Logistic & Supply Chain

มองรอบทิศคิดอย่าง Supply Chain โลจิสติกส์และซัพพลายเชนในระบบการขนส่งทางอากาศ (ตอนที่ 3)

ดร.ชิตพงษ์ อัยสานนท์

วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

ayasanond@hotmail.com

 

 

 

 

          การขนส่งทางอากาศมีความสำคัญมากในปัจจุบัน โดยเฉพาะการขนส่งระหว่างประเทศเพราะทำการขนส่งได้รวดเร็วกว่าการขนส่งประเภทอื่น ๆ ไม่เสียเวลาในการขนส่งนาน สะดวกและปลอดภัย เหมาะกับการขนส่งสินค้าประเภทที่สูญเสียง่าย หรือสินค้าต้องการความรวดเร็วในการใช้งาน ซึ่งการขนส่งประเภทนี้ทำให้ธุรกิจสามารถขยายตัวได้รวดเร็วทั้งในและต่างประเทศ แต่ค่าใช้จ่ายแพงกว่าการขนส่งประเภทอื่น

          จากบทความที่แล้วผมได้พูดถึงการส่งต่อข้อมูล (Information Flow) ในอุตสาหกรรมการบิน (Airline Industry) ซึ่งเป็นการประสานงานและการบริการของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ไม่ว่าจะเป็นงานควบคุมและการให้บริการด้านสนามบิน งานบริการจราจรทางอากาศ (Air Traffic Services: ATS) การบริการควบคุมจราจรทางอากาศ (Air Traffic Control Services) การบริการข่าวการบิน (Flight Information Service: FIS) การบริการระวังภัย (Alerting Service) งานบริการโทรคมนาคม (Aeronautical Telecommunication) งานบริการอุตุนิยมวิทยา (Meteorological Service) หรือแม้แต่งานบริการค้นหาและช่วยเหลือ (Search and Rescue Service) ที่ต้องบูรณาการให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน (Integrated Planning) จากต้นทาง (Origin) จนถึงปลายทาง (Destination) ของแผนการเดินทางในแต่ละเส้นทางการบิน (Flight Plan) เพื่อไม่ให้สายการบินนั้นออกนอกเส้นทางในระดับเส้นทางการบิน (Actual Path) ที่ถูกกำหนดไว้

 

 

An Airline Flight is a Good Metaphor for Integrated Planning and Execution

(ที่มาhttp://www.scdigest.com/images/misc/Supply-Chain-Planning-Exec.jpg)

 

 

จุดประสงค์หลักของผู้ประกอบการด้านธุรกิจการบินหรือสายการบิน

 

          จุดประสงค์หลักของผู้ประกอบการด้านธุรกิจการบินหรือสายการบินนั้นก็คือ การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันและมีการบริการที่เป็นเลิศ โซ่อุปทานแห่งคุณค่า (Value Chain) ในการดำเนินงานธุรกิจสายการบินนั้นจะประกอบด้วยกิจกรรมหลักที่สำคัญ 4 ประการ คือ 1.โครงสร้างพื้นฐานขององค์กร (Firm Infrastructure) โดยเฉพาะในเรื่องของเงินทุน 2.การบริหารทรัพยากรบุคคล (Human Resource Management) ทั้งในส่วนบุคลากรทางด้านการบินที่ทำงานในอากาศยานและภาคพื้น รวมทั้งการอบรมและพัฒนาบุคลากร 3.การพัฒนาระบบสารสนเทศที่ทันสมัย (Technology Development) และ 4.การบริหารข้อมูลข่าวสารที่มีความสำคัญด้านการบิน (Information Technology Communication)

          นอกจากกิจกรรมหลักดังกล่าวแล้ว ผู้ประกอบการในธุรกิจสายการบินยังจะต้องอาศัยกิจกรรมสนับสนุนจากการบริหารจัดการองค์กร (Operation) และการบริหารงานด้านการตลาด (Marketing and Sales) ที่มีประสิทธิภาพอีกด้วย

 

 

(ที่มา : http://image.slidesharecdn.com/introduction-to-airline-information-system4880/95/introduction-to-airline-information-system-12-728.jpg?cb=1250043267)

 

          เมื่อพูดถึงธุรกิจสายการบิน คนส่วนใหญ่อาจจะนึกถึงแค่กิจกรรมการขนส่งผู้โดยสารทางอากาศ (Passenger Service) แต่จริง ๆ แล้วการดำเนินธุรกิจสายการบินจะเน้นไปที่การดำเนินธุรกิจการบินพาณิชย์ที่มีทั้งเส้นทางบินระหว่างประเทศและเส้นทางบินในประเทศ ซึ่งให้บริการที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งทางอากาศแบบครบวงจรโดยแบ่งเป็น 3 ส่วนหลัก ๆ คือ

 

1. กิจการขนส่งทางอากาศ (Core Business)

 

          ประกอบด้วย บริการขนส่งผู้โดยสาร บริการขนส่งสินค้า พัสดุภัณฑ์และไปรษณียภัณฑ์ (Freight and Mail Service) ซึ่งบางสายการบินก็เน้นเฉพาะการบริการขนส่งสินค้า พัสดุภัณฑ์และไปรษณียภัณฑ์ แต่เพียงอย่างเดียว เช่น เฟดเอกซ์ ดีเอชแอล และยูพีเอส เป็นต้น

          เฟดเอกซ์ (FedEx NYSE: FDX) หรือ เฟดเดกซ์ (ชื่อเรียกในสหรัฐอเมริกา) เป็นบริษัทขนส่งสัญชาติอเมริกัน ก่อตั้งโดย เฟรด สมิธ นายทหารเรือสหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ.2514 ที่เมืองลิตเติลร็อก ในรัฐอาร์คันซอ ก่อนที่จะย้ายบริษัทมาตั้งที่เมืองเมมฟิส ในรัฐเทนเนสซี โดยให้บริการขนส่งตั้งแต่เอกสาร ไปจนถึงสินค้าขนาดใหญ่ ทั้งทางบก และทางอากาศ ชื่อเฟดเอกซ์ นั้นเปลี่ยนมาจากชื่อเดิมของบริษัท เฟดเดรัล เอกซ์เพรส (อังกฤษ: Federal Express) เมื่อปี พ.ศ.2537

 

 

FedEx: เน้นเฉพาะบริการขนส่งสินค้า พัสดุภัณฑ์และไปรษณียภัณฑ์อย่างเดียว

(ที่มา : http://image.slidesharecdn.com/fedex-130223011405-phpapp01/95/fedex-supply-chain-management-4-638.jpg?cb=1361583863)

 

          ดีเอชแอล หรือ แดลซีย์ฮิลล์บลมแอนด์ลินน์ (อังกฤษ: Dalsey, Hillblom and Lynn ซึ่งย่อว่า DHL) เป็นบริษัทเยอรมันให้บริการขนส่งและโลจิส ติกส์ โดยมีการขนส่งในทุกหลายอย่างตั้งแต่การขนส่งเอกสาร จดหมาย รวมไปถึงตู้คอนเทนเนอร์ ดีเอชแอลประกอบด้วยสามหน่วยงานหลักได้แก่ ได้แก่ ดีเอชแอลเอกซ์เพรส (DHL Express) ดีเอชแอลดาน ซาสแอร์แอนด์โอเชียน (DHL Danzas Air & Ocean) และดีเอชแอลโซลูชันส์ (DHL Solution) โดยเริ่มก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.2512 (ค.ศ.1969) โดยเริ่มจากทำธุรกิจส่งเอกสารทางเครื่องบิน จากเมืองซานฟรานซิสโกไปยังโฮโนลูลู และเริ่มดำเนินขั้นตอนการเดินพิธีศุลกากรล่วงหน้า ก่อนที่เรือสินค้าจะเข้าเทียบท่า ทำให้สามารถขนถ่ายสินค้าได้รวดเร็วขึ้นอย่างมาก และต่อมาได้เพิ่มอุตสาหกรรมใหม่ คือธุรกิจการขนส่งด่วนทางอากาศระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นการขนส่งเอกสาร และ พัสดุไปยังจุดหมายอย่างรวดเร็วโดยเครื่องบิน

          เครือข่ายของดีเอชแอลเติบโตต่อเนื่องอย่างรวดเร็ว บริษัทขยายธุรกิจจากฝั่งตะวันตกของอเมริกา คือฮาวายไปจนถึงฝั่งตะวันออก และคาบสมุทรแปซิฟิก ต่อเนื่องไปยังตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรป ในปี พ.ศ.2531 ดีเอชแอลขยายบริการ ไปยัง 170 ประเทศทั่วโลก และมีพนักงานกว่า 16,000 คน สำหรับในประเทศไทย ดีเอชแอลได้เริ่มดำเนินธุรกิจในปี พ.ศ.2514 และได้เปิดสำนักงานใหญ่ที่กรุงเทพเมื่อปี พ.ศ.2533

          และเมื่อช่วงต้นปี พ.ศ.2545 ดอยช์เชอโพสต์เวิลด์เน็ต (Deutsche Post World Net) ได้เริ่มเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นหลักของดีเอชแอล และในช่วงปลายปี พ.ศ.2545 ดอยช์โพสต์เวิลด์เน็ต ได้ถือหุ้นของดีเอชแอล 100% ต่อมาในปี พ.ศ.2546 ได้ประกาศรวมกิจการขนส่งด่วนและโลจิสติกส์เข้าไว้ด้วยกัน ภายใต้แบรนด์ดีเอชแอล ดีเอชแอลขยายธุรกิจโดยการเข้าควบรวมกิจการกับ เอกเซล (Exel) ในเดือนธันวาคม 2548 ซึ่ง เอกเซลเดิมมีบุคลากรอยู่ประมาณ 111,000 คนใน 135 ประเทศทั่วโลก

 

 

DHL: เน้นเฉพาะบริการขนส่งสินค้า พัสดุภัณฑ์และไปรษณียภัณฑ์อย่างเดียว

(ที่มา : http://image.slidesharecdn.com/dhlsupplychainandcoventryuniversityslides-141009044824-conversion-gate02/95/trevor-jones-dhl-supply-chain-with-anthony-olomolaiye-coventry-university-3-638.jpg?cb=1412830551)

 

          ยูพีเอส (United Parcel Service: UPS) เป็น บริษัท ขนส่งสินค้า และไปรษณีย์เอกชน ที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกาและได้มีสาขาอยู่ทั่วโลก ในการรับส่งพัสดุภัณฑ์ มีการส่งพัสดุภัณฑ์ มากกว่า 14 ล้านชิ้นต่อวันทั่วโลก ก่อตั้งเมื่อ 28 สิงหาคม พ.ศ.2450 ที่เมืองซีแอทเทิล ในรัฐวอชิงตัน ปัจจุบันได้ย้ายสำนักงานใหญ่อยู่ที่แอตแลนตาในรัฐจอร์เจีย สำหรับในประเทศไทย

 

2. หน่วยธุรกิจ (Business Unit)

 

          อันเป็นกิจการที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับการขนส่ง ประกอบด้วย การบริการคลังสินค้า การบริการลูกค้าภาคพื้น การบริการลานจอดและอุปกรณ์ภาคพื้น และครัวการบิน เป็นต้น

 

 

ครัวการบิน

(ที่มา : http://www.arabianbusiness.com/incoming/article505164.ece/ALTERNATES/g3l/Food+preparation+at+dnata+catering,+Singapore.jpg,

http://www.mkn.de/export/sites/default/mkn/en/bilder/PUK_CAT_10.jpg)

 

 

 

การขนส่งอาหารขึ้นเครื่องบิน
(ที่มา :http://skift.com/wp-content/uploads/2014/09/LSG_A380_01.jpg)

 

 

การบริการอาหารบนเที่ยวบิน
(ที่มา :http://cms.ukintpress.com/UserFiles/Titan's%)

 

 

 

3. กิจการอื่น ๆ

 

          อันเป็นกิจการสนับสนุนการขนส่ง ประกอบด้วย การบริการซ่อมบำรุงอากาศยาน การบริการอำนวยการบิน การจำหน่ายสินค้าปลอดภาษีบนเครื่องบิน การจำหน่ายสินค้าที่ระลึก เป็นต้น

 

 

การบริการซ่อมบำรุงอากาศยาน

(http://www.prachachat.net/online/2015/11/14473067391447306766l.jpg)

 

          หากพิจารณาให้ดีแล้วการประกอบธุรกิจสายการบินหรือการขนส่งทางอากาศ มีองค์ประกอบของภาคธุรกิจที่แฝงและประกอบอยู่ด้วยกันมากมาย จึงเป็นการท้าท้ายสำหรับผู้บริหารของธุรกิจหรือการขนส่งประเภทนี้ที่ต้องใช้ความชำนาญอย่าง “มืออาชีพ” จึงจะเข้าใจในบริบทโซ่อุปทานของการบริหารจัดการในธุรกิจประเภทนี้

 

 
 

(ที่มา : http://image.slidesharecdn.com/introduction-to-airline-information-system4880/95/introduction-to-airline-information-system-26-728.jpg?cb=1250043267)

 

 

เอกสารอ้างอิง

http://cms.ukintpress.com/UserFiles/Titan’s%.

http://image.slidesharecdn.com/dhlsupplychainandcoventryuniversityslides-141009044824-conversion-gate02/95/trevor-jones-dhl-supply-chain-with-anthony-olomolaiye-coventry-university-3-638.jpg?cb=1412830551.

http://image.slidesharecdn.com/fedex-130223011405-phpapp01/95/fedex-supply-chain-management-4-638.jpg?cb=1361583863.

http://image.slidesharecdn.com/introduction-to-airline-information-system4880/95/introduction-to-airline-information-system-12-728.jpg?cb=1250043267.

http://image.slidesharecdn.com/introduction-to-airline-information-system4880/95/introduction-to-airline-information-system-26-728.jpg?cb=1250043267.

http://skift.com/wp-content/uploads/2014/09/LSG_A380_01.jpg.

https://th.wikipedia.org/wiki/.

http://www.arabianbusiness.com/incoming/article505164.ece/ALTERNATES/g3l/Food+preparation+at+dnata+catering,+Singapore.jpg.

http://www.mkn.de/export/sites/default/mkn/en/bilder/PUK_CAT_10.jpg.

http://www.prachachat.net/online/2015/11/14473067391447306766l.jpg.

http://www.scdigest.com/images/misc/Supply-Chain-Planning-Exec.jpg.

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด