บริษัท อนาไลติคอล แอนด์ คอนโทรล เทคโนโลยี 2000 จำกัด
เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้แหล่งสร้างแรงดันที่เป็นแก็ส หรือลม (Pneumatic Pressure Source) การใช้งาน Hydraulic จะได้เปรียบทั้งในเรื่องขนาดของอุปกรณ์ ความปลอดภัย และสร้างแรงดันได้สูงสะดวกกว่า
อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้งานจำเป็นต้องเข้าใจกระบวนการทำงานของอุปกรณ์เพื่อให้การสอบเทียบได้ค่าความแม่นยำที่ถูกต้อง จากการรักษาแรงดันในการอ่านค่าให้คงที่ ซึ่งการเข้าใจถึงผลจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ (Thermodynamic Effects) หรือ Adiabatic Effects จะช่วยให้ผู้ใช้งานทำงานกับ Hydraulic Comparator และ Hydrualic Handpump ได้ดียิ่งขึ้น
อุปกรณ์สร้างแรงดันที่ใช้ Hydraulic จะมีผลของ Adiabatic Effect หรือการเปลี่ยนแปลงแรงดันทันที (Immediate Drift) หลังจากที่ระบบสร้างแรงดันถึงจุดที่ต้องการแล้ว ซึ่งเป็นผลเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างรวดเร็วจากการที่ฟองอากาศที่อยู่ในของเหลวที่ใช้ ถูกอัดตัว ซึ่งฟองอากาศนี้จะเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว ทำให้ค่าแรงดันที่อยู่ในระบบเปลี่ยนแปลงไปด้วย
โดยปกติเมื่อแรงดันในระบบสูงขึ้น อุณหภูมิของ Hydraulic Fluid ก็จะสูงขึ้นตามด้วย เช่นเดียวกับฟองอากาศที่อาจแทรกอยู่ก็จะมีอุณหภูมิสูงขึ้นตามขึ้นตามเช่นเดียวกัน เมื่อแรงดันถึงจุดที่ต้องการ ฟองอากาศเหล่านี้ก็จะคลายความร้อนออก พร้อมกับที่ Hydraulic Fluid เริ่มเย็นลง เป็นผลทำให้แรงดันในระบบลดลง
เมื่อแรงดันลดลง ผู้ใช้งานหลายท่านจะตั้งสันนิษฐานว่ามีจุดรั่วในระบบ และเริ่มทำการตรวจสอบ ไปจนรื้อระบบเพื่อติดตั้งข้อต่อ และอุปกรณ์ใหม่ ทำให้เสียเวลาในการทำงานมากขึ้นโดยไม่จำเป็น ผลจาก Adiabatic Effect จะส่งผลน้อยลงเมื่อแรงดันเป้าหมายลดลง หรือแรงดันในระบบลดลง ลักษณะของแรงดันของ Hydraulic ที่ได้รับผลจาก Adiabatic Effect แสดงในรูปที่ 1
รูปที่ 1 ลักษณะของแรงดันของ Hydraulic ที่ได้รับผลจาก Adiabatic Effect
การวางแผนขั้นตอนการทำงานที่เหมาะสม จะช่วยลดผลจาก Adiabatic Effect ในการสอบเทียบทางแรงดันที่ใช้ Hydraulic เป็นตัวสร้างแรงดัน โดยทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
1. ปรับเปลี่ยนการปรับเพิ่ม และลดแรงดัน
A. ค่อย ๆ เพิ่มแรงดันในระบบ เพื่อลดผลแรงดันตกจาก Adiabatic Effect
B. ค่อย ๆ ลดแรงดันในระบบ เพื่อลดผลแรงดันเพิ่มขึ้นจาก Adiabatic Effect
การใช้อุปกรณ์สร้างแรงดันที่สามารถควบคุมการเพิ่ม หรือลดแรงดันได้ละเอียด เช่น GaugeCalHP ซึ่งเพิ่มลดแรงดันด้วย Handwheel ทำให้ผู้ใช้งานสามารถประมาณการเพิ่มและลดแรงดันได้แม่นยำกว่าการใช้ปั้มแบบโยก หรือมือบีบ
2. ลดปริมาณฟองอากาศในระบบ
A. ประกอบข้อต่อเข้ากับอุปกรณ์สร้างแรงดัน โดยให้มันใจว่าข้อต่อมีระดับอยู่สูงกว่าตัวสร้างแรงดัน
B. เพิ่มแรงดันในระบบจนมีของเหลวออกจากข้อต่อ
C. ต่อ Device-Under-Test หรือ Reference Gauge
D. ทำซ้ำกับข้อต่อที่เหลือ
3. ใช้ข้อที่มีรูระบาย ข้อต่อแบบมีรูระบาย หรือ Self-Venting Weep Hole เช่น CPF Fitting จาก Crystal Engineering ช่วยไล่อากาศที่อยู่ในระบบ โดยการต่ออุปกรณ์ในระบบ รวมถึง Device-Under-Test และ Reference Gauge แล้วทำการสร้างแรงดันในระบบประมาณ 10 -15 PSI จากนั้นจึงคลายข้อต่อเล็กน้อย อากาศจะระบายออกทางรูระบาย ทำซ้ำจนไม่เห็นฟองอากาศ
4. ใช้น้ำในระบบ การใช้น้ำแทนน้ำมันในระบบ พบว่าเมื่อใช้น้ำสะอาดอัตราการเปลี่ยนแปลงแรงดันจะลดลงถึงสองเท่าเมื่อเทียบกับการใช้น้ำมันในงานเดียวกัน
5. ลดการใช้ท่อที่มีการขยายตัวเมื่อมีแรงดัน ถึงแม้เป็นท่ออ่อน หรือ Flexible Hose อย่างดี ยังสามารถส่งผลต่ออัตราการเปลี่ยนแปลงแรงดันในระบบ เนื่องจากเมื่อท่อขยายตัวทำให้ปริมาตรในระบบเพิ่มขึ้น ส่งผลให้แรงดันลดลง
6. ลดการส่งถ่ายความร้อนจากการสัมผัสอุปกรณ์ ผลจากอุณหภูมิส่งผลต่อแรงดันในระบบอย่างเป็นนัยสำคัญ การใส่ถุงมือในการทำงาน เพื่อลดการสัมผัสและถ่ายเทความร้อนจากร่างกายถึงอุปกรณ์โดยตรง จึงเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติ
นอกจากกระบวนการเตรียมการในการสอบเทียบที่ดีแล้ว อุปกรณ์ที่ใช้งานง่าย ก็ช่วยให้การทำงานของผู้ทำการสอบเทียบรวดเร็ว และประหยัดเวลายิ่งขึ้น Crystal Engineering ซึ่งเป็นผู้คิดค้น และผลิตอุปกรณ์วัด บันทึกค่า และสอบเทียบทางด้านแรงดันมากว่า 30 ปี ได้คิดค้น และพัฒนาอุปกรณ์เพื่อลดข้อผิดพลาดต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นจากสภาวะแวดล้อม, การเตรียมการอุปกรณ์, ลดวิธีการปฏิบัติงาน ความผิดพลาดที่เกิดจากตัวเครื่องมือ และผู้ใช้งานเอง
อุปกรณ์สร้างแรงดันโดยใช้ Hydraulic แบบพกพา เพื่องานสอบเทียบอุปกรณ์ เกจวัดแรงดัน, ทรานสมิตเตอร์, เซนเซอร์ และวัดความปลอดภัย (Safety Valves)
Weep Hole
การใช้ GaugeCalHP ร่วมกับ Crystal XP2i Digital Gauge เพื่อสอบเทียบค่า Analog Gauge
GaugeCalHP ถูกออกแบบมาเพื่องานสอบเทียบที่สามารถใช้ได้ทั้งในห้องสอบเทียบ หรือนำไปใช้ ณ สถานที่ทำงานจริง น้ำหนักเบาเพียง 9 กิโลกรัม ที่มาพร้อมจุดต่อกับอุปกรณ์วัด 2 พอร์ต มาพร้อมกับข้อต่อมาตรฐาน สามารถต่อเข้ากับอุปกรณ์ที่ต้องการมาสอบเทียบได้ในทันที ช่วยให้ทำงานได้รวดเร็วขึ้น
Fine Adjust ตัวปรับละเอียด
พร้อมตัวปรับละเอียดเพื่อให้ผู้ใช้งานปรับค่าแรงดันได้แม่นยำยิ่งขึ้น สามารถใช้ได้กับน้ำ ซึ่งลดปัญหาการเกิด Adiabatic Effect ในการวัดลง
Rolling Case กล่องในอุปกรณ์มีล้อเลื่อน เคลื่อนย้ายสะดวก
ในการสอบเทียบอุปกรณ์ หรือการวัดค่าในอุปกรณ์เครื่องมือวัดต่าง ๆ นอกจากความผิดพลาดที่อาจเกิดจากอุปกรณ์ภายนอก หรือเกิดจากขั้นตอนการทำงานแล้ว ค่าความแม่นยำของอุปกรณ์ที่ใช้เป็นมาตรฐานก็เป็นส่วนสำคัญมากส่วนหนึ่ง ที่เป็นตัวกำหนดประสิทธิภาพของการสอบเทียบด้วย
ในปัจจุบันอุปกรณ์เครื่องมือวัด จะมีการกำหนด หรือแจ้งค่าความแม่นยำ (Accuracy) ไว้ใน 2 ลักษณะคือ
1. ความผิดพลาดที่เกิดขึ้น ณ จุดที่ทำการวัด หรืออ่านค่า โดยกำหนดเป็น % of Reading
2. ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงการวัดทั้งหมด โดยกำหนดเป็น % of Full Scale หรือ % of Span
การหาค่าความแม่นยำแบบ % of Reading ทำได้โดยการนำค่า % ที่คูณกับค่าที่เครื่องอ่านได้ ณ ตอนนั้น เช่น เครื่องมีค่าความแม่นยำที่ 0.025% of Reading อ่านค่าที่แรงดัน 100 PSI จะมีค่าความแม่นยำในการอ่านค่า
ค่าความแม่นยำ = 0.025/100 x (100 PSI) = 0.025 PSI หรือความผิดพลาดจากการอ่านค่าจะไม่เกิน +/- 0.025 PSI
หากนำเครื่องมือมาอ่านค่าแรงดันที่ 10 PSI
ค่าความแม่นยำ = 0.025/100 x (10 PSI) = 0.0025 PSI หรือความผิดพลาดจากการอ่านค่าจะไม่เกิน +/- 0.0025 PSI
ดังนั้นการกำหนดค่าความแม่นยำลักษณะนี้ค่าความแม่นยำจะแปรผันตามแรงดันที่วัด หรือสอบเทียบอยู่ในขณะนั้น ในช่วงที่แรงดันต่ำ ค่าความแม่นยำก็จะสูงหรือมีค่าความผิดพลาดต่ำ และเมื่อแรงดันสูงขึ้นค่าความแม่นยำก็จะปรับสูงขึ้นตาม
ตาราง แสดงตัวอย่างค่าความแม่นยำจากเครื่องมือวัดที่มีค่าความแม่นยำ 0.025% of Reading
การหาค่าความแม่นยำแบบ % of Full Scale ทำได้โดยการนำค่า % ที่คูณกับค่าสูงสุดที่เครื่องมือ หรือเกจนั้นสามารถอ่านค่าได้ แล้วใช้ค่านั้นเป็นตัวกำหนดค่าความแม่นยำในทุกช่วงการวัด เช่น
เครื่องมีค่าความแม่นยำที่ 0.025% of Full Scale อ่านค่าที่ แรงดัน 100 PSI จะมีค่าความแม่นยำในการอ่านค่า
ค่าความแม่นยำ = 0.025/100 x (100 PSI) = 0.025 PSI หรือความผิดพลาดจากการอ่านค่าจะไม่เกิน +/- 0.025 PSIหากนำเครื่องมือมาอ่านค่าแรงดันที่ 10 PSI
ค่าความแม่นยำก็จะยังคงเท่ากับค่าความแม่นยำ ณ จุดสูงสุดของค่าการวัดเช่นเดิมคือ 0.025 PSI นั่นเอง
เมื่อนำการกำหนดค่าความแม่นยำทั้งสองลักษณะมาเปรียบเทียบกัน จะสามารถแสดงได้ดังตารางด้านล่าง
จะเห็นว่าการเลือกใช้อุปกรณ์สอบเทียบให้เหมาะสมกับการใช้งาน จะทำให้สามารถได้ค่าการวัดที่แม่นยำมากขึ้น และช่วยลดการเก็บรักษาอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ลง
HPC40 เป็นอุปกรณ์สอบเทียบทางแรงดัน และ mA ที่มีความสามารถชดเชยอุณหภูมิในการวัดแบบสมบูรณ์ ทำให้ได้ค่าความแม่นยำการวัดในช่วงอุณหภูมิ -20 ถึง 50 องศาเซลเซียส คงที่ ไม่ว่าจะเป็นการวัดทางแรงดัน, กระแสไฟฟ้า, แรงดันไฟฟ้า และการวัดอุณหภูมิ
ในกระบวนการวัด และทดสอบอุปกรณ์ในปัจจุบัน ยกตัวอย่างเช่น การทดสอบการทนค่าแรงดัน, การทดสอบหาอัตราการรั่วของระบบ ซึ่งต้องอาศัยเวลาในการสังเกต และจดบันทึกค่าการวัด ทางผู้ปฏิบัติงานอาจจะใช้วิธีการจดบันทึก ซึ่งยุ่งยากในการปฏิบัติงาน และเกิดความผิดพลาดได้ง่าย จึงจำเป็นต้องมีอุปกรณ์สำหรับบันทึกค่าการวัด
การเลือกใช้อุปกรณ์บันทึกค่าการวัดจึงเป็นที่นิยม ซึ่งมีทั้งแบบ Analog และ Digital ให้เลือกใช้ โดยการใช้งานเครื่องบันทึกค่าแบบ Analog หรือ Mechanical Chart Recorder ก็มีข้อจำกัดในการใช้งานคือ
แต่อย่างไรก็ตามการเลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าก็มีข้อจำกัดในการนำไปใช้งานเช่นกัน คือ
ด้วยข้อจำกัดดังกล่าว Crystal Engineering จึงได้พัฒนาอุปกรณ์เพื่อตอบสนองการใช้งานบันทึกค่าการวัด เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และลดเวลาในการทำงานลง
nVision เป็นอุปกรณ์วัด และสอบเทียบมาตรฐานสำหรับเครื่องมือวัดที่มีค่าความแม่นยำสูงสุดถึง 0.025% of Reading เทียบเท่ากับ Deadweight Tester อีกทั้งยังมีความสามารถในการเก็บค่าการวัดแบบแผนภูมิ หรือ Chart Recorder ที่เก็บค่าได้ถึง 1 ล้านข้อมูล ทำให้ nVision เป็นอุปกรณ์ที่รวมความสามารถในการวัด สอบเทียบ และเก็บค่าการวัดต่าง ๆ ไว้ในเครื่องเดียว
ใช้งานทดแทน Mechanical Chart Recorder ด้วยขนาดที่เล็กกว่า น้ำหนักที่เบากว่า แม่นยำกว่า ทนทานต่อการใช้งานสูงกว่า เก็บข้อมูลในรูปแบบ Electronic File สามารถทำซ้ำได้ตามต้องการ
ฟรี Software สามารถใช้งานได้ทันที ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม
Crystal Engineering ยังคงพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างไม่หยุดยั้งเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานได้สะดวก รวดเร็ว และแม่นยำยิ่งขึ้น
สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อได้ที่
บริษัท อนาไลติคอล แอนด์ คอนโทรล เทคโนโลยี 2000 จำกัด
เลขที่ 46/87 ถนนนวลจันทร์ ซอย 31 แขวงนวลจันทร์ เขตบึงกุ่ม กรุงเทพ 10230
โทรศัพท์ 0-2944-4748 โทรสาร 0-2944-5854
E-mail: actc@ksc.th.com
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.
ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด