แนวคิดการพัฒนาผลิตภาพกระบวนการได้มีบทบาทสนับสนุนการสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับธุรกิจ โดยเฉพาะการมุ่งลดอัตราการเกิดของเสียและรอบเวลาทำงานเพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าซึ่งส่งผลให้เกิดการเพิ่มส่วนแบ่งตลาด ด้วยเหตุนี้ปัญหาการเกิดของเสียจึงเป็นประเด็นสำคัญโดยเฉพาะภาคการผลิตซึ่งเป็นต้นตอแห่งความสูญเปล่า
โกศล ดีศีลธรรม |
. |
. |
แนวคิดการพัฒนาผลิตภาพกระบวนการได้มีบทบาทสนับสนุนการสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับธุรกิจ โดยเฉพาะการมุ่งลดอัตราการเกิดของเสียและรอบเวลาทำงานเพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าซึ่งส่งผลให้เกิดการเพิ่มส่วนแบ่งตลาด ด้วยเหตุนี้ปัญหาการเกิดของเสียจึงเป็นประเด็นสำคัญโดยเฉพาะภาคการผลิตซึ่งเป็นต้นตอแห่งความสูญเปล่า |
. |
ดังนั้นองค์การชั้นนำส่วนใหญ่จึงผนวกกระบวนการตรวจสอบ การวิเคราะห์ปัญหาและดำเนินการแก้ไขร่วมกับการดำเนินงานประจำ โดยปฏิบัติงานในสายการผลิตดูแลรับผิดชอบด้วยการตรวจสอบด้วยตนเอง (Self-Check) และการตรวจสอบแบบต่อเนื่อง (Successive Check) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ |
. |
1. การตรวจสอบด้วยตนเอง โดยผู้ปฏิบัติงานจะดำเนินการตรวจสอบผลลัพธ์จากการทำงาน ถ้าหากตรวจพบปัญหาขึ้นและสามารถแก้ไขปัญหาได้ก็จะดำเนินการแก้ปัญหาทันที แต่แนวทางดังกล่าวมีจุดอ่อน นั่นคือ หากผู้ปฏิบัติงานมีความลำเอียงในการพิจารณาตัดสินใจหรือการละเลยในจุดตรวจสอบสำคัญ ดังนั้นจึงควรดำเนินการตรวจสอบแบบต่อเนื่องที่จะกล่าวในข้อต่อไป |
. |
2. การตรวจสอบแบบต่อเนื่อง โดยผู้ปฏิบัติงานในกระบวนการถัดไปจะดำเนินการตรวจสอบผลงานในกระบวนการก่อนหน้า (Upstream) และเมื่อตรวจพบปัญหาว่าเกิดจากสาเหตุต้นตอในกระบวนการก่อนก็จะส่งผ่านชิ้นงานบกพร่องกลับไปยังผู้ปฏิบัติงานกระบวนการก่อนเพื่อแก้ไขปัญหาและทำการตรวจสอบซ้ำ (Double Checking) โดยมุ่งป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาเดิมอีก แต่หากผู้ปฏิบัติงานไม่สามารถแก้ปัญหาที่ตรวจพบได้ก็จะให้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะตรวจสอบและดำเนินการแก้ไขปัญหา |
. |
ดังนั้นช่วงหลังเลิกงานแต่ละวันทางผู้ตรวจสอบพิเศษ (Special Inspector) มักพบปะสนทนากับผู้ที่ดำเนินการตรวจสอบด้วยตนเองและตรวจสอบต่อเนื่อง เกี่ยวกับปัญหาที่เกิดในขณะปฏิบัติงาน โดยมุ่งชี้บ่งปัญหาความบกพร่องและแนวทางป้องกันตลอดจนการถ่ายทอดทักษะการตรวจสอบจาก Special Inspector สู่ผู้ปฏิบัติงาน ด้วยเหตุนี้ Successive Check จึงเกิดประสิทธิผลกว่าการตรวจสอบโดยผู้ควบคุมงานหรือพนักงานตรวจสอบเนื่องจากผู้ปฏิบัติงานมีการยอมรับต่อปัญหาที่ตรวจพบโดยผู้ร่วมงานก่อนที่จะตรวจพบโดยหัวหน้างานหรือพนักงานตรวจสอบ |
. |
รูปที่ 1 แนวคิดการตรวจสอบความบกพร่อง |
. |
สำหรับองค์ประกอบการตรวจสอบด้วยตนเองและการตรวจสอบแบบต่อเนื่อง ประกอบด้วย |
1. เป้าหมายการตรวจสอบ (Check Target) โดยพนักงานแต่ละคนจะทำการตรวจสอบ 2-3 เป้าหมายที่แสดงด้วยความปลอดภัย สมรรถนะ และอื่น ๆ หรืออาจมุ่งตรวจสอบประเด็นปัญหาที่มักเกิดขึ้นบ่อยครั้ง โดยเฉพาะการแสดงสถิติความบกพร่องและควรมีการตรวจสอบเพื่อระบุลักษณะปัญหาหลักแต่ละรอบเวลา รวมทั้งเทียบเคียงกับเป้าหมายจนกระทั่งพบแนวทางแก้ปัญหาความบกพร่องดังกล่าว |
. |
2. การป้อนกลับและดำเนินการแก้ไข (Feedback and Action) เมื่อไรก็ตามที่ปัญหาหรือความบกพร่องถูกตรวจพบทางผู้ปฏิบัติงานที่รับผิดชอบจะทำการแจ้งเตือนทันที แต่หากปัญหายังคงเกิดขึ้นก็อาจหยุดสายการผลิตเพื่อแก้ปัญหาก่อนที่จะเกิดผลกระทบต่อสายการผลิตและเมื่อปัญหาไม่สามารถดำเนินการแก้ไขอย่างทันการก็จะมีผู้เชี่ยวชาญดำเนินการตรวจสอบและแก้ไขโดยมีการแจ้งเตือนด้วยแสงไฟ (Andon) ซึ่งถูกติดตั้งแต่ละสถานีงานและยังมีแผงแสดงสถานะ (Status Board) ที่ส่วนกลางเพื่อให้ทุกคนสามารถมองเห็นสถานะปัญหา |
. |
อย่างเช่นการแสดงด้วยไฟเขียวหรือการดับไฟ นั่นหมายถึง "สถานะปกติ" สีเหลือง หมายถึง "กำลังดำเนินการแก้ปัญหา" ส่วนสีแดง หมายถึง "ปัญหาที่รุนแรงหรือแก้ไขยาก" ดังนั้นสีเหลืองและสีแดงจึงมักหยุดเดินเครื่องจักรชั่วคราวเพื่อดำเนินการแก้ปัญหา แต่หากเป็นสายการผลิตแบบต่อเนื่องก็ควรหยุดทั้งกระบวนการ ซึ่งสาเหตุหลักของปัญหาเหล่านี้มักเกิดจากวิธีการทำงานไม่เหมาะสมและการฝึกอบรมให้กับผู้ปฏิบัติงานไม่เพียงพอ |
. |
รูปที่ 2 แผงไฟแสดงสถานะเพื่อแจ้งเตือนปัญหา (Status Board) |
. |
3. การสนับสนุนต่อผู้ปฏิบัติงาน (Support for Operator) โดยจัดเป็นแกนหลักของกระบวนการตรวจสอบทั้งสองแบบ ดังนั้นจึงไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าผู้ปฏิบัติงานในสายการผลิตมีบทบาทสนับสนุน ด้วยประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ |
. |
* ผู้ปฏิบัติงานควรตระหนักว่ากระบวนการตรวจสอบไม่ใช่เครื่องมือที่ถูกใช้สำหรับการประเมินผลงาน แต่หากผู้ปฏิบัติงานคิดว่าเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินผลงานพวกเขาแล้วก็จะส่งผลให้เกิดการละเลยหรือมองข้ามการแก้ปัญหาที่ส่งผลให้เกิดของเสีย ซึ่งแท้จริงแล้วเป้าหมายการตรวจสอบคือการปรับปรุงวิธีการทำงานและลดโอกาสเกิดของเสียขึ้นอีก |
. |
* ผู้ปฏิบัติงานจะต้องเผื่อเวลาพิเศษสำหรับกิจกรรมปรับปรุงคุณภาพ โดยเฉพาะในช่วงเวลาทำงานและเวลาหลังเลิกงานเพื่อถกปัญหาและกำหนดแนวทางแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นแต่ละวัน ซึ่งจัดเป็นแนวทางพัฒนาการแก้ปัญหาคุณภาพระยะยาว |
. |
* สำหรับการปฏิบัติงานทั่วไป พนักงานในสายการผลิตมักให้ความสำคัญต่อการควบคุมปัจจัยหลักที่มีผลต่อคุณภาพไม่มาก ดังนั้นถ้ามอบหมายให้มีการเพิ่มความรับผิดชอบเพิ่มเติมคงจะไม่เหมาะสม เนื่องจากสมรรถนะการควบคุมสถานการณ์ระหว่างพนักงานในสายการผลิตกับระดับบริหารมีความแตกต่างกันมาก ซึ่ง Joseph Juran ได้ประมาณว่า 80% ของความบกพร่องในอุตสาหกรรมเกิดจากพื้นฐานความรู้ของพนักงานระดับสายการผลิตไม่เพียงพอในการบริหารจัดการคุณภาพงาน |
. |
ดังนั้นความชำนาญในการตรวจสอบและทักษะการแก้ปัญหาประเมินได้จากการได้รับการฝึกอบรมทักษะ นอกจากนี้ทางฝ่ายบริหารควรให้การสนับสนุนทั้งในด้านทรัพยากรและทางเทคนิคที่จำเป็นเพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับบุคลากร เนื่องจากเพียงแค่ความพยายามของพนักงานระดับปฏิบัติการคงไม่เพียงพอสำหรับการพัฒนาปรับปรุงความสามารถกระบวนการ |
. |
* ขจัดแนวคิดที่มุ่งเน้นการจ่ายค่าตอบแทนตามโควตาหรืออัตราตามชิ้นงาน (Piece Rate) เนื่องจากแนวคิดดังกล่าวมักส่งผลให้เกิดการละเลยหรือมองข้ามปัญหาทางคุณภาพ โดยเฉพาะความบกพร่องที่เกิดขึ้นได้ปล่อยให้เกิดของเสียมาก |
. |
4. ความเป็นอัตโนมัติ (Automation) คนส่วนใหญ่มักมีความเชื่อว่าการตรวจสอบด้วยระบบอัตโนมัติจะเกิดประสิทธิผลกว่าการตรวจโดยแรงงานมนุษย์ แต่ความจริงไม่ได้เป็นดั่งความเชื่อดังกล่าวเสมอไป โดยเฉพาะการตรวจสอบด้วยมือ (Manual Inspection) 100% จะมีความแม่นยำในการตรวจจับที่เทียบเท่ากับการใช้อุปกรณ์อัตโนมัติเว้นเสียแต่ว่าปัญหาที่มีลักษณะเฉพาะซึ่งเกินความสามารถมนุษย์ |
. |
ดังเช่น ความละเอียดการตรวจสอบ รอบเวลาสั้นมาก ซึ่งมีความจำเป็นต้องใช้ระบบอัตโนมัติตรวจสอบ แต่โดยทั่วไปแล้วความได้เปรียบของระบบอัตโนมัติไม่ใช่เพียงแค่ความแม่นยำหรือความเชื่อมั่นในการวัดแต่อยู่ที่ปัจจัยของต้นทุน เนื่องจากการทดแทนการตรวจสอบด้วยอุปกรณ์อัตโนมัติแทนการตรวจสอบด้วยมือสามารถลดค่าใช้จ่ายได้ในระยะยาว โดยเฉพาะการผลิตแบบ Mass ที่มีรายการสำหรับตรวจสอบมาก |
. |
5. รอบเวลาการผลิต (Cycle Time) กิจกรรมตรวจสอบมักก่อให้เกิดรอบเวลายาวขึ้น แต่ Shingo ได้โต้แย้งว่า แม้ว่ารอบเวลาจะเพิ่มขึ้นในช่วงแรก (คนงานต้องการเวลาเพิ่มเพื่อตรวจสอบและแก้ปัญหาในบางจุด) แต่ก็เป็นเพียงส่วนน้อย (ราว 10%) |
. |
แต่หากปัญหาความบกพร่องถูกตรวจพบและสาเหตุหลักของปัญหาได้ถูกขจัดออกก็จะส่งผลให้ความถี่การหยุดเดินสายการผลิตและค่าเฉลี่ยเวลานำการผลิตลดลง เนื่องจากการตรวจสอบขั้นสุดท้าย (Final Inspection) และงานแก้ไขได้ถูกขจัดออก รวมทั้งรอบเวลาสั้นมากและเวลาสำหรับการตรวจสอบมีผลกระทบต่อกำหนดการผลิต ดังนั้นการตรวจสอบแบบอัตโนมัติจึงถูกใช้แทนการตรวจสอบด้วยพนักงาน |
. |
ข้อจำกัดการตรวจสอบ |
โดยทั่วไปผลกระทบจากความผิดพลาดเล็กน้อยของการตรวจสอบจัดเป็นประเด็นสำคัญ ดังเช่น กระบวนการมีอัตราของเสียเฉลี่ย 0.25% ด้วยการตรวจสอบแบบ 100% และกระบวนการตรวจสอบมีประสิทธิผลในการพบของเสีย 95% เนื่องจากอัตราของเสียหรือความบกพร่องที่เกิดขึ้น 0.25% นั่นหมายถึง กระบวนการได้เกิดของเสียขึ้น 2500 PPM (Parts Per Million) |
. |
ส่วนการตรวจสอบด้วยตนเองสามารถระบุปัญหาได้เพียง 95% นั่นคือ ความบกพร่อง 125 PPM ไม่สามารถถูกตรวจจับได้และสามารถหลุดไปยังกระบวนการถัดไป ดังนั้นหากผลิตภัณฑ์ประกอบด้วยองค์ประกอบที่ซับซ้อนมากและเกิดการสะสมความบกพร่องแต่ละส่วนจนถึงการประกอบขั้นสุดท้าย (Final Assembly) |
. |
ดังกรณีผลิตภัณฑ์ประกอบด้วยองค์ประกอบ 100 ส่วน แต่ละส่วนมีอัตราบกพร่อง 6 PPM ดังนั้นแต่ละส่วนจะเกิดสัดส่วนของดี 999994 PPM ซึ่งผลกระทบของสายการประกอบสุดท้ายด้วยองค์ประกอบ 100 ส่วน นั่นคือ เกิดผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ (0.999994)100 หรือ 0.9994002 โดยผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีข้อบกพร่อง คือ 999400 PPM แต่หากผลิตภัณฑ์ประกอบด้วยชิ้นส่วน 1000 ส่วน |
. |
ดังนั้นค่าผลิตผลดีหรือค่ายีลด์ (Yield) คือ (0.999994)1000 หรือสัดส่วนของดี 0.994018 และเกิดผลิตภัณฑ์ที่มีความบกพร่อง 5982 PPM ซึ่งแสดงถึงความยากลำบากในการผลิตของเสียให้เป็นศูนย์ (Zero Defect) แม้ว่าจะใช้การตรวจสอบแบบ 100% หรือแบบ Double Checking ก็ตาม |
. |
แนวคิดการตรวจสอบเพื่อป้องกันความสูญเสีย |
โดย Shingo ได้กล่าวถึงการตรวจสอบแบบเดิมที่มุ่งค้นหาปัญหาจากผลิตผล (Output) ซึ่งมีการแก้ไขความบกพร่องด้วยการปรับปัจจัยกระบวนการ แต่การดำเนินการดังกล่าวไม่ได้เป็นการป้องกันการเกิดของเสีย ดังนั้นหนทางหนึ่งเพื่อขจัดลดของเสีย นั่นคือ การขจัดต้นตอสาเหตุหลักของปัญหา |
. |
ซึ่ง Shingo ได้กล่าวถึงแนวคิดการตรวจสอบแหล่งปัญหา (Source Inspection) และสาเหตุการเกิดปัญหาข้อบกพร่อง ประกอบด้วยวิธีการปฏิบัติงานไม่เหมาะสม เกิดความผันแปรในขณะปฏิบัติงานที่มักเกิดจากเครื่องจักรสึกหรอหรือการปรับตั้งเครื่องไม่เหมาะสม วัตถุดิบไม่มีคุณภาพตามข้อกำหนดและความบกพร่องหรือความประมาทเลินเล่อของพนักงานในสายการผลิต โดยทั่วไป ปัญหาที่เกิดในสามประการแรก สามารถขจัดลดด้วย |
. |
* ปรับปรุงวิธีการทำงาน โดยใช้มาตรฐานการปฏิบัติงาน (Standard of Procedure) |
. |
รูปที่ 3 ข้อมูลสัดส่วนคุณภาพงานในสายการผลิต |
. |
ดังนั้นก่อนจะกล่าวถึงแนวทางแก้ปัญหาลองพิจารณาตัวอย่างสถานการณ์ที่เกิดจากความผิดพลาดของผู้ปฏิบัติงานที่ขาดความรอบคอบ ดังนี้ |
a. สายการประกอบตัวถังรถที่มีการเชื่อมโครง 8 ตำแหน่ง โดยสายการประกอบได้มีการเชื่อมและประกอบตัวถังสามแบบ ซึ่งทั้งสามแบบมีการเชื่อมตัวโครงทั้ง 8 จุด แต่การเชื่อมแต่ละชิ้นงานมักมีความคลาดเคลื่อนในตำแหน่งที่ระบุไว้ |
. |
b. สายการประกอบที่มีลักษณะการทำงานคล้ายกัน แต่ทำการประกอบผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย โดยผลิตภัณฑ์แต่ละรุ่นมีความต้องการใช้คอนเนกเตอร์ (Connector) ที่แตกต่างกัน ซึ่งคนงานจะทำการประกอบ Connector เมื่อชิ้นงานถูกเคลื่อนตามสายพาน แต่บางครั้งคนงานในสายการประกอบเลือก Connector ผิดขนาดและนำประกอบเข้ากับชิ้นงาน |
. |
c. เมื่อชิ้นงานได้เคลื่อนถึงแผนกพ่นสี โดยชิ้นงานแต่ละรุ่นการผลิต (Lot) จะถูกพ่นสีตามรหัสที่ระบุในคัมบัง (Kabana Ticket) ที่แนบมากับชิ้นงานแต่ละรุ่น แต่บางครั้งได้มีการเลือกใช้สีพ่นผิดจากใบสั่งและทำให้ชิ้นงานถูกพ่นด้วยสีที่ผิดหมดทั้งรุ่น |
. |
d. ช่างเทคนิคได้ติดตั้งสวิตช์ 3 ชุด บนแผงควบคุม โดยแต่ละสวิตช์จะต้องสอดสปริงก่อนที่จะติดตั้ง ซึ่งช่างเทคนิคผู้ติดตั้งสวิตช์มักลืมสอดสปริงก่อนจึงทำให้สวิตช์บนแผงควบคุมไม่ทำงาน |
. |
โดยทั่วไปการตรวจสอบอย่างสมบูรณ์จะทำให้สามารถค้นพบความบกพร่องที่ก่อให้เกิดความสูญเปล่า ดังตัวอย่างแต่ละกรณีที่แสดงสาเหตุปัญหาโดยการตรวจติดตามและดำเนินการขจัดแหล่งความบกพร่องที่อาจเกิดจากความบกพร่องของ วัตถุดิบ เครื่องจักร และวิธีการ ดังนั้นแนวคิดการขจัดแหล่งความบกพร่องหมายถึงการป้องกันปัญหาความบกพร่องไม่ให้เกิดขึ้นซ้ำ |
. |
โดยมุ่งหยุดปัญหาที่สาเหตุต้นตอก่อนที่จะเกิดของเสีย ซึ่ง Shingo ได้กล่าวถึงอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับตรวจหาแหล่งปัญหา เรียกว่า Poka-Yoke ภาษาญี่ปุ่นหมายถึง การป้องกันความผิดพลาด (Mistake Proofing) ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการแก้ไขปัญหาด้วยการใช้อุปกรณ์ช่วยตรวจติดตามการเดินเครื่องจักรและทำการหยุดเดินเครื่องเมื่อตรวจพบสิ่งผิดปกติขึ้น ดังตัวอย่างที่แสดงไว้ |
. |
a) แต่ละครั้งสำหรับการเชื่อมตัวโครงจะใช้เครื่องตรวจนับ (Counter) ร่วมกับ Spot Welder โดยใช้ตัวจับยึดตัวโครงที่จะเชื่อมและเมื่อทำการเชื่อมจุดบนตัวโครงครบตามตำแหน่งทั้ง 8 จุด ตัวจับยึดก็จะปลดออก ซึ่งงานทุกชิ้นจะมีความสมบูรณ์ทั้งจำนวนและตำแหน่งที่ต้องถูกเชื่อม |
. |
b) การติดฉลากชิ้นงานแต่ละรุ่นด้วยบาร์โค้ด (Bar Code) เมื่อชิ้นงานเลื่อนมาตามสายพานก็จะมีตัวสแกนยิงเข้ากับฉลากที่ติดบนชิ้นงาน ทำให้มีไฟแสดงบนกล่องใส่และอุปกรณ์ Connector ที่ใช้กับชิ้นงานรุ่นนั้น ซึ่งพนักงานในสายการผลิตสามารถหยิบอุปกรณ์เพื่อประกอบชิ้นงานอย่างถูกต้อง |
. |
c) แนวทางคล้ายกับ b โดยแนบคัมบังที่มีแถบบาร์โค้ดติดกับชิ้นงานและเมื่อชิ้นงานเคลื่อนเข้ามายังฝ่ายพ่นสี คนงานจะนำใบคัมบังสอดเข้ากับเครื่องอ่าน (Card Reader) โดยมีไฟแสดงที่ถังสีและสามารถเลือกสีที่ใช้พ่นได้อย่างถูกต้อง |
. |
d) ดำเนินการปรับปรุงกระบวนการทำงาน โดยก่อนติดตั้งสวิตช์บนแผงควบคุมชุดใหม่ควรให้ช่างเตรียมสปริงสามตัวและวางไว้บนกล่องข้างตัวแล้วจึงนำสปริงสอดเข้าในช่องสวิตช์ โดยนำสวิตช์ติดบนแผงควบคุมซึ่งสามารถลดปัญหาที่เกิดขึ้นประจำได้ |
. |
รูปที่ 4 ตัวอย่างใบคัมบัง |
. |
ตัวอย่างที่แสดงนี้อาจกล่าวได้ว่า Poka-Yoke มุ่งการป้องกันความผิดพลาดจากมนุษย์ (Human Error) โดยวัตถุประสงค์หลักของ Poke Yoke เพื่อสนับสนุนแนวคิดการเกิดของเสียเป็นศูนย์ (Zero Defect) และจัดเป็นหนึ่งในระบบควบคุมคุณภาพเป็นศูนย์ (Zero Quality Control) หรือ ZQC โดยมีเป้าหมายเพื่อขจัดของเสียที่เกิดขึ้น ดังนั้นหากต้องการให้กระบวนการผลิตชิ้นงานหรือสินค้าที่มีคุณภาพสมบูรณ์ทางผู้จัดการฝ่ายผลิตจะต้องจำแนกปัญหาและดำเนินการขจัดออก |
. |
รูปที่ 5 ความสัมพันธ์ระหว่างปัญหาของเสียกับความผิดพลาดจากมนุษย์ |
. |
สำหรับ Poka-Yoke สามารถใช้ร่วมกับอุปกรณ์อัตโนมัติที่ติดตั้งในกระบวนการเพื่อป้องกันความบกพร่องหรือการเกิดของเสีย ดังเช่น เครื่องจักรที่ทำงานภายใต้เงื่อนไขของปัจจัยอุณหภูมิ ความดัน ความเร็วรอบ ซึ่งถูกติดตามโดยอุปกรณ์ตรวจจับเพื่อหยุดการทำงานเมื่อค่าปัจจัยเกินกว่าข้อกำหนด ดังนั้นแนวคิด Poka-Yoke สามารถประยุกต์ใช้กับทุกสถานการณ์ที่มีโอกาสเกิดความผิดพลาดในสายการผลิต ส่วนหน้าที่การทำงานของ Poka-Yoke จำแนกได้ดังนี้ |
. |
* การควบคุมและแจ้งเตือนความผิดปกติในกระบวนการ โดยอุปกรณ์ควบคุมจะทำการตัดระบบการทำงานเมื่อตรวจพบสิ่งผิดปกติเพื่อป้องกันผลกระทบที่ทำให้เกิดความเสียหาย ดังกรณีการติดตั้งตัวตรวจจับหรือเซนเซอร์กับสว่านเจาะเมื่อระบบตรวจจับพบความผิดปกติจากการทำงานของอุปกรณ์ก็จะตัดการทำงานและหยุดเครื่องอย่างอัตโนมัติ |
. |
ส่วนหน้าที่การแจ้งเตือน (Warning Poka-Yoke) โดยจะแสดงด้วยเสียงหรือไฟสัญญาณเตือนเมื่อตรวจจับความผิดปกติ ดังเช่นกรณีสถานการณ์ c แต่สำหรับระบบการผลิตแบบต่อเนื่องแล้วการใช้ Warning Poka-Yoke จะให้ประสิทธิผลในการขจัดความบกพร่องน้อยกว่า Control Poka-Yoke เนื่องจาก Warning Poka-Yoke ยังคงปล่อยให้ความผิดปกติเกิดต่อเนื่องจนกระทั่งมีคนที่สนใจต่อสัญญาณแจ้งเตือนและทำการหยุดกระบวนการลง |
. |
รูปที่ 7 การติดตั้งอุปกรณ์จับยึดและตรวจนับชิ้นงาน |
. |
* การตรวจสอบเพื่อมั่นใจว่าตั้งค่าในกระบวนการมีความถูกต้อง (Setting Poka-Yoke) ดังกรณีสถานการณ์ a ได้ติดตั้งอุปกรณ์นับเพื่อมั่นใจว่าตำแหน่งและจำนวนจุดเชื่อมละชิ้นงานไม่น้อยกว่า 8 จุด โดยทั่วไป Poka-Yoke มักใช้สวิตช์อัตโนมัติร่วมกับตัวนับแบบอิเล็กทรอนิกส์ ตัวตรวจจับการเคลื่อนไหว รวมทั้งการใช้ตัวจับอุณหภูมิและความดัน |
. |
รูปที่ 8 การใช้อุปกรณ์ตรวจจับการเคลื่อนที่ |
. |
สำหรับแนวทางป้องกันความผิดพลาดส่วนใหญ่มักมีจุดประกายจากสายการผลิต โดยเฉพาะแนวทางขจัดความบกพร่องที่เกิดจากการระดมสมองจากบุคลากรหลายฝ่าย นั่นคือ ผู้ควบคุมงาน วิศวกร ช่างเครื่อง พนักงานซ่อมบำรุง รวมทั้งแนวคิดจากผู้ปฏิบัติงานในสายการผลิต ดังนั้นแนวคิดป้องกันความผิดพลาดจึงเกิดจากฝ่ายงานทุกระดับในองค์กรซึ่งพนักงานทุกคนควรถูกกระตุ้นให้คิดถึงแนวทางป้องกัน ดังเช่น |
. |
วิศวกรออกแบบผลิตภัณฑ์ต้องคิดถึงแนวทางสร้างคุณลักษณะพิเศษให้กับผลิตภัณฑ์เพื่อป้องกันโอกาสที่คนงานเกิดความเผอเรอในช่วงการประกอบ ซึ่งวิศวกรผลิตภัณฑ์สามารถออกแบบชิ้นส่วนให้มีความโดดเด่นสู่ลูกค้า แต่สามารถป้องกันความสับสนของพนักงานในการประกอบชิ้นงานนั้น |
. |
ส่วนช่างฟิตและวิศวกรกระบวนการจะออกแบบเครื่องจักร อุปกรณ์จับยึด และวิธีการทำงานที่สามารถป้องกันความผิดพลาดจากมนุษย์หรือหากเกิดความบกพร่องขึ้นจากผู้ปฏิบัติงานหรือเครื่องจักรก็ยังสามารถถูกตรวจจับได้อย่างรวดเร็วและทำการหยุดกระบวนการ ก่อนที่จะเกิดผลกระทบจนเกิดความเสียหายตามมา |
. |
ดังนั้นแนวทางป้องกันจึงควรถูกระบุตั้งแต่ช่วงต้น ส่วนประเด็นการออกแบบอาจดำเนินการในช่วงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดย Shingo ได้เสนอแนะว่าควรมีการปรับแต่งเล็กน้อยด้วยวิธีการที่ควรถูกพิจารณาก่อนทำการติดตั้งอุปกรณ์ควบคุม โดยเฉพาะการตรวจสอบด้วยระบบอัตโนมัติที่มีราคาแพง ส่วนแนวทางเบื้องต้นเพื่อลดปัญหาทางคุณภาพควรดำเนินการทันทีเพื่อลดผลต่างระหว่างข้อกำหนดกับผลลัพธ์จนกระทั่งการแก้ไขเกิดประสิทธิผล |
. |
บทบาทกิจกรรมไคเซ็น |
ดังกรณีตัวอย่าง b และ c ได้ติดแถบรหัสชิ้นงานตามรุ่นที่ผลิตเพื่อบ่งชี้ชิ้นงานหรือสีที่ถูกต้อง แต่ไม่สามารถป้องกันการติดแถบรหัสผิด ส่วนเครื่องนับจุดเชื่อมดังกรณี a แสดงถึงชิ้นงานจะต้องได้รับการเชื่อมอย่างครบถ้วน ซึ่งสายการผลิตทั่วไปประสบการณ์และข้อมูลที่เก็บจากผู้ปฏิบัติงาน รวมทั้งสถิติของเสีย ข้อร้องเรียนจากลูกค้า ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความบกพร่องที่สามารถระบุแหล่งการเกิดของเสีย |
. |
ซึ่งข้อมูลได้บ่งชี้ถึงความจำเป็นที่ต้องปรับเปลี่ยนระบบที่เป็นอยู่เพื่อมุ่งขจัดความบกพร่องในสายการประกอบ นอกจากนี้ระบบป้องกันความผิดพลาดยังต้องถูกตรวจติดตามอย่างต่อเนื่องและผลลัพธ์จะถูกใช้กำหนดการปรับเปลี่ยนระบบ ดังนั้น Poka-Yoke จึงมีบทบาทสนับสนุนกิจกรรมไคเซ็นที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องไม่มีที่สิ้นสุด |
. |
การควบคุมตนเองโดยอัตโนมัติ |
แนวคิดการป้องกันความผิดพลาดโดยใช้ระบบกลไกป้องกัน (Jidoka) ตามความหมายเดิมของ Jidoka คือ ความเป็นอัตโนมัติ (Automation) แต่ "Jidoka" แสดงความเป็นอัตโนมัติร่วมกับความฉลาดของมนุษย์เรียกว่าการควบคุมตนเองโดยอัตโนมัติ (Autonomation) ดังนั้น Jidoka หมายถึงการใช้ระบบอัตโนมัติเพื่อควบคุมความบกพร่องในสายการผลิต |
. |
ดังนั้นหากตรวจพบความผิดปกติขึ้นก็จะทำการหยุดสายการผลิตทันทีอย่างกลไกการทำงานเกิดการติดขัดและทำให้เกิดของเสียขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงได้ใช้อุปกรณ์อย่าง Limit Switch เพื่อหยุดการทำงานเมื่อปัญหาเกิดขึ้น ดังกรณีแรงงานในสายการผลิตโตโยต้าได้รับมอบหมายอำนาจให้หยุดสายการผลิตเมื่อปัญหาเกิดขึ้นเพื่อดำเนินการแก้ไขและไม่ให้ของเสียส่งผ่านไปยังกระบวนการถัดไป |
. |
ดังนั้นเป้าหมายหลักของการควบคุมตนเองโดยอัตโนมัติจึงครอบคลุมถึงประเด็นการประกันคุณภาพผลิตผลจากกระบวนการ การป้องกันปัญหาความขัดข้องจากเครื่องจักรและการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับกลไกการแก้ปัญหาสรุปได้ ดังนี้ |
. |
รูปที่ 9 การติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับปัญหา |
. |
1. การตรวจจับความผิดปกติ |
. |
โดยสองข้อแรกสามารถใช้กลไกหรือระบบอัตโนมัติตรวจจับความผิดปกติเพื่อดำเนินการหยุดสายการผลิต ส่วนพนักงานสายการผลิตมีบทบาทในข้อ 3-4 ซึ่งประสิทธิผลจะเกิดขึ้นเมื่อผู้ควบคุมงาน และแรงงานในสายการผลิตมีทักษะและประสบการณ์แก้ปัญหา โดยทั่วไปทีมงานสายการผลิตควรได้รับการฝึกอบรมด้านการวิเคราะห์สาเหตุหลัก (Root Cause Analysis) อย่างน้อย 12 ชั่วโมงและการฝึกภาคปฏิบัติในสายการผลิตประมาณ 6 เดือน ซึ่ง Taiichi Ohno ได้กำหนดให้ Jidoka คือหนึ่งในเสาหลักของระบบการผลิตโตโยต้า (TPS) |
. |
นอกจากนี้ยังใช้สัญญาณไฟแจ้งเตือนเมื่อเกิดปัญหา (Trouble Light) เพื่อสนับสนุนแนวคิด Quality at the Source ทำให้ผู้ปฏิบัติงานทราบสถานะเครื่องจักรแต่ละจุดทั้งกระบวนการ |
. |
โดยไฟสัญญาณที่ถูกติดตั้งแต่ละเครื่อง เรียกว่า Andon และแสดงผลทางแผงไฟสถานะที่ติดตั้งอยู่ระดับเหนือศีรษะ ทำให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนสามารถมองเห็นปัญหาได้อย่างชัดเจน ซึ่งระบบการผลิตแบบลีนได้บูรณาการ Andon ร่วมกับ Jidoka เพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาระบบควบคุมด้วยสายตา (Visual Control) ระดับสายการผลิต ดังนั้นเมื่อเกิดปัญหาขึ้นทางผู้ปฏิบัติงานหรือผู้ควบคุมงานสามารถทราบตำแหน่งและดำเนินแก้ปัญหาได้ทันที |
. |
ดังกรณี Chevrolet Engine Plant ได้ติดตั้งระบบไฟสัญญาณเหนือสถานีงานและเมื่อเกิดปัญหาก็จะแสดงสัญญาณไฟแจ้งเตือนไปยังพื้นที่ปฏิบัติงาน (Shop Floor) โดยแสดงตำแหน่งปัญหาบนแผงไฟ ซึ่งทำให้ผู้ควบคุมงานและวิศวกรมุ่งตรงไปยังจุดเกิดเหตุอย่างถูกต้อง โดยไม่ต้องเสียเวลาค้นหาจุดเกิดเหตุ |
. |
รูปที่ 10 การใช้ระบบกลไกตรวจจับปัญหาสายการผลิต |
. |
นอกจากการหยุดสายการผลิตแบบอัตโนมัติดังที่กล่าวแล้วยังมีรูปแบบหนึ่งของ Autonomation ซึ่งจะหยุดสายการผลิตเมื่อปัญหาถูกตรวจพบโดยผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบ โดยเฉพาะผู้ปฏิบัติงานที่ไม่สามารถดำเนินการได้เสร็จสิ้นภายในรอบเวลาผลิต ดังเช่น เมื่อกำหนดรอบเวลา 5 นาที แต่การทำงานจริงใช้เวลาถึง 6 นาที จึงเกิดความล่าช้าขึ้นและนี่คือตัวอย่างหนึ่งของ Autonomation ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวจะต้องดำเนินการวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงวิธีการทำงานและกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานที่เหมาะสม |
. |
ด้วยเหตุนี้ Autonomation สามารถบูรณาการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของระบบอัตโนมัติในกระบวนการ ดังตัวอย่างการใช้อุปกรณ์ตรวจจับบนเครื่องจักรเพื่อทำการหยุดเดินเครื่องจักรเมื่อ |
1. ทำงานเสร็จสิ้นตามรอบเวลาการทำงานของเครื่อง |
. |
โดยทั่วไปหัวหน้างานมักไม่เห็นด้วยกับการให้ความรับผิดชอบกับแรงงานในสายการผลิตเพื่อหยุดสายการผลิต เนื่องจากเป็นการขัดจังหวะต่อกำหนดการผลิตที่ส่งผลกระทบต่อรอบเวลาการผลิตเพิ่มขึ้น ซึ่งความเป็นจริงแล้วปัญหาที่เกิดขึ้นอาจไม่สามารถระบุสาเหตุและขจัดปัญหาได้ทั้งหมดจึงมีความจำเป็นต้องหยุดสายการผลิต ด้วยเหตุนี้จึงควรปรับปรุงปัจจัยคุณภาพตลอดทั้งกระบวนการเพื่อลดความถี่การเกิดปัญหา โดยเฉพาะการขัดจังหวะที่เกิดจากการหยุดเดินเครื่องจักรเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาและตั้งเป้าการหยุดหรือขัดจังหวะไว้ที่ค่าใกล้ศูนย์ (Near Zero) |
. |
สรุป |
ระบบกลไกป้องกันการเกิดของเสียได้มีบทบาทสนับสนุนการพัฒนาผลิตภาพการดำเนินงานโดยเฉพาะการมุ่งลดของเสียจากความผิดพลาดขณะปฏิบัติงานด้วยการใช้ระบบกลไกอัตโนมัติเพื่อลดความสูญเสียจากระบวนการผลิต อย่างไรก็ตามการติดตั้งระบบดังกล่าวจะเกิดต้นทุนค่าใช้จ่ายสูงมากและอาจไม่เหมาะสมกับองค์กรที่มีระบบการผลิตขนาดเล็กเนื่องจากเป็นการลงทุนสูง |
. |
ดังนั้นจึงควรพิจารณาปัจจัยหลักให้สอดคล้องกับสภาพการทำงานจริง ซึ่งนอกจากมุ่งความเรียบง่ายการใช้งานแล้วยังต้องพิจารณาประสิทธิผลการลงทุนตามแนวคิด Low-Cost Automation ปัจจุบันแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่เพียงแค่สนับสนุนการพัฒนาผลิตภาพในอุตสาหกรรมการผลิตเท่านั้น แต่ยังสามารถประยุกต์ในภาคธุรกิจอื่นอย่างกว้างขวาง |
. |
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.
ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด