ปัจจุบันแนวคิดลีนเป็นปัจจัยที่สนับสนุนการสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับธุรกิจ โดยเฉพาะการมุ่งลดความสูญเปล่า ดังนั้นแนวคิดลีนจึงมุ่งขจัดความสูญเปล่าในทุกกิจกรรมที่เชื่อมโยงกับห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ซึ่งส่งผลให้เกิดการลดความสูญเปล่าจากปัจจัยทรัพยากร แต่การปรับเปลี่ยนเพื่อบรรลุเป้าหมายคงไม่สามารถเกิดขึ้นได้ภายในเพียงชั่วข้ามคืน ดังนั้นจึงต้องดำเนินการพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยมีปัจจัยและเครื่องมือสนับสนุนสู่ความเป็นเลิศ
โกศล ดีศีลธรรม |
. |
ปัจจุบันแนวคิดลีนเป็นปัจจัยที่สนับสนุนการสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับธุรกิจ โดยเฉพาะการมุ่งลดความสูญเปล่า ดังนั้นแนวคิดลีนจึงมุ่งขจัดความสูญเปล่าในทุกกิจกรรมที่เชื่อมโยงกับห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ซึ่งส่งผลให้เกิดการลดความสูญเปล่าจากปัจจัยทรัพยากร ดังเช่น |
. |
ลดภาระและความสูญเปล่าทรัพยากรแรงงานมนุษย์ (Human Effort) |
ลดพื้นที่การจัดเก็บและสต็อกสินค้าคงคลัง |
. |
ปัจจัยสนับสนุนสู่ความเป็นเลิศ |
. |
แต่การปรับเปลี่ยนเพื่อบรรลุเป้าหมายคงไม่สามารถเกิดขึ้นได้ภายในเพียงชั่วข้ามคืน ดังนั้นจึงต้องดำเนินการพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยมีปัจจัยและเครื่องมือสนับสนุนสู่ความเป็นเลิศ ประกอบด้วย |
. |
1. กระบวนการไหลในสายการผลิต (Manufacturing Flow) โดยมุ่งปรับเปลี่ยนปัจจัยทางกายภาพเพื่อให้เกิดการไหลของงานอย่างต่อเนื่อง และกำหนดมาตรฐานการออกแบบซึ่งเป็นองค์ประกอบหนึ่งของการปรับสู่สายการผลิตแบบเซลล์ |
. |
2. การจัดองค์กร (Organization) โดยกำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบให้กับบุคลากรเพื่อดำเนินการฝึกอบรม และถ่ายทอดข่าวสารทั่วทั้งองค์กร |
. |
3. การควบคุมกระบวนการ (Process Control) โดยเน้นการตรวจติดตาม และควบคุมกระบวนการให้เป็นไปตามเป้าหมาย |
. |
5. ลอจิสติกส์ (Logistics) โดยกำหนดนิยามหรือกฎเกณฑ์การปฏิบัติงาน และกลไก (Mechanisms) เพื่อใช้วางแผนและควบคุมการไหลของทรัพยากรอย่างต่อเนื่อง |
. |
ความสัมพันธ์แนวคิดลีนกับไคเซ็น |
. |
กระบวนการไหลในสายการผลิต |
ปัจจัยสนับสนุนกระบวนการไหลในสายการผลิต ประกอบด้วย |
o การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างประเภทกับปริมาณผลิตผล (P-Q Analysis) เพื่อประเมินส่วนประสมผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะการศึกษาข้อมูลอุปสงค์และแสดงข้อมูลด้วยแผนภูมิวิเคราะห์ P-Q (P-Q Analysis Chart) โดยมีขั้นตอนดังนี้ |
. |
1. นำข้อมูลพยากรณ์จากแผนธุรกิจ (Business Plan Forecast) โดยครอบคลุมช่วงเวลาระหว่าง 6-12 เดือน และข้อมูลการผลิตที่เกิดจริงและปริมาณการจัดซื้อจากผู้ส่งมอบ |
. |
2. นำข้อมูลขั้นตอนแรกเพื่อใช้คำนวณหาปริมาณการผลิตรวมแต่ละประเภทชิ้นงาน |
. |
ตัวอย่างแผนภูมิ P-Q |
. |
ข้อมูลที่แสดงบนแผนภูมิจำแนกได้เป็นกลุ่มหลัก คือ A, B และ C ตามหลักการพาเรโต้ นั่นคือ 20% ของประเภทกลุ่มผลิตภัณฑ์จะมีปริมาณ 80% ของปริมาณการผลิตรวมถูกจัดไว้ในกลุ่ม A โดยจัดสายการผลิตสำหรับผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้ เนื่องจากมีคำสั่งซื้อจากลูกค้าบ่อยครั้งและต้องใช้ประโยชน์จากเครื่องจักรมาก สำหรับกลุ่มที่มีความหลากหลายในผลิตภัณฑ์ซึ่งมีปริมาณการผลิตแต่ละรุ่นไม่มากได้ถูกจัดไว้ในกลุ่ม B โดยจัดสายการผลิตแบบเซลล์ที่มีความยืดหยุ่น (Flexible Cellular) |
. |
ส่วนกลุ่มที่มีปริมาณการผลิตน้อยหรือนานครั้งถึงจะมีคำสั่งผลิตได้ถูกจัดไว้กลุ่ม C เป็นรายการประเภททั่วไป (Miscellaneous Item) รายการเหล่านี้มักใช้ระบบการวางแผนทรัพยากรการผลิต (MRP II) โดยดำเนินการผลิตเองเมื่อสายการผลิตมีกำลังการผลิตเพียงพอหรืออาจจ้างผู้ผลิตภายนอกให้ดำเนินการผลิตแทน |
. |
o แผนภูมิกระบวนการ (Process Mapping) เมื่อดำเนินการวิเคราะห์อุปสงค์ในขั้นแรกเรียบร้อยแล้ว ขั้นต่อไปจะวิเคราะห์ด้วยแผนภูมิกระบวนการเพื่อใช้ออกแบบเซลล์การผลิต และปรับปรุงกระบวนการด้วยการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอนการทำงานจากการสอบถามผู้ปฏิบัติงานหรือสังเกตจากพื้นที่ทำงาน เช่น ระยะทาง เวลามาตรฐานแต่ละขั้นตอนทำงาน เป็นต้น โดยนำข้อมูลที่ดำเนินการจัดเก็บมาจัดทำเอกสารรายละเอียดในแผนภูมิการไหล |
. |
ตัวอย่างแผนภูมิการไหล |
. |
• วิเคราะห์การไหลสายการผลิต (Production Flow Analysis) เป็นการประเมินสภาพปัญหาปัจจุบันเพื่อกำหนดประเด็นปัญหาด้วยรูปแบบการไหล และความผันแปรในกระบวนการ รวมทั้งวิเคราะห์กลุ่มเครื่องจักรภายในกระบวนการเกี่ยวข้องและลำดับขั้นตอนการผลิต เพื่อใช้ออกแบบผังกระบวนการผลิตให้เกิดการไหลอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วยแนวทางดังนี้ |
. |
1. ระบุสายการผลิตเพื่อทำการศึกษากระบวนการและวิเคราะห์การไหล |
. |
3. ระบุปัญหาที่เกิดในกระบวนการผลิต เช่น ปัญหาความไม่สมดุลในกำลังการผลิต สต็อกงานระหว่างผลิต (WIP) เป็นต้น ด้วยการตรวจสอบแผนภูมิการไหลกระบวนการเพื่อทบทวนว่ากระบวนการไหลตั้งแต่การรับวัตถุดิบตลอดจนถึงกระบวนการสุดท้ายได้ผ่านกระบวนการใดบ้าง เพื่อกำหนดจุดควบคุมการไหล (Control Point) ว่าควรควบคุมกระบวนการใดเป็นพิเศษ โดยทั่วไปจะกำหนดจุดควบคุมที่กระบวนการนำวัตถุดิบเข้าและกระบวนการสุดท้ายหรืออาจใช้จุดที่เกิดปัญหาคอขวด |
. |
ผลวิเคราะห์การไหลด้วยสเปรดชีต |
. |
4. นำข้อมูลจากผลการศึกษาและวิเคราะห์การไหล เพื่อกำหนดแนวทางปรับปรุงการวางผังโรงงานโดยมุ่งให้เกิดการไหลแบบทีละชิ้น (One Piece Flow) ตลอดจนกำหนดประเภทอุปกรณ์ขนถ่ายที่เหมาะสม (Material Handling) และจำนวนแรงงานแต่ละกะทำงาน |
. |
โครงสร้างบ้านแห่งลีน |
. |
• แทกต์ไทม์ (Takt Time) เป็นช่วงเวลาสูงสุดที่สามารถตอบสนองตามปริมาณความต้องการของลูกค้า ซึ่งสะท้อนถึงอัตราความต้องการของลูกค้า ดังนั้นแทกต์ไทม์จึงเป็นเสมือนจังหวะการเต้นหัวใจ โดยข้อมูลค่าแทกต์ไทม์ได้ถูกใช้สร้างสมดุลสายการผลิตให้สอดคล้องตามกำหนดการผลิตซึ่งขึ้นเป็นส่วนกลับกับอัตราการผลิต (Production Rate) |
. |
ดังนั้นจึงมักมีผู้สับสนเกี่ยวกับรอบเวลาการผลิตกับแทกต์ไทม์ ซึ่งที่จริงแล้วรอบเวลาการผลิตแสดงถึงกำลังความสามารถการปฏิบัติงาน ขณะที่แทกต์ไทม์ขึ้นกับอัตราความต้องการหรือคำสั่งซื้อจากลูกค้า โดยคำนวณหาได้จากความสัมพันธ์ ดังนี้ |
. |
Takt Time = |
. |
สำหรับการคำนวณหาแทกต์ไทม์ ประกอบด้วย |
1. ประเมินอุปสงค์หรือปริมาณความต้องการของลูกค้าตามรอบเวลา เช่น รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน เป็นต้น |
. |
ตัวอย่างที่1 โรงงาน SME แห่งหนึ่งมีช่วงเวลากะทำงาน 8 ชั่วโมง โดยมีเวลาพักสองช่วง ช่วงละ 10 นาที เวลาทำความสะอาด 20 นาที และเวลาพักทานอาหาร 30 นาที แต่ละเดือนได้รับคำสั่งซื้อจากลูกค้า 2600 หน่วย โดยมีจำนวนวันทำงานแต่ละเดือน 20 วัน จากข้อมูลดังกล่าวให้หาค่าเวลาสำหรับการตอบสนองคำสั่งซื้อ |
. |
เวลาปฏิบัติงานสุทธิ (Net Available Operating Time) |
. |
ความต้องการของลูกค้า (Customer Demand) |
. |
นำข้อมูลเพื่อคำนวณหาค่าแทกต์ไทม์ |
. |
4. นำข้อมูลรอบเวลาการผลิตของพนักงานเทียบกับแทกต์ไทม์และนำเสนอด้วยแผนภูมิแท่ง (Bar Chart) |
. |
ข้อมูลแทกต์ไทม์ในสายการผลิต |
. |
• การจัดสมดุลภาระงาน (Workload Balancing) ช่วงนี้จะนำข้อมูลจากช่วงคำนวณแทกต์ไทม์มาใช้ออกแบบเซลล์การผลิตให้เกิดความสมดุล สำหรับเวลาที่ใช้ปฏิบัติงานในสายการผลิตประกอบด้วยเวลาเดินเครื่องจักร เวลาทำงานของแรงงาน และเวลาการตั้งเครื่อง โดยเฉพาะเวลาการเดินเครื่องจักรได้ถูกใช้เทียบกับค่าแทกต์ไทม์เพื่อคำนวณหารอบเวลามาตรฐานการผลิตชิ้นงาน |
. |
แต่หากรอบเวลาทำงานของเครื่องจักรสูงกว่าแทกต์ไทม์ก็จะต้องดำเนินการปรับสมดุลสายการผลิต ดังเช่น การเพิ่มจำนวนเครื่องจักรหรือเพิ่มกะการทำงาน ดังตัวอย่างต่อไปนี้ |
. |
ตัวอย่างที่ 2 เครื่องจักรอัตโนมัติสายการผลิตหนึ่งได้มีการเดินเครื่อง 1 กะทำงาน/วัน โดยมีเวลาการทำงานตั้งแต่ 8.00-17.00 น. ฝ่ายผลิตได้กำหนดเป้าหมายการผลิต 2700 หน่วย ภายในเวลา 450 นาที (เวลาหยุดพัก 30 นาที) แต่ละชิ้นงานมีรอบเวลาแปรรูป 20 วินาที ให้ค่าเวลาแทกต์ และกำหนดแนวทางเลือกที่สามารตอบสนองความต้องการของฝ่ายผลิต |
. |
หาค่า Takt Time = = 0.167 นาที/ชิ้น หรือ 10 วินาที่/หน่วย |
นำค่า Takt Time ได้ถูกใช้กำหนดทางเลือก |
. |
สำหรับผลการคำนวณได้ถูกใช้กำหนดทางเลือกสองแนวทาง นั่นคือ |
1. สายการผลิตต้องใช้เครื่องจักรอัตโนมัติ 2 เครื่อง เพื่อให้สมดุลกับรอบเวลา |
. |
การนำข้อมูลแทกต์ไทม์เพื่อปรับสมดุลภาระงาน |
. |
• การผลิตแบบไหลทีละชิ้น (One-Piece Flow) หรือการผลิตแบบไหลอย่างต่อเนื่องได้ถูกใช้ในสภาพการผลิตแบบเซลล์ โดยมุ่งให้เกิดการไหลอย่างต่อเนื่องไม่ติดขัด และลดเวลาในแถวคอย ทำให้เกิดการเพิ่มผลิตภาพ เช่น ช่วงเวลานำการผลิตสั้นลง และลดปริมาณงานระหว่างผลิต เป็นต้น |
. |
. |
• การจัดวางผังการผลิตแบบเซลล์ (Cell Layout) เพื่อสนับสนุนให้เกิดการไหลของงานอย่างราบรื่น และสร้างความยืดหยุ่นเพื่อผลิตสินค้าที่มุ่งตอบสนองความหลากหลายของลูกค้า นอกจากนี้ ยังลดความสูญเปล่าที่เกิดในสายการผลิต เช่น การใช้พื้นที่อย่างเกิดประโยชน์สูงสุดและลดระยะทางการขนถ่ายซึ่งส่งผลต่อการลดรอบเวลาการผลิต เป็นต้น สำหรับการออกแบบผังการผลิตแบบเซลล์ที่เหมาะสม ควรพิจารณาดังนี้ |
. |
การจัดผังการผลิตแบบเซลล์ |
. |
• เกิดการไหลของงานในทิศทางเดียว (One Direction) |
. |
แนวคิดวางชิ้นงานใกล้กับจุดใช้งาน (Point of Use) |
. |
• จัดวางเครื่องมือหรืออุปกรณ์สนับสนุนการทำงานไว้ในบริเวณที่สามารถหยิบใช้ได้อย่างสะดวกเมื่อต้องการใช้งาน |
. |
เอกสารอ้างอิง |
1. Gerhard J. Plenert, The Plant Operations Handbook: A Tactical Guide to Everyday Management, Richard D. Irwin, Inc., 1993 |
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.
ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด