ตามหลักการผลิตแบบลีน ได้มุ่งดำเนินกิจกรรมการผลิตที่ไร้ความสูญเปล่า หรือ Manufacturing Without Waste แต่ในสภาพการดำเนินงานจริงของโรงงานส่วนใหญ่พบว่าทรัพยากรกว่า 80% ประกอบด้วย แรงงาน วัตถุดิบ และเครื่องจักร ไม่สามารถสร้างคุณค่าที่สามารถตอบสนองให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจ นั่นหมายถึง ความสูญเปล่าได้เกิดขึ้นในกิจกรรมการผลิต
โกศล ดีศีลธรรม |
. |
ตามหลักการผลิตแบบลีน ได้มุ่งดำเนินกิจกรรมการผลิตที่ไร้ความสูญเปล่า หรือ “Manufacturing Without Waste” แต่ในสภาพการดำเนินงานจริงของโรงงานส่วนใหญ่พบว่าทรัพยากรกว่า 80% ประกอบด้วย แรงงาน วัตถุดิบ และเครื่องจักร ไม่สามารถสร้างคุณค่าที่สามารถตอบสนองให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจ นั่นหมายถึง ความสูญเปล่าได้เกิดขึ้นในกิจกรรมการผลิต |
. |
โดยเฉพาะรูปแบบการผลิตแบบทั่วไป ที่มีการจัดสายการผลิตตามกระบวนการ และจัดวางผังกลุ่มเครื่องจักรตามหน้าที่ใช้งาน นั่นคือเครื่องจักรประเภทเดียวกันหรือลักษณะการใช้งานเหมือนกันได้ถูกจัดเรียงภายในกลุ่มเดียวกัน เช่น เครื่องกลึง เครื่องตัด และอุปกรณ์ทดสอบ เป็นต้น |
. |
การจัดวางผังการผลิตดังกล่าวได้มุ่งการใช้งานในบางหน้าที่จึงไม่สอดคล้องกับสภาพการผลิตแบบลีนที่ต้องมีความยืดหยุ่นและสามารถตอบสนองกับความเปลี่ยนแปลง ดังนั้นการจัดวางผังกลุ่มเครื่องจักรตามหน้าที่ใช้งานจึงก่อให้เกิดความสูญเปล่า นั่นคือ |
. |
รูปที่ 1 แนวคิดการจัดสายการผลิตตามกระบวนการ |
. |
• ปัญหาการจัดเก็บสต็อกงานระหว่างผลิต (Work In Process) |
. |
• การรอคอย (Waiting) เนื่องจากต้องรอคอยงานในกระบวนการก่อนหน้า (Upstream) ที่ต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้น ก่อนจะส่งไปยังกระบวนการถัดไป (Downstream) |
. |
• การผลิตมากเกินความจำเป็น (Over-production) โดยทั่วไปการจัดวางผังแบบ Functional Cells ประกอบด้วยเครื่องจักรขนาดใหญ่ที่มีราคาแพง เพื่อเดินเครื่องเต็มประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มทุนตามหลักการประหยัดจากขนาด (Economy of Scale) จึงทำให้เกิดการผลิตมากเกินความต้องการ |
. |
• การเกิดของเสีย (Defects) เนื่องจากแรงงานได้มุ่งการทำงานเฉพาะส่วน (Process Focused) จึงไม่ได้คำนึงถึงกระบวนการถัดไปหรือผลิตภัณฑ์สุดท้าย (Finished Product) ดังนั้นจึงมักเกิดปัญหาทางคุณภาพขึ้นในรูปของเสียที่ไม่สารถตรวจจับได้ในกระบวนการเริ่มต้นและทราบปัญหาเมื่อได้ผ่านกระบวนการสุดท้ายแล้ว |
. |
รูปที่ 2 ปัญหาจากการจัดเก็บสต็อกที่มากเกินความต้องการ |
. |
สำหรับแนวคิดการผลิตแบบลีนได้มุ่งความเรียบง่ายหรือการผลิตที่มุ่งการไหล โดยไม่เกิดการขัดจังหวะการไหล นั่นคือ การจัดสายการผลิตที่มุ่งสมดุลปัจจัย 3Ms เพื่อส่งมอบคุณค่าและตอบสนองได้ทันตามความต้องการ ประกอบด้วยปัจจัยสนับสนุนดังนี้ |
. |
• การเคลื่อนย้ายหรือการไหลของทรัพยากรระหว่างกระบวนการ |
. |
. |
ส่วนปัจจัยผลักดันสู่ลีน (Lean Driver) ให้บรรลุตามเป้าหมายและสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า ประกอบด้วย |
. |
รูปที่ 3 ปัจจัยตัวผลักดันสู่ลีน |
. |
ด้วยเหตุนี้แนวคิดจัดการจัดสายการผลิตเพื่อมุ่งปรับปรุงผลิตภาพ เช่น ปรับปรุงการไหล ลดการขนถ่ายวัสดุ ลดเวลาการตั้งเครื่อง เป็นต้น โดยจัดกลุ่มเครื่องจักรแบบมุ่งผลิตภัณฑ์ ภายในเซลล์การผลิตเดียวกัน ประกอบด้วย เครื่องจักรที่หลากหลายเพื่อดำเนินการแปรรูปให้เสร็จสิ้นภายในเซลล์ ซึ่งสอดคล้องกับสภาพการผลิตที่มีความหลากหลายประเภทของผลิตภัณฑ์และผลิตด้วยปริมาณไม่มาก |
. |
ทำให้เกิดรูปแบบการผลิตแบบเซลล์ ที่สอดคล้องกับแนวคิดการผลิตแบบลีน นั่นคือ เกิดการประสานงานระหว่างกันอย่างใกล้ชิดและเกิดการไหลของงานอย่างต่อเนื่อง หรือการผลิตแบบไหลทีละชิ้น จึงส่งผลให้เกิดสมดุลการไหลในสายการผลิต ช่วงเวลานำและต้นทุนการผลิตลดลง นอกจากนี้ยังเกิดการพัฒนาทักษะแรงงานที่หลากหลาย (Multi-skilled Worker) และการพัฒนามาตรฐานการทำงานในแต่ละสายผลิตภัณฑ์ |
. |
รูปที่ 4 การจัดวางผังการผลิตแบบเซลล์ |
. |
การผลิตแบบเซลล์ |
การผลิตแบบเซลล์เป็นปัจจัยสนับสนุนการผลิตแบบลีนเพื่อสร้างสมดุลการไหลและเกิดความยืดหยุ่นของการไหลอย่างราบลื่นในสายการผลิตแบบเซลล์เป็นรูปตัวยู (U-Shape) ที่มุ่งตอบสนองความต้องการอันหลากหลายของลูกค้า |
. |
สายการผลิตประกอบด้วยแรงงานและเครื่องจักรตามลำดับกระบวนการภายในเซลล์เดียวกัน ทำให้ลดความสูญเปล่าจากกิจกรรมการขนถ่ายและระยะทางขนย้ายชิ้นงานระหว่างกระบวนการจึงส่งผลต่อผลิตภาพสายการผลิตสูงขึ้น เช่น การลดรอบเวลาการผลิต การใช้สอยพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ ลดระดับจัดเก็บสต็อกระหว่างผลิต การลดปัญหาของเสีย |
. |
รูปที่ 5 แผนภาพทิศทางการไหลของสายการผลิตแบบเซลล์ |
. |
นอกจากนี้การผลิตแบบเซลล์ยังมีบทบาทต่อการสนับสนุนให้เกิดรูปแบบการทำงานเป็นทีมที่มีการร่วมมือกันแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำงานและสอดคล้องกับกิจกรรมไคเซ็น ส่วนปัจจัยเกี่ยวข้องกับสายการผลิตแบบเซลล์ ประกอบด้วย |
. |
• กระบวนการผลิต (Manufacturing Process) ประกอบด้วยเครื่องจักรและสิ่งอำนวยความสะดวกที่ถูกใช้สำหรับกิจกรรมแปรรูป เช่น เครื่องกลึง อุปกรณ์จับยึด เครื่องมือทดสอบ |
. |
• ระบบการผลิต (Manufacturing System) โดยบูรณาการกระบวนการผลิตกับทรัพยากรแรงงานให้เกิดความเชื่อมโยงในการปฏิบัติงาน รวมทั้งระบบขนถ่าย (Material Handling) สำหรับเคลื่อนย้ายชิ้นงานระหว่างหน่วยผลิต |
. |
รูปที่ 6 ลักษณะการไหลของสายการผลิตแบบเซลล์กับสายการผลิตทั่วไป |
. |
เนื่องจากการผลิตแบบเซลล์ประกอบด้วยเครื่องจักรหลากหลายประเภท ดังนั้นการติดตามวัดสมรรถนะสายการผลิตจึงขึ้นกับแต่ละกลุ่มเซลล์ สำหรับมาตรวัดทั่วไปประกอบด้วย ปัจจัยคุณภาพ ความเร็วในการส่งมอบ (Delivery Speed) ประสิทธิภาพแรงงาน (Labor Efficiency) อัตราการใช้เครื่องจักร (Equipment Utilization) เป็นต้น |
. |
. |
ส่วนการประเมินเปรียบเทียบสมรรถนะ (Performance Comparison) ได้มีการรวมกลุ่มเครื่องจักรเป็นหน่วยเดียวกัน (Single Unit) และประเมินวัดผลด้วย OPE (Overall Plant Effectiveness) ผลลัพธ์จากการประเมินวัดผลด้วย OPE นอกจากใช้เป็นตัวชี้วัดสมรรถนะสายการผลิตแล้วยังสามารถเชื่อมโยงกับสาเหตุปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสายการผลิต ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้วิศวกรสามารถกำหนดปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบต่อสมรรถนะโดยรวมของสายการผลิต เพื่อกำหนดแนวทางปรับปรุง |
. |
ส่วนเซลล์ทำงาน เป็นหน่วยการทำงานที่สูงกว่าระดับเครื่องจักรแต่เล็กกว่าฝ่ายงาน และเป็นหัวใจสำคัญของการผลิตแบบลีน โดยทั่วไปภายในเซลล์ทำงานประกอบด้วยแรงงานประมาณ 3-12 คน เครื่องจักรที่จัดเรียง 5-15 เครื่อง และทรัพยากรอื่นที่จำเป็นสำหรับการผลิต ในแต่ละ Workcell ได้มีการแปรรูปชิ้นงานหรือผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน และเมื่อดำเนินการในแต่ละเซลล์เสร็จสิ้นก็จะส่งผ่านไปยังกระบวนการถัดไป |
. |
รูปที่ 7 กระบวนการไหลระหว่างเซลล์ทำงาน |
. |
รูปที่ 8 สภาพการทำงานภายใน Workcell |
. |
กรณีศึกษา สายการผลิตโรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเลคทรอนิคส์แห่งหนึ่ง ได้มีการจัดวางผังแบบ Functional Cells จึงเกิดปัญหาความสูญเปล่าในช่วงปฏิบัติงาน เช่น การขนถ่ายชิ้นงานระหว่างหน่วยผลิตทำให้เกิดความสูญเปล่าจากระยะทางขนย้าย (Long Travel Distances) ดังนั้นแต่ละหน่วยผลิตจึงเกิดงานรอระหว่างแปรรูปจำนวนมาก |
. |
นอกจากนี้ยังมีปัญหาการประสานงานระหว่างฝ่ายงาน ทำให้เกิดความสูญเสียอื่น ๆ ตามมา เช่น ระดับสต็อกสูงขึ้นและการส่งมอบให้กับลูกค้าไม่ทันตามกำหนด เนื่องจากเกิดเวลารอคอยจากการตั้งเครื่องและระยะทางการขนส่ง ดังนั้นทางทีมงานไคเซ็น (Kaizen Team) จึงได้ศึกษาแนวทางปรับปรุงการไหลด้วยการจัดสายการประกอบใหม่ในรูปแบบของเซลล์ทำงาน (Assembly Workcell) |
. |
รูปที่ 9 สภาพการจัดวางผังก่อนและหลังปรับปรุง |
. |
รูปที่ 10 ความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมไคเซ็นกับการปรับปรุงสายการผลิต |
. |
โดยในแต่ละเซลล์ประกอบด้วยแรงงานประมาณ 2-4 คน และเครื่องจักรประเภทต่าง ๆ ที่จำเป็นภายในเซลล์เดียวกัน ทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและความยืดหยุ่นต่อการตอบสนองคำสั่งซื้อ รวมทั้งผลิตภาพที่สูงขึ้นจากระดับสต็อกและช่วงเวลานำการผลิตที่ลดลงอย่างมาก โดยสรุปผลลัพธ์ในตารางต่อไปนี้ |
. |
. |
การออกแบบเซลล์ทำงาน |
โดยทั่วไปการผลิตแบบเซลล์ได้มีรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย ดังนั้นการออกแบบเซลล์ จึงพิจารณาจากขนาดรุ่นการผลิตภายในที่ขึ้นกับปัจจัยต่าง ๆ เช่น เส้นทางการไหล รอบเวลาปฏิบัติการ และเวลาการตั้งเครื่อง ซึ่งมักพบในการผลิตแบบ Job Shop อย่าง โรงงานโลหะแผ่น (Sheet Metal Shop) |
. |
สำหรับคำตอบที่เหมาะสมที่สุดในสถานการณ์ดังกล่าว นั่นคือ “แนวคิดการผลิตแบบไหลทีละชิ้น“ หรือ “One-piece Flow” โดยมีการไหลของงานแต่ละรุ่นด้วยปริมาณไม่มาก (Small-batch Flow) ดังนั้นการผลิตแบบไหลทีละชิ้นจึงเป็นแนวทางสนับสนุนการผลิตแบบเซลล์ที่มุ่งให้เกิดการไหลของงานอย่างต่อเนื่องโดยไม่ติดขัดและลดเวลาในแถวคอย ทำให้เกิดการเพิ่มผลิตภาพ ดังนี้ |
. |
รูปที่ 11 แผนภาพการไหลของงานแบบ Job Shop |
. |
• ลดความผิดพลาดจากการทำงานของแรงงานหรือเครื่องจักร |
. |
รูปที่ 12 สายการผลิตแบบรุ่นกับการไหลทีละชิ้น |
. |
ดังกรณีของโรงงาน SME แห่งหนึ่งที่รับคำสั่งซื้อจากลูกค้าปริมาณ 100 หน่วย หรือ เรียกว่า "External Lot Size" โดยฝ่ายวางแผนของโรงงานได้กำหนดขนาดรุ่นผลิตภายในที่เหมาะสม (Internal Lot Size) ไว้ 10 หน่วย นั่นคือ เซลล์ผลิตแรกจะเริ่มผลิตชิ้นงาน 10 หน่วยแรกจากปริมาณงานทั้งหมด 100 หน่วย จนเสร็จสิ้นและส่งผ่านไปยังกระบวนการถัดไป |
. |
แล้วดำเนินการในอีก 10 หน่วยถัดไป จนกระทั่งได้ผลิตผลครบ 100 หน่วยที่กระบวนการสุดท้าย ทำให้ลดปัญหาการรอคอยที่มักเกิดขึ้นในการผลิตแบบรุ่น (Batch Manufacturing) และเกิดการไหลของงานอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งลดช่วงเวลานำการผลิตลงอย่างมาก |
. |
ตารางเปรียบเทียบระหว่างการผลิตแบบไหลทีละชิ้นกับการผลิตแบบรุ่น |
. |
ปัจจัยสนับสนุนการออกแบบ Workcell |
ความสำเร็จของการออกแบบ Workcell จะต้องประกอบด้วย |
1) เลือกผลิตภัณฑ์และกระบวนการ เพื่อวิเคราะห์กระบวนการไหล และจำแนกประเภทชิ้นส่วนหรือผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันด้วยการจัดทำรหัส ตามแนวทางเทคโนโลยีกลุ่ม เพื่อลดความซับซ้อนสายการผลิตด้วยการจัดผังตามตระกูลผลิตภัณฑ์ เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นต่อการรองรับผลิตภัณฑ์ใหม่เข้าสู่สายการผลิต โดยจัดผังให้เป็นรูปแบบเซลล์ตามประเภทผลิตภัณฑ์ภายในเซลล์การผลิตเดียวกัน เพื่อให้เกิดการประสานงานระหว่างกันอย่างใกล้ชิดและเกิดการไหลอย่างต่อเนื่อง สำหรับในช่วงนี้ มีแนวทางดำเนินการ ดังนี้ |
. |
a) การตรวจสอบด้วยสายตา (Visual Inspection) โดยเฉพาะลักษณะทางกายภาพ (Physical Part) เพื่อระบุลักษณะความคล้ายของชิ้นงาน |
รูปที่ 13 การจัดกลุ่มชิ้นงานตามตระกูลผลิตภัณฑ์ (Product Family) |
. |
b) การจำแนกและจัดทำรหัส ด้วยการตรวจสอบลักษณะการออกแบบชิ้นส่วนและการผลิต โดยรหัสจะถูกกำหนดตามคุณลักษณะหรือการจัดกลุ่มชิ้นงานเช่น รูปทรง ข้อกำหนดกระบวนการ ลักษณะการใช้งาน เทคโนโลยีการผลิต เป็นต้น ช่วงนี้จะใช้เวลามากในการจำแนกและจัดทำรหัสทั้งหมด รวมทั้งจัดทำแบบให้เป็นมาตรฐาน |
. |
c) วิเคราะห์กระบวนการไหล (Production Flow Analysis) เนื่องจาก Part Family ได้มีความคล้ายคลึงในกระบวนการผลิต ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ที่จะระบุชิ้นงานส่วนคล้ายด้วยการศึกษาใบแสดงขั้นตอนการผลิตดังนั้นชิ้นส่วนที่มีขั้นตอนในกระบวนการคล้ายกันก็สามารถจัดเข้ากลุ่มเป็นตระกูลเดียวกัน เพื่อจัดเตรียมเครื่องจักรและอุปกรณ์สนับสนุนให้เหมาะสมกับแต่ละกลุ่มโดยมีขั้นตอนการวิเคราะห์ ดังนี้ |
. |
รูปที่ 14 ตัวอย่างเอกสารลำดับขั้นตอน |
. |
o วิเคราะห์การไหลในโรงงาน (Factory Flow Analysis) โดยศึกษาเครื่องจักรจากกระบวนการต่าง ๆ และจัดเข้าเป็นกลุ่มหลัก เพื่อให้เกิดการไหลของวัสดุ เป็นไปอย่างเรียบง่ายด้วยการแบ่งโรงงานออกเป็นหน่วยย่อยเรียกว่า Processing Units และทำการจัดสรรเครื่องจักรที่ถูกใช้ในแต่ละกระบวนการ รวมทั้งการกำหนดเลขที่ลำดับขั้นตอนกระบวนการ (Process Route Number) หรือ PRN หรือเลขรหัสแสดงลำดับของ Processing Units เช่น PRN168 แสดงถึงลำดับขั้น PU1- PU6 - PU8และวาดแผนภูมิการไหล |
. |
รูปที่ 15 ลำดับขั้นตอนตามตระกูลผลิตภัณฑ์ (Product Family) |
. |
o วิเคราะห์กลุ่ม (Group Analysis) โดยจำแนกชิ้นงานในกลุ่มหลักให้เป็นกลุ่มชิ้นย่อย (Smaller Family) โดยแต่ละกลุ่มได้ถูกกำหนดเข้ากับกลุ่มเครื่องจักรย่อยที่สามารถดำเนินแปรรูปกลุ่มชิ้นงานให้เสร็จสิ้น |
. |
2) จัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวก เป็นส่วนสนับสนุนระบบการผลิตให้เกิดการไหลอย่างราบเรียบและประสานการทำงานอย่างมีประสิทธิผล ประกอบด้วย อุปกรณ์ขนถ่าย (Material Handling) มาตรฐานการทำงาน ระบบการควบคุม และกำหนดการผลิต |
. |
รูปที่ 16 ตัวอย่างเอกสารแสดงลำดับขั้นตอนการทำงาน |
. |
ตัวอย่างการประยุกต์กับธุรกิจบริการ |
ปัจจุบันหลักการลีนนอกจากมีบทบาทกับอุตสาหกรรมการผลิตแล้วยังได้ถูกนำไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจนอกสายงานผลิต อย่างธุรกิจภาคบริการ เช่น โรงพยาบาล โรงแรม ธนาคาร การขนส่ง ประกันภัย สถาบันการศึกษา เป็นต้น โดยถือว่าสารสนเทศ เป็นผลิตผลจากกระบวนการ |
. |
ดังกรณีศึกษาที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นกระบวนการให้บริการของโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ซึ่งมีกระบวนการเริ่มต้นจากฝ่ายรับคนไข้เป็นส่วนงานแรกที่รับเรื่องคนไข้ โดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายดังกล่าวเมื่อได้รับเรื่องจากญาติคนไข้ก็จะทำการสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับประวัติคนไข้ |
. |
หลังจากนั้นคนไข้ก็จะถูกส่งไปยังห้องตรวจแผนกต่าง ๆ เช่น X-ray แผนกตรวจเลือด ห้องทดสอบทางเคมี และมีการเบิกจ่ายยาจากส่วนกลาง กระบวนการเหล่านี้ทำให้คนไข้ต้องเสียเวลารอคอยผลการตรวจและเวลาในการรอการรับยาจากส่วนกลาง เมื่อรัฐบาลได้ออกนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค ทำให้โรงพยาบาลต้องปรับตัวในการแข่งขันการให้บริการ |
. |
ดังนั้นจึงมีการปรับปรุงกระบวนการให้บริการตามหลักการลีนด้วยการกระจายฝ่ายให้บริการไปยังแต่ละชั้นที่แต่เดิมได้เคยจัดเตรียมไว้ที่ส่วนกลาง ทำให้แต่ละชั้นมีความอิสระในการบริหารหน่วยให้บริการ เช่น X-ray ห้องจ่ายยาขนาดย่อม ห้องทดสอบทางเคมี และส่วนสำนักงานรับคนไข้ |
. |
ทำให้คนไข้สามารถรับบริการได้ทันใจ โดยไม่ต้องรอส่งตัวไปยังส่วนต่าง ๆ รอบโรงพยาบาลเหมือนแต่ก่อน ซึ่งการจัดระบบงานดังกล่าวสอดคล้องกับการจัดวางผังที่มุ่งผลิตภัณฑ์ โดยมีระบบการอบรมแบบ "Cross-trained" เพื่อให้บุคลากรให้บริการ อย่าง พยาบาล ได้มีการหมุนเวียนดูแลและตอบสนองการให้บริการกับคนไข้อย่างรวดเร็ว |
. |
ดังนั้นการนำแนวคิดปรับปรุงดังกล่าวจึงสามารถลดเวลาในกระบวนให้บริการลดลงทำให้คนไข้รู้สึกประทับใจกับการรับบริการที่ประทับใจ ส่วนบุคลากรผู้ให้บริการก็สามารถทำงานประสานเป็นทีมได้เป็นอย่างดี ทำให้เกิดการเพิ่มผลิตภาพการทำงานที่ส่งผลให้ต้นทุนการให้บริการของโรงพยาบาลลดลง แต่ยังสามารถรักษาระดับมาตรฐานการให้บริการ |
. |
รูปที 17 การจัดวางผังเพื่อให้บริการของโรงพยาบาลตามหลัก "Product-oriented" |
. |
สรุป |
การผลิตแบบเซลล์ เป็นองค์ประกอบหลักที่สนับสนุนแนวคิดการผลิตแบบลีน โดยมุ่งสร้างสมดุลการไหลอย่างต่อเนื่องด้วยการจัดกลุ่มเครื่องจักรที่หลากหลายภายในเซลล์การผลิตแบบรูปตัวยู ทำให้ลดความสูญเปล่า เช่น การรอคอย ลดระดับการจัดเก็บสินค้าคงคลัง ลดระยะทางการขนถ่าย นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดการพัฒนาเกิดการพัฒนาทักษะแรงงานและความมีส่วนร่วมของบุคลากร |
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.
ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด