Cost Management

ต้นทุนของเสีย งานที่แก้ไข เศษซาก ในระบบบัญชีต้นทุนช่วงการผลิต

ผศ.วิวัฒน์ อภิสิทธิ์ภิญโญ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

รศ.เบญจมาศ อภิสิทธิ์ภิญโญ

มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา

 

 

ต้นทุนของเสีย งานที่แก้ไข และเศษซากต่าง ๆ ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในระบบการผลิตแบบงานสั่งทำ แต่ยังมีพบได้ในระบบต้นทุนช่วงการผลิตเช่นกัน คำจำกัดความของคำว่า ของเสีย ประเภทของเสียที่จะเกิดขึ้น ซึ่งใช้ในกรณีของระบบต้นทุนช่วงการผลิตมีลักษณะในทำนองเดียวกันกับระบบต้นทุนงานสั่งทำที่กล่าวถึงในครั้งก่อน

 

การคำนวณของเสีย

 

          หน่วยของเสียที่เกิดขึ้นในระบบต้นทุนช่วงการผลิต คำนวณหาได้ในขั้นตอนแรกของการจัดทำรายงานต้นทุนการผลิต ในส่วนของการคำนวณหน่วยผลิตทางกายภาพ แสดงการคำนวณ ดังนี้

 

          หน่วยของเสียทั้งหมด = (หน่วยงานระหว่างทำต้นงวด + หน่วยเริ่มผลิต) - (หน่วยสินค้าดีที่ผลิตเสร็จและโอนออก + หน่วยงานระหว่างทำปลายงวด) 

 

          หน่วยของเสียเกินปกติ = หน่วยของเสียทั้งหมด – หน่วยของเสียปกติ

 

          ตัวอย่างที่ 1

 

          ข้อมูลการผลิตเดือน มีนาคมของกิจการแห่งหนึ่ง ประกอบด้วย ปริมาณการผลิตต้นงวด 1,000 หน่วย ปริมาณเริ่มผลิตระหว่างเดือน 5,000 หน่วย ปริมาณสินค้าดีที่ผลิตเสร็จและโอนออก 4,500 หน่วย ปริมาณการผลิตปลายงวด 900 หน่วย ของเสียปกติเท่ากับ 10% ของปริมาณสินค้าดีที่ผลิตเสร็จ

 

          จากข้อมูลข้างต้น คำนวณหาหน่วยของเสียทั้งหมดได้ดังนี้

 

          หน่วยของเสียทั้งหมด

 

          = (หน่วยงานระหว่างทำต้นงวด + หน่วยเริ่มผลิต) - (หน่วยสินค้าดีที่ผลิตเสร็จและโอนออก + หน่วยงานระหว่างทำปลายงวด) 

         

          = (1,000 หน่วย + 5,000 หน่วย) - (4,500 หน่วย + 900 หน่วย)

 

          = 6,000 หน่วย – 5,400 หน่วย

 

          = 600 หน่วย 

 

          หน่วยของเสียเกินปกติ

 

          = หน่วยของเสียทั้งหมด – หน่วยของเสียปกติ

 

          = 600 หน่วย – (5,400 หน่วย × 10%)

 

          = 60 หน่วย

 

          เนื่องจากโครงสร้างในการคำนวณรายงานต้นทุนการผลิตวิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก และวิธีเข้าก่อนออกก่อน มีความแตกต่างกัน ดังนั้น ในกรณีที่มีของเสียเกิดขึ้นในกระบวนการ ต้นทุนการผลิตที่เกิดขึ้นเมื่อใช้วิธีการจัดทำรายงานต้นทุนการผลิตทั้งสองวิธีจึงมีความแตกต่างกันไปด้วย ดังเนื้อหาที่จะกล่าวต่อไป

 

โครงสร้างรายงานต้นทุนการผลิตวิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักเมื่อมีของเสียเกิดขึ้น

 

          ลักษณะการจัดทำรายงานต้นทุนการผลิตวิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักเมื่อมีของเสียเกิดขึ้นจะคล้ายคลึงกับการจัดทำรายงานต้นทุนการผลิตวิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักแบบไม่มีของเสียเกิดขึ้น แต่มีรายละเอียดในบางส่วนที่แตกต่างกัน อธิบายได้ดังนี้

 

          1. สรุปปริมาณการผลิต ในส่วนของปริมาณการผลิตเสร็จและโอนออก นอกจากจะมีปริมาณสินค้าดีผลิตเสร็จและโอนออก และงานระหว่างทำปลายงวดแล้ว จะเพิ่มข้อมูลปริมาณของเสียปกติ ของเสียเกินปกติ ซึ่งจะมีส่วนเชื่อมโยงกับการคำนวณหน่วยเทียบเท่าสำเร็จรูป ตามรายละเอียดของปริมาณการผลิตเสร็จและโอนออก โดยจะแยกรายการเป็นส่วนของวัตถุดิบทางตรง แรงงานทางตรง และค่าใช้จ่ายการผลิต

 

 

          2. สรุปต้นทุนการผลิต แสดงรายละเอียดต้นทุนการผลิตแยกแต่ละรายการทั้งในส่วนของงานระหว่างทำต้นทุนและต้นทุนการผลิตระหว่างงวด แล้วจึงสรุปยอดรวม ไม่มีความแตกต่างกันไม่ว่าจะมีของเสียเกิดขึ้นหรือไม่ก็ตาม

 

 

          3. คำนวณต้นทุนต่อหน่วยเทียบเท่าสำเร็จรูป การคำนวณในขั้นนี้จะเหมือนกันทั้งในกรณีไม่มีของเสียเกิดขึ้นหรือไม่มีของเสียเกิดขึ้นก็ตาม คือ นำข้อมูลในข้อที่ 2 หารด้วยหน่วยเทียบเท่าสำเร็จรูปในข้อที่ 1

 

 

          4. โอนต้นทุน โดยนำต้นทุนต่อหน่วยที่ได้ในข้อที่ 3 คูณกับปริมาณผลิตโอนออก เปรียบเทียบรายการโอนต้นทุนในรายงานต้นทุนการผลิตวิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักกรณีไม่มีของเสีย และกรณีมีของเสียเกิดขึ้น ดังนี้

 

 

          ตัวอย่างที่ 2  

 

          กิจการ 123 การผลิต ใช้ระบบต้นทุนช่วงการผลิต โดยจัดทำรายงานต้นทุนการผลิตวิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักเพื่อประกอบการบันทึกข้อมูลต้นทุนการผลิต ข้อมูลการผลิตเดือนสิงหาคมของแผนกขึ้นรูป มีดังนี้

 

          ข้อมูลการผลิตเดือนสิงหาคมของแผนกขึ้นรูป มีดังนี้

 

          1. งานระหว่างทำต้นงวด 100 หน่วย มีต้นทุนการผลิตที่ทำเสร็จในงวดก่อน ประกอบด้วย วัตถุดิบทางตรง 8,000 บาท มีสัดส่วนความสำเร็จของงาน 80% ค่าแรงงานทางตรง 3,250 บาท มีสัดส่วนความสำเร็จของงาน 40% และค่าใช้จ่ายการผลิต 4,800 บาท มีสัดส่วนความสำเร็จของงาน 50%

 

          2. สินค้าที่เริ่มผลิตจำนวน 400 หน่วย เป็นสินค้าดีที่ผลิตเสร็จจำนวน 420 หน่วย อัตราของเสียปกติของการผลิตเท่ากับ 5% (จุดตรวจสอบการผลิตที่ 100% ของการขึ้นรูป) สัดส่วนความสำเร็จของวัตถุดิบทางตรง แรงงานทางตรง และค่าใช้จ่ายการผลิตเท่ากับ 100%

 

          3. งานระหว่างทำปลายงวด 50 หน่วย มีสัดส่วนความสำเร็จของต้นทุนการผลิตที่ทำเสร็จในระหว่างงวด ประกอบด้วย วัตถุดิบทางตรง 60% ค่าแรงงานทางตรง 50% ค่าใช้จ่ายการผลิต 60%

 

          4. ต้นทุนการผลิตใส่เพิ่มระหว่างเดือน วัตถุดิบทางตรง 40,000 บาท ค่าแรงงานทางตรง 30,000 บาท ค่าใช้จ่ายการผลิต 24,000 บาท

 

          จากข้อมูลข้างต้น คำนวณหาหน่วยของเสียทั้งหมดได้ดังนี้

 

          หน่วยของเสียทั้งหมด

 

          = (หน่วยงานระหว่างทำต้นงวด + หน่วยเริ่มผลิต) - (หน่วยสินค้าดีที่ผลิตเสร็จและโอนออก + หน่วยงานระหว่างทำปลายงวด) 

 

          = (100 หน่วย + 400 หน่วย) - (420 หน่วย + 50 หน่วย)

 

          = 500 หน่วย – 470 หน่วย

 

          = 30 หน่วย 

 

          หน่วยของเสียเกินปกติ

 

          = หน่วยของเสียทั้งหมด – หน่วยของเสียปกติ

 

          = 30 หน่วย – (420 หน่วย × 5%)

 

          = 9 หน่วย

 

          รายงานต้นทุนการผลิตวิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักเมื่อมีของเสียเกิดขึ้นในกระบวนการผลิต มีรายละเอียดดังนี้

 

 

 

 

           คำนวณต้นทุนต่อหน่วยที่สมบูรณ์และโอนออก

 

          = ต้นทุนสินค้าดีและต้นทุนหน่วยของเสียปกติ / หน่วยสินค้าดีที่โอนออก

 

          = 101,430 บาท / 420 หน่วย

 

          = 241.50 บาท

 

          ข้อมูลเพิ่มเติม

 

          ค่าใช้จ่ายการผลิตในแผนกขึ้นรูป ได้แก่ ค่าสาธารณูปโภค 4,000 ค่าเช่า 10,000 บาท ค่าเสื่อมราคา 6,000 บาท และวัสดุซ่อม 4,000 บาท

 

          จากข้อมูลข้างต้น นำมาบันทึกบัญชี ได้ดังนี้

 

 

 

โครงสร้างรายงานต้นทุนการผลิตวิธีเข้าก่อนออกก่อนเมื่อมีของเสียเกิดขึ้น

          ลักษณะการจัดทำรายงานต้นทุนการผลิตวิธีเข้าก่อนออกก่อนเมื่อมีของเสียเกิดขึ้นจะคล้ายคลึงกับการจัดทำรายงานต้นทุนการผลิตวิธีเข้าก่อนออกก่อนแบบไม่มีของเสียเกิดขึ้น แต่มีรายละเอียดในบางส่วนที่แตกต่างกัน อธิบายได้ดังนี้

 

          1. สรุปปริมาณการผลิต ในส่วนของปริมาณการผลิตเสร็จและโอนออก ประกอบด้วยงานระหว่างทำต้นงวด สินค้าดีที่เริ่มและผลิตเสร็จ ของเสียปกติ ของเสียเกินปกติ และงานระหว่างทำปลายงวด ซึ่งจะเป็นส่วนที่เชื่อมโยงกับการคำนวณหน่วยเทียบเท่าสำเร็จรูป ที่จะแยกรายการเป็นส่วนของวัตถุดิบทางตรง แรงงานทางตรง และค่าใช้จ่ายการผลิต

 

 

          2. สรุปต้นทุนการผลิต งานระหว่างทำต้นงวดจะออกยอดต้นทุนรวม แต่ต้นทุนการผลิตระหว่างงวด จะแยกรายการเป็นส่วนของวัตถุดิบทางตรง แรงงานทางตรง และค่าใช้จ่ายการผลิต รายงานส่วนไม่มีความแตกต่างกันไม่ว่าจะมีของเสียเกิดขึ้นในกระบวนการหรือไม่

 

 

          3. คำนวณต้นทุนต่อหน่วยเทียบเท่าสำเร็จรูป การคำนวณในขั้นนี้จะเหมือนกันทั้งในกรณีไม่มีของเสียเกิดขึ้นหรือไม่มีของเสียเกิดขึ้นก็ตาม คือ นำข้อมูลในข้อที่ 2 หารด้วยหน่วยเทียบเท่าสำเร็จรูปในข้อที่ 1

 

 

          4. โอนต้นทุน โดยนำต้นทุนต่อหน่วยที่ได้ในข้อที่ 3 คูณกับปริมาณผลิตโอนออก เปรียบเทียบรายการโอนต้นทุนในรายงานต้นทุนการผลิตวิธีเข้าก่อนออกก่อนกรณีไม่มีของเสีย และกรณีมีของเสียเกิดขึ้น ดังนี้

 

 

          ตัวอย่างที่ 3

 

          จากข้อมูลตัวอย่างที่ 2 นำมาจัดทำรายงานต้นทุนการผลิตวิธีเข้าก่อนออกก่อน ได้ดังนี้

 

 

 

 

          คำนวณต้นทุนต่อหน่วยที่สมบูรณ์และโอนออก

 

          = (ต้นทุนรวมของงานระหว่างทำต้นงวด  +  ต้นทุนสินค้าดี  +  ต้นทุนของเสียปกติ)  /  หน่วยสินค้าดีที่โอนออก

 

          = 103,217.17 บาท  /  420 หน่วย

 

          = 245.76 บาท

 

          ข้อมูลเพิ่มเติม

 

          ค่าใช้จ่ายการผลิตในแผนกขึ้นรูป ได้แก่ ค่าสาธารณูปโภค 4,000 ค่าเช่า 10,000 บาท ค่าเสื่อมราคา 6,000 บาท และวัสดุซ่อม 4,080 บาท

 

          จากข้อมูลข้างต้น นำมาบันทึกบัญชี ได้ดังนี้

 

 

เอกสารอ้างอิง
• Charles T. Horngren, Srikant M. Datar & Madhav V.Rajan. Cost Accounting: A Managerial Emphasis. Boston. Pearson. 2014.
• Edward J.Blocher, David E. Stout, Paul E. Juras. & Gary Cokins Cost Management: A Strategic Emphasis. New York. McGraw-Hill Education. 2016.
• Jesse T.Barfield, Cecily A.Raiborn & Michael R.Kinney. Cost Accounting: Traditions and Innovations. Canada. Thomson South-Western. 2010.

 

 

 

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด