การดำเนินกิจกรรมการผลิตมักเกิดความสูญเปล่าขึ้นในรูปแบบต่าง ๆ ไม่เพียงแค่ส่งผลต่อการดำเนินงาน แต่ยังมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่ยากต่อการประเมินได้ ความจำเป็นต้องทำการวิเคราะห์และควบคุมต้นทุนที่เกิดจากความสูญเปล่า โดยทั่วไประบบบัญชีปัจจุบันจะไม่คำนึงถึงปัญหาความสูญเปล่า
สำหรับการดำเนินกิจกรรมการผลิตมักเกิดความสูญเปล่าขึ้นในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งไม่เพียงแค่ส่งผลต่อการดำเนินงาน แต่ยังมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่ยากต่อการประเมินได้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องทำการวิเคราะห์และควบคุมต้นทุนที่เกิดจากความสูญเปล่า โดยทั่วไประบบบัญชีปัจจุบันจะไม่คำนึงถึงปัญหาความสูญเปล่า เนื่องจากความสูญเปล่าและค่าใช้จ่ายการกำจัดสิ่งตกค้างที่เกิดขึ้นจะไม่ได้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับลูกค้า ดังนั้นจึงไม่ได้บันทึกและรวมต้นทุนที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะสิ่งตกค้างจากการผลิต (Manufacturing Residual) ดังเช่น ผลิตภัณฑ์ผลพลอยได้ (By Product) สินค้าที่เสียหาย (Spoiled Goods) เศษวัสดุ (Scrap) เป็นต้น ซึ่งผู้จัดการหรือนักบัญชีมักไม่แสดงความสูญเปล่าเหล่านี้เนื่องจากเหตุผลหลัก คือ |
. |
1.ผู้จัดการ มีความเชื่อว่าต้นทุนหรือรายได้ที่เกิดจากการรีไซเคิล (Recycle) ของสิ่งตกค้างที่เกิดขึ้นในกิจกรรมการผลิต มีสัดส่วนน้อยมากเมื่อเทียบกับรายได้หรือค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น |
. |
2.ผู้จัดการ ต้องการปกปิดความบกพร่องจึงไม่ได้บันทึกในรายงานเพื่อไม่ให้ผู้บริหารระดับสูงได้รับทราบปัญหาที่เกิดขึ้น เนื่องจากความสูญเปล่าจากการผลิตอาจถูกมองว่าเป็นสัญญาณของความไร้ประสิทธิภาพ |
. |
. |
รูปที่ 1 แผนภาพจำแนกประเภทสิ่งตกค้างจากการผลิต |
. |
การวิเคราะห์ต้นทุนความสูญเปล่าการผลิต |
สำหรับการพัฒนาระบบการควบคุมต้นทุนความสูญเปล่าของสิ่งตกค้างจะต้องมีการวัดผลและจำแนกประเภทความสูญเปล่า โดยทั่วไปต้นทุนความสูญเปล่าสามารถจำแนกได้เป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้ |
. |
1.ต้นทุนการเกิดความสูญเปล่าน้อยที่สุด (Waste Minimization Costs) 2.ต้นทุนความสูญเปล่าการผลิต (Waste Production Costs) 3.ต้นทุนการกำจัดความสูญเปล่า (Waste Disposition Costs) 4.ต้นทุนความสูญเปล่าภายนอก (Waste Externality Costs) |
. |
สำหรับต้นทุนความสูญเปล่า 2 ประเภทแรก จะเกิดขึ้นภายในโรงงานจึงถูกรวมเรียกว่า ต้นทุนความสูญเปล่าภายใน (Internal Waste Costs) ส่วนความสูญเปล่า 2 ประเภทหลังจะเกิดขึ้นภายนอกโรงงาน จึงเรียกว่าต้นทุนความสูญเปล่าภายนอก (External Waste Costs) โดยมีรายละเอียด ดังนี้ |
. |
1. ต้นทุนการเกิดความสูญเปล่าน้อยที่สุด |
ต้นทุนน้อยที่สุดจะครอบคลุมถึงการบำรุงรักษา ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร ค่าใช้จ่ายสัมมนา สำหรับฝึกอบรมพนักงานด้านการควบคุมความสูญเปล่าและค่าที่ปรึกษาสำหรับระบบลดความสูญเปล่า |
. |
2. ต้นทุนความสูญเปล่าการผลิต |
โดยทั่วไปกิจกรรมการผลิตก่อให้เกิดต้นทุนความสูญเปล่าภายในที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ นั่นคือ การเกิดความสูญเสียทางทรัพยากร ที่รวมถึง แรงงานทางตรงและวัสดุ ดังนั้นผู้จัดการหรือหัวหน้าสายการผลิตจึงมุ่งรับผิดชอบเฉพาะความสูญเปล่าการผลิตที่สามารถควบคุมได้ โดยไม่คำนึงถึงความสูญเปล่าที่ไม่สามารถควบคุมได้ และก่อให้เกิดความสูญเสียต่อองค์กร ซึ่งระบบบัญชีต้นทุนจะใช้แนวทางต้นทุนมาตรฐานเพื่อลดความสูญเปล่าที่ไม่สามารถควบคุมได้ให้เกิดน้อยที่สุด แต่ที่จริงแล้วต้นทุนมาตรฐานเหมาะสำหรับแนวคิดความสูญเปล่าน้อยที่สุดมากกว่า |
. |
สำหรับความสูญเปล่ารูปแบบอื่นที่เกิดขึ้นภายในโรงงานจะแสดงด้วยต้นทุนสิ่งแวดล้อมโรงงาน (Factory Environmental Cost) เนื่องจากความสูญเปล่านี้จะส่งผลต่อการปฏิบัติงานและสุขภาพของแรงงาน โดยแสดงในรูปของ ความล่าช้า เวลาว่าง (Idle Time) ค่าล่วงเวลา (Overtime) และรวมถึงค่าชดเชยต่าง ๆ เช่น ค่าประกันสุขภาพ (Health Insurance) ค่ารักษาพยาบาล และค่าชดเชยจากความทุพพลภาพ (Disability Compensation) ซึ่งรวมอยู่กับต้นทุนภายใน (Internal Costs) |
. |
. |
รูปที่ 2 ตัวอย่างใบบันทึกติดตามความสูญเปล่า |
. |
สำหรับค่าใช้จ่ายสำหรับจัดเตรียมการกำจัดจะถูกรวมกับต้นทุนการผลิตภายใน (Internal Production Cost) เช่น ค่าใช้จ่ายจัดเก็บ การบรรจุหีบห่อ และรวมถึงการรีไซเคิล |
. |
. |
ต้นทุนการกำจัดความสูญเปล่า |
ต้นทุนประเภทนี้ จะประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายการขนย้ายไปยังจุดกำจัด การตรวจติดตามการกำจัด ค่าใช้จ่ายจากการลงทุนอุปกรณ์และสถานที่กำจัดสิ่งตกค้าง |
. |
. |
รูปที่ 3 แผนภาพความสูญเปล่าที่เกิดจากการผลิต |
. |
โดยทั่วไปความสูญเปล่ารวมที่เกิดขึ้นสามารถถูกนำกลับมาใช้ใหม่ ดังนั้นความสูญเปล่าสุทธิ อาจถูกนำกลับมาใช้ใหม่หรือถูกกำจัดออกจากระบบ ซึ่งแสดงด้วยความสัมพันธ์ ดังนี้ |
. |
ความสูญเปล่าสุทธิ = ความสูญเปล่ารวมที่เกิดขึ้น - ความสูญเปล่าที่ถูกนำกลับมาใช้ใหม่ ส่วนเศษวัสดุ (Scrap) ที่ไม่สามารถนำมากลับมาใช้ได้อีก ก็ควรกำจัดทิ้งในช่วงเวลาที่เหมาะสมโดยก่อนดำเนินการกำจัด ควรทำการคัดแยกประเภทวัสดุ หรือ Scrap |
. |
ต้นทุนความสูญเปล่าภายนอก |
ต้นทุนภายนอก เป็นต้นทุนความสูญเปล่า ที่เกิดขึ้นภายนอกโรงงาน เช่น ค่าใช้จ่ายทางกฎหมาย (Lawyers and Court Fees) ค่าใช้จ่ายจากการเรียกร้องทางสังคม โดยมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับต้นทุนภายใน นั่นคือ หากค่าใช้จ่ายเพื่อให้เกิดความสูญเสียเกิดน้อยที่สุด ก็จะส่งผลให้ต้นทุนอีก 3 ประเภทลดลง แต่หากต้นทุนค่าใช้จ่ายเพื่อจัดการความสูญเปล่าภายในลดลง ก็จะส่งผลให้ต้นทุนความสูญเปล่าภายนอกลดลง |
. |
แนวคิดการลดความสูญเปล่ากับการออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม |
โดยทั่วไปแต่ละองค์กรจะมีความพยายามในการลดความสูญเปล่าเพื่อสร้างความสามารถทำกำไรและยกระดับศักยภาพการแข่งขัน โดยเฉพาะการลดผลกระทบของสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการอนุรักษ์วัตถุดิบ รวมทั้งลดมลภาวะของอากาศ น้ำ และที่ดิน ซึ่งเกิดจากกิจกรรมการผลิต สำหรับการลดความสูญเปล่าโดยรวมหรือนิเวศวิทยาอุตสาหกรรม จะเกี่ยวข้องกับแนวคิดวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์โดยรวม ตั้งแต่การออกแบบผลิตภัณฑ์ตลอดจนหมดอายุการใช้งาน โดยที่แนวคิดการลดความสูญเปล่าโดยรวม หมายถึง การออกแบบ การผลิต การกระจายสินค้า และการดำเนินธุรกิจในแนวทางประหยัดการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ เช่น วัสดุ พลังงาน และมุ่งแนวทางการนำวัสดุกลับมาใช้ จากแนวทางดังกล่าวจึงสอดคล้องกับปรัชญา การออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม ที่มุ่งการออกแบบกระบวนการผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม ดังตัวอย่างแนวทางปฏิบัติ ดังนี้ |
. |
- การใช้วัสดุที่เป็นพิษและวัสดุที่ใช้พลังงานในการแปรรูปน้อยที่สุด - เพิ่มการใช้วัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้และไม่เป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อม - การออกแบบผลิตภัณฑ์ให้สะดวกต่อการซ่อมแซม - การออกแบบผลิตภัณฑ์ให้สะดวกต่อการถอดประกอบหลังจากหมดอายุการใช้งาน |
. |
สำหรับแนวคิดการออกแบบสำหรับการถอดประกอบ (Design for Disassembly) จะพิจารณาแนวทางการถอดชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์ออกจากกันหลังจากหมดสภาพการใช้งานและประเด็นสำคัญในการออกแบบเพื่อแยกชิ้นส่วนสำหรับการนำกลับมาใช้ใหม่ ทำให้หลายองค์กรพัฒนาการนำเศษซากและวัสดุกลับมาใช้ใหม่เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ ดังเช่น BMW ได้มีการออกแบบยานยนต์ โดยใช้ชิ้นส่วนที่สามารถทำการถอดแยกตลอดทั้งคันและนำกลับมาใช้ได้อีก ซึ่งส่งผลต่อการลดความสูญเปล่าและก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางอุตสาหกรรมน้อยที่สุด |
. |
รูปที่ 4 แผนภาพแนวคิดการออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม (Design for Environment) |
. |
ตัวอย่างการจำแนกต้นทุนความสูญเปล่าในอุตสาหกรรม |
สำหรับช่วงนี้จะเป็นการนำเสนอตัวอย่างของการจำแนกและวิเคราะห์ต้นทุนความสูญเปล่าในอุตสาหกรรมสำหรับรอบเวลา 3 ปี โดยในปีที่สามจะแบ่งเป็นรอบไตรมาสเพื่อช่วยให้ผู้บริหารสามารถระบุแนวโน้มและความสัมพันธ์ระหว่างประเภทความสูญเปล่า |
. |
ตาราที่ 1ตัวอย่างการจำแนกประเภทต้นทุนความสูญเปล่า |
. |
. |
สำหรับตารางที่ 2 แสดงตัวอย่างการจำแนกต้นทุนการกำจัดสุทธิ (Net Disposal Cost) ซึ่งจำแนกรายการค่าใช้จ่ายกำจัดสิ่งตกค้างแต่ละประเภทและค่าโสหุ้ยที่เกิดขึ้น (Overhead) ทั้งภายในและภายนอกสถานที่ (On-site & Off-site costs) รวมทั้งผลลัพธ์จากการนำเศษวัสดุกลับมาใช้ใหม่หลังการรีไซเคิล เพื่อจัดทำรายงานเสนอต่อผู้บริหาร |
. |
ตารางที่ 2 ตัวอย่างการจำแนกต้นทุนการกำจัดสุทธิ |
. |
. |
บทสรุป |
การควบคุมความสูญเปล่าจะมีบทบาทสำคัญต่อการบริหารและเชื่อมโยงกับระบบบัญชีบริหาร โดยแสดงถึงการชี้วัดประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ : |
. |
- การวัดถึงความไร้ประประสิทธิภาพของกระบวนการ - ความบกพร่องของการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ (การเกิดของเสีย) - ความเหมาะสมของเครื่องจักรและทักษะแรงงานในแต่ละกระบวนการ - รับทราบปัญหาที่ถูกปกปิดจากผู้ควบคุมงาน (Hiding Problems from Superiors) |
. |
นอกจากนี้การบันทึกข้อมูลต้นทุนอย่างแม่นยำและการจัดทำรายงานจำแนกประเภทต้นทุนความสูญเปล่าจะทำให้ระบุความสูญเสียต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจนและใช้สนับสนุนการตัดสินใจต่อฝ่ายบริหาร (Management Decision-making) อย่างมีประสิทธิผล |
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.
ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด