เนื้อหาวันที่ : 2007-01-03 11:28:09 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 10642 views

คุณสมบัติที่ดีของการเป็นผู้ประกอบการและนักธุรกิจ

มีหลายแนวทางและวิธีการที่จะทำให้ไปถึงความสำเร็จตามที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้ หลายคนหลายแนวทางและหลายความคิด แต่ก็มีวัตถุประสงค์เดียวกัน คือความสำเร็จ เช่นเดียวกันกับการประกอบธุรกิจ ก็มีนักธุรกิจหลายคน หลายแนวทาง ฯลฯ ที่มุ่งจะสร้างผลกำไรให้เกิดขึ้นมากที่สุด

มีหลายแนวทางและวิธีการที่จะทำให้ไปถึงความสำเร็จตามที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้ หลายคนหลายแนวทางและหลายความคิด แต่ก็มีวัตถุประสงค์เดียวกัน คือความสำเร็จ เช่นเดียวกันกับการประกอบธุรกิจ ก็มีนักธุรกิจหลายคน หลายแนวทาง ฯลฯ ที่มุ่งจะสร้างผลกำไรให้เกิดขึ้นมากที่สุด และท้ายสุดก็ต้องก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวมด้วย ในบทความที่จะนำเสนอนี้ มีตัวอย่างที่ดีของลักษณะคนที่จะประสบความสำเร็จในการประกอบธุรกิจ โดยบุคคลเหล่านี้จะต้องมีคุณสมบัติที่ดี ดังต่อไปนี้ครับ

.
กระหายสู่ความสำเร็จ

คำว่ากระหายสู่ความสำเร็จจะเป็นคุณสมบัติที่ต้องมีอยู่ในตัวของผู้ประกอบการอยู่อย่างเป็นธรรมชาติ ลักษณะของการประกอบการจะมีปัจจัยที่สามารถทำให้เกิดความเสี่ยงทั้งความสำเร็จและความล้มเหลวอยู่ โดยไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงได้อย่างแน่แท้ ความต้องการมุ่งใฝ่สัมฤทธิ์ จะต้องเป็นสิ่งที่สนับสนุนขั้นพื้นฐานของการประกอบธุรกิจ

.

เมื่อผู้ประกอบการไม่มีความต้องการความสำเร็จอยู่ในตัวเองแล้ว คงจะต้องเลิกคิดในการประกอบกิจการเป็นของตนเองเลย เพราะแสดงถึงความล้มเหลวในตอนแรกที่ยังมิได้เริ่มต้น 

.
มีลักษณะชอบนิสัยเสี่ยง

ความเสี่ยงเป็นปัจจัยที่มากับการทำธุรกิจอยู่อย่างไม่สามารถหลีกเหลี่ยงได้ ผู้ที่มีการยอมรับความเป็นจริงในความสำเร็จและความล้มเหลว โดยมิได้ตั้งมั่นว่าทุกอย่างในชีวิตจะต้องสำเร็จเพียงอย่างเดียว เป็นคุณสมบัติที่ดีของการเป็นผู้ประกอบการ อย่างเช่น Durant นักธุรกิจที่มีชื่อเสียงชาวอมริกา แห่งGeneral Motor เข้าใจในข้อความดังกล่าวมากกว่าคนส่วนใหญ่ มีนักธุรกิจเพียงไม่กี่คนหรืออาจไม่มีใครเลยที่ได้สร้างความสำเร็จ และความล้มเหลวมากไปกว่าที่ Durant ได้ทำไว้ ทุกคนเข้าใจตรงกันตามที่ Land นักธุรกิจที่มีชื่อเสียงชาวอมริกา แห่ง John Wanamarker and Company ได้กล่าวไว้ว่า คุณต้องเตรียมที่จะล้มเหลวครั้งแล้วครั้งเล่า ก่อนที่คุณจะประสบผลสำเร็จและส่วนใหญ่เห็นด้วยกับเขาที่กล่าวว่า คนที่ไม่เคยทำผิดพลาดนั้นได้พลาดสิ่งต่าง ๆ มากมายที่เขาควรจะรู้ เช่นเดียวกันกับคนสำคัญอื่น ๆ นักธุรกิจต้องทำทุกอย่างในขนาดที่ใหญ่รวมถึงเป็นกับดักของเขาเองด้วย มีหลาย ๆ ครั้งที่นักธุรกิจได้ตัดสินโอกาสทางธุรกิจที่มีลักษณะเหมือนสิ่งที่ทำให้เขาทำสำเร็จมาแล้ว พวกเขาถูกบดบังด้วยมุมมองบางอย่าง พวกเขาจะทุ่มเทกับการค้นหา ละเลยสิ่งที่คนรอบข้างได้ตักเตือนถึงความเสี่ยงที่จะพบกับความล้มเหลว ความเสี่ยงและความล้มเหลวเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในกระบวนการสร้างสรรค์   

.

ความเขลาของนักธุรกิจนั้นมีให้เห็นมากมายหลายแบบตามบุคลิกภาพของนักธุรกิจ บ้างเป็นผลมาจากการอ่านตลาดพลาด บ้างก็วิเคราะห์แนวโน้มหรือการพัฒนาพลาด มีบ้างเช่นกันที่มัวแต่ไปทำเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ จนละเลยเรื่องสำคัญ แต่สิ่งที่ทุกคนมีเหมือน ๆ กันก็คือทุกคนได้มีการตัดสินใจผิดพลาดซึ่งทำให้บางคนเจ็บน้อยบางคนเจ็บมาก บางคนก็พลาดตั้งแต่เริ่มทำ บางคนก็พลาดเพราะทำในสิ่งที่ไม่ถนัด ความล้มเหลวของการลงทุนของ Vail นักธุรกิจที่มีชื่อเสียงชาวอเมริกา แห่งแห่งบริษัท American Telephone and Telegraph AT&T ได้ยอมรับว่าผมมีจุดบอดที่เมื่ออยากทำอะไรแล้วก็จะมองไม่เห็นสิ่งอื่น ๆ ที่ขัดแย้งกับมัน และจุดบอดนี้ทำให้ผมเสียเงินไปมากมาย

.

ฉะนั้น ความเสี่ยงของการประกอบธุรกิจ ผู้ประกอบการจะต้องยอมรับ และกล้าที่จะเผชิญกับความเสี่ยงที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อมีความคิดสร้างสรรค์และสร้างฝันให้ยิ่งใหญ่

.
มีความเชื่อมั่นและมีความคิดสร้างสรรค์

ความเชื่อมั่นของการประกอบธุรกิจจะเป็นสิ่งที่บอกว่าท่านนั้นต้องการที่จะสำเร็จ โดยมีหลักการ และวิธีปฏิบัติที่เป็นหนทางนำไปสู่ความสำเร็จ เชื่อมั่นในทุกสิ่งที่ได้ปฏิบัติลงไปว่าสามารถจะสำเร็จตามเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ นักศึกษามีความเชื่อว่าต้องสำเร็จการศึกษาภายใน 4 ปี ตามระเบียบของมหาวิทยาลัยที่ได้กำหนดไว้ นักธุรกิจมีความเชื่อมั่นว่าจะสามารถสร้างตลาดในทวีปยุโรปได้ โดยมีพื้นฐานการค้าภายในประเทศ

.

อย่างไรก็ตาม การที่จะสร้างความเชื่อมั่นในการประกอบธุรกิจท่านจะต้องมีพื้นฐานของความรู้ ความตั้งใจและความพร้อมในเรื่องการบริหารและเงินทุนที่เป็นอยู่ปัจจุบัน หรือผู้ที่คิดจะเริ่มต้นประกอบธุรกิจจะต้องมีพื้นฐานความรู้ของธุรกิจที่จะเริ่มต้น มีพันธมิตร มีการศึกษาตลาดอย่างชัดเจน มีเงินทุนที่เพียงพอสำหรับการประกอบธุรกิจ จึงจะสามารถเพิ่มความเชื่อมั่นให้ท่านอย่างเต็มเปี่ยม

.

ตัวอย่างที่เราเห็น ผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ ท่านเชื่อหรือไม่ว่า เขาเหล่านั้นล้มเหลวมาจนไม่นับเท่าไหร่ต่อเท่าไหร่ แต่บุคคลเหล่านั้นก็ยังไม่เปลี่ยนแปลงเป้าหมาย หาวิธีปรับกลยุทธ์การประกอบธุรกิจหลาย ๆ ครั้งด้วยความอดทน ไม่ย่อท้อที่จะเดินไปสู่เป้าหมายของการประกอบธุรกิจที่ได้ตั้งไว้ ความล้มเหลวที่เกิดขึ้นกลับกลายมาเป็นบทเรียนที่ได้สอนให้คนเหล่านั้น ดำเนินธุรกิจให้มีความรอบคอบยิ่งขึ้น ยิ่งเวลาผ่านไปเท่าใด ความรู้ความเข้าใจที่เฉลียวฉลาดก็ยิ่งจะเพิ่มพูนมากขึ้นเท่านั้น จึงถือว่าความเชื่อมั่นสามารถเกิดจากประสบการณ์ที่ได้ปฏิบัติไปแล้ว

.

สำหรับความคิดสร้างสรรค์นั้น มีหลายสิ่งที่เป็นแนวทางในการดำเนินการ โดยการกำหนดว่าอะไรเป็นสิ่งที่เด่นชัดของการสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นสิ่งใหม่สำหรับบรรดาผู้ประกอบการ ยังเป็นสิ่งที่ยั่วยุเราอีกด้วย เป็นที่น่าแปลกใจในงานเขียนในยุคแห่งการเรียนรู้ที่มีการทำลายโดยการตั้งคำถามที่ไร้สาระ ที่ถูกตัดออกโดยกรรไกรและเลื่อยที่มีความอุดมสมบูรณ์แห่งการสร้างสรรค์ในทุก ๆ แห่ง การสร้างสรรค์เป็นเรื่องที่ยากที่จะอธิบายได้ คลุมเครือและยากที่จะเป็นปริศนาแห่งสถิติ ข้อมูล ฯลฯ ยิ่งไปกว่านั้นยังเป็นเรื่องราวของช่องทางที่ทำให้เกิดความเชี่ยวชาญของงานสร้างสรรค์ได้

.

ในประวัติศาสตร์ การสร้างสรรค์มีส่วนสัมพันธ์กับศิลปะที่ขัดแย้งกันกับวิทยาศาสตร์ เช่นเดียวกับสิ่งที่เกิดขึ้นเองและเรื่องราวนั้น ๆ ซึ่งนำไปสู่การเข้าใจที่ผิดพลาด แรงผลักดันแห่งการสร้างสรรค์นี้ได้ถูกผลักดันให้เป็นการแสดงออกทุก ๆ ความพยายามของชีวิตมนุษย์ ตัวอย่างเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ของนักธุรกิจของอเมริกาอย่าง Arthur Koestler กล่าวถึงการสร้างสรรค์ว่าการกระทำในการสร้างสรรค์ในตัวมันเองเป็นพื้นฐานที่จำเป็นในรูปแบบของตัวมันและAlbert Rorthenberg ได้ทำการพิสูจน์และเห็นด้วยว่าการสร้างสรรค์มีความสำเร็จที่แตกต่างกันตามความพยายามของมนุษย์ที่หลากหลายในศิลปะ ศาสนา ปัญญา วิศวกรรมและกิจกรรมทางธุรกิจ ในหลาย ๆ สถานที่ เช่น การทำอาหาร การเล่นกีฬา และการติดต่อระหว่างบุคคลที่แท้จริงการสร้างสรรค์มิได้จำกัดเฉพาะจิตกรเท่านั้น นักวิทยาศาสตร์ ยังได้ทำการเชื่อมแนวคิด และทำการเสาะหา เพื่อปรับเข้ากับความเข้าใจที่ลึกซึ้งในการกระทำ ดังเช่น  นักประดิษฐ์ นักปรัชญา นักคณิตศาสตร์ นักธุรกิจและนักกีฬา ความสมดุลระหว่าง ตรรกศาสตร์และเหตุผล ศิลปะ ได้แก่ สัญชาติญาณและอารมณ์

.

Grudin นักธุรกิจชาวอเมริกา เห็นว่า การศึกษา มักจะคิดใหม่จากการกระทำที่ฉลาด แต่การสร้างสรรค์จำกัด ความหลักแหลมและเป็นกฎเกณฑ์อย่างมาก และเป็นสิ่งที่เข้าใจยาก เมื่ออธิบายจากจิตวิทยา สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แนวทาง ได้แก่

.

1.เน้นย้ำถึงเหตุและผล

2.ลัทธิแห่งสังคมนิยม

.

โดยการคิดแบบโซ่ห่วงของความคิด นักจิตแพทย์อธิบายว่า ความคิดแบบสร้างสรรค์มีความสัมพันธ์ เช่นเดียวกับ ลักษณะที่หลากหลายของลักษณะบุคลิกภาพที่มีความซับซ้อนในโลกแห่งการคิดแบบสร้างสรรค์ นักธุรกิจมีบางสิ่งที่แตกต่างจากจิตกร ขณะที่ผลิตภัณฑ์ของพวกเขา อาจจะไม่เป็นเรื่องที่เป็นอมตะเหมือนอย่างเช่น งานศิลปะ ปกติมักจะมีความยาวนานและผลที่ชัดเจนในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะอยู่เฉย ๆ หรือให้มันดำเนินไปก็ตาม บางสิ่งไม่เป็นการเรียน หรือการชื่นชมหรือความยึดมั่นในใจ แต่เคยเป็นสิ่งที่สำเร็จมาก่อน ถ้าจิตกร เปลี่ยนความคิดประชาชน นักธุรกิจ ที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปจากเดิมในชีวิตประจำวัน บ่อยครั้งในวิถีทางที่ลึกซึ้ง งานบางอย่างของจิตกรสามารถที่จะทำการยึดถือหรือละทิ้งได้ แต่ปรากฏการณ์อย่างเช่น โทรทัศน์  ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ หรือรถยนต์ หรือการร่วมมือกันที่ไม่สามารถทำการละทิ้งได้ จิตกรมักจะทำงานคนเดียวเพียงลำพัง หรือไม่ก็ร่วมมือกับบุคคลอื่นเล็กน้อย ในขณะที่นักธุรกิจทำงานร่วมกับผู้อื่นจำนวนมาก และจัดการกับความยากลำบากที่ยิ่งใหญ่ บางทีอาจจะเป็นสิ่งที่สำคัญทั้งหมดที่นักธุรกิจผลิตผลงงาน อาจมีความล้มเหลวเกิดขึ้นบ้างแต่ก็ไม่เคยท้อ

.
มีความสามารถในการตัดสินใจและมีวิสัยทัศน์ที่ดี

วิสัยทัศน์และความสามารถในการตัดสินใจ เป็นสิ่งที่จำเป็นไม่น้อยไปกว่าปัจจัยอื่น ที่จะต้องมีการแสดงบุคลิกที่มีความโดดเด่นกว่าคนธรรมดา เพราะการตัดสินใจในการทำเรื่องใด ๆ ในแต่ละครั้งล้วนแต่หมายถึง ความสำเร็จ ความล้มเหลวของการประกอบธุรกิจแทบทั้งสิ้น ฉะนั้น วิสัยทัศน์และการตัดสินใจ ผู้ประกอบการจะต้องมีการฝึกหัดในการตัดสินใจ จากความรู้และประสบการณ์ที่ผ่านมา จนเกิดสะสมเป็นความสามารถพิเศษขึ้นมาได้

.
มองการเปลี่ยนแปลงคือโอกาส

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงด้านกฎหมาย การเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจที่มีทั้งถดถอยและมีความรุ่งเรืองต่างก็เป็นสิ่งที่เป็นนำมาซึ่งความเดือดร้อนของประชาชนคนธรรมดา ที่ต้องพยายามที่จะปรับตัวให้สามารถเข้ากับสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลง บางครั้งถึงกับมีส่วนให้ชีวิตเกิดอุปสรรคเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมที่เป็นอยู่ 

.

ความพิเศษทางด้านความคิดที่สร้างสรรค์ของนักธุรกิจคงไม่ได้คำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นเหมือนบุคคลธรรมดาทั่วไป แต่คนเหล่านี้กลับคิดว่า การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ผู้ประกอบการจะมีโอกาสที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงที่มีการพัฒนา โอกาสที่จะสร้างความสำเร็จเกิดขึ้นได้มาก ตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การขายสินค้าผ่านทางอินเตอร์เน็ต ทำให้ผู้ประกอบการต้องหันไปปฏิบัติตามกระแสของโลกาภิวัฒน์ (Globalizations) ที่จะนำไปสู่ยุคของเวทีแห่งสารสนเทศ เกิดการขายสินค้า แนะนำบริษัทผ่านทางอินเตอร์เน็ตเข้าถึงกลุ่มลูกค้าต่างประเทศที่ต้องการซื้อสินค้า หรือแม้แต่การค้นหาลูกค้าต่างประเทศ หรือข้อมูลที่จำเป็น ซึ่งสามารถเรียกได้ว่า การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นถือเป็นโอกาสทองของกลุ่มนักธุรกิจเลยทีเดียว

.
มีความอดทนต่อความไม่แน่นอน

ความไม่แน่นอนสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเวลาโดยเราไม่สามารถที่จะควบคุมมันได้เมื่อมีเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นแล้ว ถึงแม้ว่าจะมีการวางแผนไว้อย่างรัดกุมก่อนหน้าที่จะเกิดแล้ว ตัวอย่างเช่น จากผลของสภาวะเศรษฐกิจที่ผ่านมา ผู้ประกอบการได้รับผลกระทบอย่างทั่วกัน ในเรื่องของ การผลิต กำไร การจ้างงาน และการส่งออก ซึ่งได้รับผลกระทบทำให้เกิดความล้มเหลวในการประกอบธุรกิจหลาย ๆ กิจการด้วยกัน

.

เมื่อพิจารณาถึง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการประกอบธุรกิจ ณ ปัจจุบันของภาครัฐที่ผ่านมานั้น ประเทศไทยได้ดำเนินการด้านอุตสาหกรรม ซึ่งสามารถที่จะสรุปปัญหาเชิงโครงสร้างของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยได้ดังนี้

.
1.ปัญหาการขาดเทคโนโลยีที่ทันสมัย

เนื่องด้วยกระบวนการผลิตของภาคอุตสาหกรรมนั้นยังไม่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตเท่าที่ควร ยังมีการใช้เครื่องจักรเก่าในการผลิตอยู่ การลงทุนปรับปรุงเครื่องจักรที่ทันสมัยนั้นจะต้องใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูงประกอบกับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยยังอ่อนแอด้านสภาพคล่องทางการเงิน ซึ่งมีผลต่อคุณภาพของสินค้าไม่ได้มาตรฐานหรือผลิตได้ช้า ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร

.

.

2.ปัญหาการขาดความรู้ในการบริหารการจัดการสมัยใหม่

ลักษณะของผู้ประกอบการไทยส่วนใหญ่จะมีลักษณะการสืบทอดธุรกิจมาจากเครือญาติกันทำให้ ทักษะการบริหารนั้นจะเรียนรู้จากประสบการณ์หรือการเห็นเป็นส่วนใหญ่ ขาดทักษะที่ถูกต้องในเรื่องการตลาด การพัฒนาสินค้าเพื่อให้เกิดความหลากหลาย การบริหารการเงินและบัญชี ซึ่งจะคำนึงถึงต้นทุนเพียงระยะสั้น มิได้คำนึงถึงต้นทุนระยะยาวในธุรกิจ

.
3. ปัญหาการการพัฒนาคุณภาพให้ได้มาตรฐานสากล

เนื่องด้วยระดับเทคโนโลยีการผลิตของไทยนั้นยังไม่ทันสมัยเท่าที่ควร ทำให้คุณภาพของสินค้าไทยยังอยู่ในระดับ กลาง-ล่าง สินค้าชิ้นส่วนนั้นยังไม่ได้มาตรฐานระดับสากล ส่วนสินค้าระดับล่างถูกแข่งขันโดย ลาว เวียดนาม อินโดนีเซีย และอินเดียที่มีระดับการจ้างแรงงานถูกกว่า

.

4. ปัญหาทรัพยากรบุคคล

บุคลากรในภาคอุตสาหกรรม ยังขาดผู้มีความรู้ด้านเทคนิคเป็นอย่างมากเนื่องด้วยลักษณะแรงงานของไทยมีการศึกษาชั้นประถมศึกษากันมาก ถึงแม้ว่าแนวโน้มด้านการศึกษาระดับมัธยมจะเพิ่มมากขึ้น ตามที่รัฐบาลให้การส่งเสริมด้านโอกาสทางการศึกษา และบุคลากรระดับผู้จัดการยังมีน้อยจึงไม่เพียงพอกับระดับงานที่ต้องดูแลและจัดการ

.

.

ในเรื่องการขาดแคลนแรงานของไทยเป็นปัญหาที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข และเป็นปัญหาที่สำคัญที่ต้องเร่งดำเนินการแก้ไข จากพื้นฐานของการศึกษาไทย แรงงานของไทยยังมีการศึกษาระดับประถมศึกษา ถึงร้อยละ 90 โดยส่วนใหญ่จะจบการศึกษาระดับประถม 4 เป็นแรงงานที่ใช้แรงงานในการทำงาน ส่วนการศึกษาในระดับมัธยมก็ยังน้อย ซึ่งยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ

.

แรงงานที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในปัจจุบัน ในสายสังคมศาสตร์ เมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนกับสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เท่ากับ 79: 21 ปี 2540 แสดงเห็นว่าการสนับสนุนการศึกษาด้าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทยในปัจจุบันยังขาดการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับประเทศที่มีการพัฒนาแล้วในเอเชีย ได้แก่ ญี่ปุ่น

.

การพัฒนาบุคลากรในระดับอาชีวะศึกษานั้น ที่ผ่านมายังขาดเป้าหมายที่ชัดเจนว่า จะผลิตเป็นจำนวนเท่าใด สาขาวิชาใดบ้าง เนื่องจากการขาดการประสานงาน ในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในประเทศเข้ากับเป้าหมายการผลิตกำลังคนอย่างชัดเจนและต่อเนื่องด้วย และการศึกษาในระดับวิชาชีพ ยังอยู่ในโรงเรียนเป็นส่วนใหญ่ ไม่สามารถตามการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีได้

.

การศึกษาในระดับอุดมศึกษา ยังขาดการศึกษาเพื่อการเชื่อมโยงกับภาคธุรกิจ และสถานประกอบการอันที่จะสนับสนุนด้านการวิจัยและพัฒนา ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในเชิงพาณิชย์ได้

.
5. ปัญหาเรื่องเงินทุน

ที่ผ่านมา ภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยยังประสบกับปัญหา NPL สูง ทำให้สถาบันการเงิน ณ ปัจจุบันไม่กล้ารับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น ซึ่งโดยธรรมชาติก็มีความเสี่ยงอยู่แล้ว ถึงแม้ว่ารัฐบาลจะมีมาตรการช่วยเหลือภาคอุตสาหกรรมในการประนอมหนี้ก็ตาม ก็ยังไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้

.

อุตสาหกรรมร้อยละ 45 ได้ดำเนินการขอเงินกู้จากระบบธนาคารพาณิชย์ ในอีกร้อยละ 38.3 ใช้ทุนของจ้าของกิจการเอง และร้อยละ 9.4 จะมีการใช้เงินทุนนอกระบบ โดยภาพรวมร้อยละ 44.8 ประสบปัญหาด้านการเงินในเรื่อง เงินทุนหมุนเวียนไม่เพียงพอในการดำเนินธุรกิจ

.

โดยพื้นฐานของอุตสาหกรรม จะเป็นอุตสาหกรรมในครอบครัว หรือเป็นกลุ่มบุคคลที่มีไม่มากนัก สามารถมีการระดมเงินทุนในระบบและนอกระบบได้ แต่ก็มีขอบเขตที่จำกัดเนื่องจากขาดความเชื่อถือจากสถาบันการเงิน ทำให้โดยมากใช้การเงินนอกระบบ และการบริหารการเงินภายในองค์กรยังขาดระบบการจัดการทางด้านบัญชีและการเงินที่ดี และผู้ประกอบการยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องการนำเสนอแผนธุรกิจ เพื่อการเสนอการขอกู้ต่อสถาบันการเงิน

.

.

จากตารางจะเห็นว่า ระยะเวลาการปล่อยสินเชื่อของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมน้อยกว่า 1 ปี มีสัดส่วนการได้รับการพิจารณาถึงร้อยละ 48.3 โดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดย่อมซึ่งได้รับการพิจารณาถึง 53.6 และระยะเวลาการปล่อยสินเชื่อแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจะลดจำนวนที่ได้รับการอนุมัติลง เนื่องด้วยความอ่อนแอทางด้านการเงินและการจัดการ ทำให้เกิดความไม่เชื่อมั่นในตัวของผู้ประกอบการ ซึ่งสามารถเกิดความผันผวนได้ตลอดเวลา

.

ฉะนั้น จากปัญหาที่เป็นจริงของภาคธุรกิจไทย ท่านคงไม่สามารถที่จะปฏิเสธกับปัญหาที่เป็นพื้นฐานได้ พร้อมที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งบวกและลบอย่างแน่นอน ผู้ที่มีความอดทนเท่านั้นจะสามารถที่จะอยู่ต่อไปบนเส้นทางของการประกอบธุรกิจได้

.
เริ่มต้นทำและต้องทำให้สำเร็จถึงที่สุด

มีคำกล่าวที่ว่า ก้าวแรกของความสำเร็จ คือการเริ่มต้น (First Step to Winning is the Beginning) นั้น คือ ความสามารถพิเศษของผู้ประกอบการคือการแสวงหาวิธีการที่ดี ในการที่จะเริ่มต้นทำธุรกิจ ไม่มีความสำเร็จในเรื่องใด ๆ จะเกิดขึ้นก่อนการเริ่มต้น อย่างเช่น เมื่อท่านคิดว่าจะเริ่มต้นคิดที่จะขายอาหารสำเร็จรูปตามสถานที่ที่เป็นแหล่งคนผ่านไปมา ท่านไปถามสถานที่ที่จะเช่าพื้นที่ แต่มีคนมากล่าวทักว่า ทำเลแถวนี้ขายไม่ค่อยดีเท่าไหร่ ต้องขายสินค้าอื่นน่าจะดีกว่า สิ่งแรกที่จะเข้าไปหยุดยั้งวัตถุประสงค์ของท่าน ในการเปิดร้านขายอาหาร คือความพยายามที่จะมองธุรกิจในตัวอื่นที่ได้รับคำแนะนำมา

.

ฉะนั้นคุณสมบัติในการรู้จักเริ่มต้น คงเป็นสิ่งที่จะทำให้ท่านไปถึงตามเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ได้ ทั้งนี้ เมื่อได้เริ่มต้นทำไปแล้ว ในแง่ของการประกอบธุรกิจคงจะต้องให้ความสำคัญทุก ๆ ประเด็นของการประกอบธุรกิจ เพื่อที่จะสร้างธุรกิจนั้นเกิดความสำเร็จอย่างที่สุดไม่มีข้อบกพร่องใด ๆ เกิดขึ้น

.
ตระหนักในคุณค่าของเวลา

หลายครั้งในชีวิตของคนเราแทบจะไม่ได้มีการใช้เวลาให้เกิดประโยชน์มากที่สุด เพราะเวลาเป็นสิ่งที่โลกเราให้มาใช้ โดยไม่ต้องมีการ ซื้อหาใด ๆ ทั้งสิ้น  แต่สำหรับในความคิดของนักธุรกิจแล้ว เวลาเปรียบเสมือนเงินทุนที่สามารถนำไปใช้ก่อให้เกิดประโยชน์ได้ทุกเสี้ยววินาที การติดต่อ การประสานงาน การผลิตสินค้า การเข้าพบติดต่อลูกค้าของบริษัท สามารถนำเวลาที่ได้มาเหล่านี้ไปลงทุนและจัดสรรเป็นส่วน ๆ ได้ เราจะเห็นว่านักธุรกิจที่จะมีลักษณะความอดทน เช่น การนอนดึก ตื่นเช้ากว่าคนอื่น บางวันแทบจะไม่มีโอกาสได้นอน ที่ต้องใช้เวลาในการเร่งผลิตสินค้าให้ทันตามที่ลูกค้ามีคำสั่งซื้อมา

.

คุณสมบัติที่ดีนี้สำคัญไม่น้อยกว่าสิ่งอื่นที่จะต้องมีการบริหารเวลาให้คุ้ม ทุกคนมีเวลา 24 ชั่วโมงต่อหนึ่งวัน เหมือนกันทั้งหมดทุกคน ฉะนั้น ผู้ประกอบการที่ดีจะต้องตระหนักเห็นถึงความสำคัญและคุณค่าของเวลา เหมือนกับเงินทุนในการประกอบธุรกิจเลยทีเดียว    

.

คุณสมบัติพิเศษของการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจที่ได้นำเสนอข้างต้น ถือว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญในการเป็นนักธุรกิจที่สำเร็จ เมื่อท่านทราบอย่างนี้แล้ว ต้องกลับไปคิดว่า คุณสมบัติที่กล่าวมานั้น ท่านมีครบหรือเปล่า ข้อใดข้างต้นยังขาดไปบ้าง เมื่อทราบแล้วต้องกลับไปพร้อมที่จะปรับปรุงให้เกิดขึ้น เพื่อท่านจะได้เป็นนักธุรกิจที่ดี บนเส้นทางการประกอบธุรกิจส่วนตัว

.
ก่อนจบขอฝากให้ท่านผู้อ่านได้ทราบถึงว่า อันที่จริงแล้วทำไมเราถึงอยากประกอบธุรกิจกันนักกันหนา

- เพราะว่าเราต้องการประสบความสำเร็จ

- เพราะว่าเราต้องการทำงานที่เป็นอิสระไม่ต้องการเป็นลูกน้องใคร

- เพราะว่าเราต้องการใช้ทักษะส่วนตัว หรือสามารถใช้ความสามารถพิสูจน์ความสามารถของเราได้อย่างเต็มที่

- เพราะว่าเราต้องการที่จะควบคุมชีวิตของตนเองได้

- เพราะว่าเราอยากสร้างบางสิ่งที่ดีให้กับครอบครัว พ่อ แม่ ภรรยา สามีและบุตร

- เพราะว่าเราอยากทำในสิ่งที่ท้าทาย

- เพราะว่าอยากใช้ชีวิตของตนเองที่สามารถเลือกได้

- เพราะว่าเราอยากได้รับการยอมรับจากสังคม เช่น การนับหน้าถือตา การได้รับรางวัลเกียรติยศ การได้รับความไว้วางใจจากสังคมชั้นสูง

.
แล้วท่านหละ มีเหตุผลอันใดที่ต้องมาประกอบธุรกิจของตนเองครับ
.
เอกสารอ้างอิง

1.ความสำเร็จของผู้ประกอบการใหม่ (New Entrepreneurs Creation), กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม, 2546 2.การเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurs), ดร.โชติศักดิ์ ชวนิชย์, 2537

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด