริงจังในการก่อตั้งและติดตั้งมาตรฐาน IIoT ที่รวมถึงพัฒนาการเรื่องโปรโตคอลที่ใช้ร่วมกันเป็นหลัก
  5. เราพร้อมที่จะนำเสนอระบบและผลิตภัณฑ์ที่ให้การเชื่อมต่ออย่างฉลาด โดยใช้คลาวด์และซอฟต์แวร์ล้ำหน้ามาช่วยเพื่อให้ลูกค้าได้รับคุณค่าทางธุรกิจที่จับต้องได้ ในประเด็นต่อไปนี้
  • ไดนามิคคิวอาร์โค้ด สำหรับคาดเดาความผิดปกติที่เกิดขึ้นได้อย่างฉลาด ช่วยลดช่วงเวลาดาวน์ไทม์ของโรงงาน
  • การติดตั้งปั้มเคิร์ฟที่ฝังไว้ในกระบวนการทำงานของอัลติวาร์ไดรฟ์ ซึ่งถือเป็นตัวอย่างของ “การเพิ่มประสิทธิภาพภายใน” ของ “ผลิตภัณฑ์ที่เชื่อมต่อได้อย่างฉลาด” ซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่ายและความเสื่อมสภาพของตัวปั๊ม ทำให้เกิดการดาวน์ไทม์น้อยลง
  • ซอฟต์แวร์ Vijeo Design’Air ที่มีรางวัลรับประกันสำหรับแท็ปเล็ตและสมาร์ทโฟนทั้งในระบบแอนดรอย์ และของแอปเปิล จะช่วยในเรื่องของการมอนิเตอร์และตั้งค่าการใช้งานอุปกรณ์ในระบบควบคุมระหว่างที่ต้องเดินทางไปมาได้ ช่วยลดเวลาดำเนินการและลดการดาวน์ไทม์ได้
  • ลูกค้าที่ใช้ระบบออโตเมชั่นในกระบวนการทำงาน สามารถตั้งค่าและทดสอบระบบควบคุมจากการสั่งงานแบบรวมศูนย์ (Distributed Control System) และระบบควบคุมความปลอดภัยจากระยะไกลได้ด้วยการใช้ “ระบบงานผ่านคลาวด์” ซึ่งช่วยให้วิศวกรหลายท่านที่ทำงานอยู่ต่างสถานที่กัน สามารถดำเนินงานเรื่องเกี่ยวกับวิศวกรรมระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในลักษณะของการประสานงานร่วมกันโดยไม่จำเป็นต้องใช้ฮาร์ดแวร์ ช่วยลดเวลาการทำงานโดยรวม และลดค่าใช้จ่าย ในขณะที่ช่วยปรับปรุงคุณภาพของระบบไปยังไซท์งาน
  • สำหรับลูกค้าที่ทำเหมืองรายใหญ่ที่สุด เรายังให้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อช่วยในการรันระบบซัพพลายเชนที่ซับซ้อนได้แบบกระจายศูนย์ตามภูมิศาสตร์ จากระบบของตัวเหมืองเอง ไปยังระบบขนส่ง และระบบทางรถไฟตลอดทางไปจนถึงท่าส่งของ ระบบเหล่านี้ใช้เทคนิคการจำลองและวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูง เพื่อที่จะสามารถแนะนำผู้ประกอบการได้แบบเรียลไทม์ว่าควรจะทำอะไรหากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้า ตัวอย่างเช่น รถไฟเกิดขัดข้องขึ้นมา เป็นต้น ซึ่งซอฟต์แวร์ดังกล่าว ไม่เพียงแต่จะแนะนำผู้ประกอบการว่าจะจัดตารางใหม่อย่างไรให้สามารถทำงานในช่วงเวลานั้น ๆ และให้ได้ผลกำไรที่เหมาะสมที่สุด แต่ยังอธิบายเหตุผลในการตัดสินใจดังกล่าวได้ด้วย
  1. ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้พัฒนาคลังที่ใช้จัดเก็บบันทึกข้อมูลขนาดใหญ่เป็นส่วนกลาง สำหรับบริการคลาวด์ของชไนเดอร์ อิเล็คทริค และได้ตั้งทีม “นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล” เฉพาะขึ้นมา เพื่อทำงานร่วมกับลูกค้าในกรณีของธุรกิจที่ต้องอาศัยโซลูชันระบบวิเคราะห์เข้ามาช่วย
  2. ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ตระหนักดีถึงการพัฒนาหลายสิ่งที่ซับซ้อน ซึ่งจะต้องอาศัยพลังของ IIoT มาช่วยในการควบคุมอย่างแท้จริง ตัวอย่างเช่น ในเครื่องจักรที่มีการเรียนรู้การทำงานด้วยตัวเอง เป็นต้น เราส่งผ่านงานวิจัยและพัฒนาที่เปี่ยมไปด้วยนวัตกรรม ในหลาย ๆ ด้าน และโร๊ดแม็พของเราในอนาคตจะนำการพัฒนาดังกล่าวมาต่อยอดต่อไป
  3. ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ตระหนักดีว่าการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการนำ IIoT มาใช้ และได้ทำเรื่องนี้ในหลายระดับเพื่อให้บรรลุผล รวมถึงการพัฒนามาตรฐาน และผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรองด้านความปลอดภัย รวมถึงรักษาความปลอดภัยเรื่องการให้บริการและโซลูชันจากระยะไกล

 

 

 

 

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด